เครื่องมือวัด Hardness Durometer คืออะไร ใช้หน่วยอะไรในการวัด

ถ้าจะพูดถึงเครื่องมือวัดประเภท Hardness Durometer ก็เป็นอีกเครื่องมือวัดประเภทหนึ่ง ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมบ้านเรา  เป็นเครื่องมือวัดที่ใช้ทดสอบค่าวามแข็งของวัสดุจำพวก ยาง,พลาสติก,หนัง,โฟม เป็นต้น มีทั้งแบบ Analog และ Digital และมีหลากหลายยี่ห้อ ตามแต่ความเหมาะสม หรือ กำลังทรัพย์ที่จะหามาใช้งานได้

และเพื่อความแม่นยำในการวัดจึงมีความจำเป็นต้อง สอบเทียบเครื่องมือวัด ( Calibrate : คาลิเบรท )อยู่เสมอ ซึ่งทางบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี ก็ได้มีบริการสอบเทียบ เครื่องมือวัด ผ่านการรับรองมาตรฐานสากลด้วยครับ

รูปตัวอย่างที่ 1 Hardness Durometer แบบ Analog
รูปตัวอย่างที่ 2 Hardness Durometer แบบ Digital

Hardness Durometer แบ่งแยกย่อยออกไปได้อีกหลายชนิดขึ้นกับประเภทของวัสดุที่ต้องการทดสอบค่าความแข็ง ไม่ว่าจะเป็น ยาง, พลาสติก, หนัง หรือ โฟม ดังรูปตัวอย่างที่ 3 จะแสดงลักษณะความแตกต่างของหัวกดแต่ละชนิดว่าเหมาะสมจะใช้งานกับวัสดุที่ต้องการวัดค่าความแข็งประเภทใด (#อ้างอิงจาก ASTM D2240)

มาถึงตรงนี้แล้ว คงน่าจะพอเลือกประเภทของหัวกดที่จะนำมาใช้งานกับวัสดุที่ต้องการทดสอบค่าความแข็งกันแล้วใช่มั้ยครับ อ่อ..ลืมบอกไปนิดนึง กรณีมี Durometer ไว้ใช้งานอยู่แล้ว แต่ต้องการเปลี่ยนหัวกดตามชนิดของวัสดุ ไม่สามารถไปหาซื้อเฉพาะหัวกดแต่ละชนิดมาเปลี่ยนเองนะครับ แต่ถ้าจะเปลี่ยนชนิดของหัวกด คุณต้องซื้อ Durometer Shore นั้นๆทั้งตัวไปเลยเท่านั้น เพราะว่า Durometer แต่ละประเภท ใช่ว่าจะแตกต่างกันที่ลักษณะของรูปร่างหน้าตาและชนิดของหัวกดเท่านั้น แต่ระบบ System ภายใน ยังมีความแตกต่างกันอีกด้วย

การดูแลรักษาเครื่องมือวัด Durometer

  • ก่อนและหลังใช้งานเครื่องมือวัดประเภท Durometer ทางผู้ใช้งานควรเช็ดทำความสะอาดบริเวณหัวกดให้สะอาดด้วยผ้าสะอาด
  • หลังจากการใช้งานทุกครั้ง ให้เก็บ Durometer ไว้ในกล่องโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันความเสียหาย โดยเฉพาะป้องกันการกระแทกของตัวหัวกด และตัวเครื่อง

ข้อควรระวังการใช้งาน เครื่องมือวัด Durometer

  • ไม่ควรใช้ Durometer กับวัสดุต่างประเภทกับชนิดของหัวกดแต่ละเครื่องของ Shore นั้นๆ เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายกับหัวกดและระบบภายในตัวเครื่อง Durometer ได้
  • ห้ามดัดแปลงหรือแก้ไข หัวกดและระบบภายในของ Durometer ด้วยตนเอง ควรให้ช่างผู้เชี่ยวชาญโดยตรงดำเนินการเท่านั้น

ทาง Calibration Laboratory Co.,Ltd. ของเรา ยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเลือกใช้งาน Durometer โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

และที่จะลืมกันเสียไม่ได้คือ บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (CLC) ของเรา สามารถ สอบเทียบเครื่องมือวัด Hardness Durometer พร้อมทั้งได้รับการรับรอง Accredit 17025 ถึงสองสถาบันเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น สมอ. หรือ ANAB จากสหรัฐอเมริกา ซึ่ง Type(Shore) ที่ได้รับรอง Accredit 17025 มีดังนี้ครับ

A, D, AO, AM, C, B, O, OO, DO, OOO, OOO-S ตามมาตรฐานอ้างอิง Based on ASTM D2240

ที่สำคัญทางแคลิเบรชั่น แลบอราทอรี ยังมีบริการรับ-ส่ง เครื่องมือฟรี! สามารถติดต่อสอบถามเข้ามาตามช่องทางต่างๆ ได้เลยครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับเกร็ดความรู้เรื่อง Durometer พอสังเขป ที่นำมาฝากกันในครั้งนี้ เพื่อใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นกับผู้ที่สนใจ หรือผู้ใช้งานมือใหม่จะได้นำไปต่อยอดกันต่อไป และหวังว่าจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ ผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

แล้วพบกันใหม่กับบทความ / เกร็ดความรู้ เกี่ยวกับ เครื่องมือวัด ในครั้งต่อๆไปครับ

[/row]

CHOK_AM

สอบเทียบเครื่องมือ Mass&Balance

———-

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา