การสอบเทียบ การสอบเทียบเครื่องมือวัด คืออะไร?

เครื่องมือวัด, การสอบเทียบเครื่องมือวัดคืออะไร_Calibration Lab,สอบเทียบเครื่องมือ,สอบเทียบเครื่องมือวัด

การสอบเทียบเครื่องมือวัด(Calibration)คืออะไร

การ สอบเทียบเครื่องมือวัด คือ การตรวจสอบค่าความถูกต้องของเครื่องมือที่ใช้เพื่อวัด ตวง ชั่ง ตามแต่การใช้งาน เนื่องจากการใช้งาน เครื่องมือวัด นั้นจำเป็นต้องตรวจสอบค่าของเครื่องมือวัดให้ถูกต้องอยู่เสมอ ถ้าจะยกตัวอย่างให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือ หากเราต้องการวัตถุดิบน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เราก็ตักวัตถุดิบลงบนตาชั่ง ให้ขีดตาชั่งถึงตัวเลข 1 กิโลกรัม นั่นเอง คำถามก็คือ “น้ำหนักของวัตถุดิบนั้นเท่ากับ 1 กิโลกรัมจริงหรือ ตาช่างที่ว่านั้นเชื่อถือได้หรือเปล่า ” จึงเป็นที่มาของการ “สอบเทียบเครื่องมือวัด” หรือคือ การเปรียบเทียบค่ากันระหว่างสอง เครื่องมือวัด โดยเครื่องมือที่ต้องการสอบเทียบจะถูกเทียบกับเครื่องมือทางวิศวกรรมที่มีความละเอียดแม่นยำสูง ตรวจสอบอุปกรณ์ช่างตวงวัดเหล่านั้นว่ามีความถูกต้องหรือไม่ โดยจำเป็นต้องสามารถสอบกลับไปสู่ค่าอ้างอิงมาตรฐานได้ เราจะเรียกเครื่องมือที่เป็นตัวเปรียบเทียบนี้ว่า “เครื่องมือสอบเทียบ (Calibrator)”

การสอบเทียบเครื่องมือวัดยังช่วยในการวิเคราะห์และปรับปรุงการวัดในงานต่างๆ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสอบเทียบเครื่องมือจะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถปรับปรุงการวัดและการผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงเครื่องมือวัดหรือกระบวนการผลิตได้อย่างแม่นยำ มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างดี ช่วยให้ผู้ผลิตสามารถตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์นั้นๆ มีคุณภาพที่มาตรฐานหรือไม่ และจะช่วยปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพสูงสุด

นอกจากนี้ การสอบเทียบเครื่องมือวัดยังเป็นการตรวจสอบความถูกต้องและความแม่นยำของเครื่องมือวัดเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในการวัด ซึ่งอาจส่งผลต่อผลิตภัณฑ์และการใช้งานของลูกค้า ดังนั้นการสอบเทียบเครื่องมือวัดเป็นสิ่งที่สำคัญและควรทำเป็นประจำเพื่อปรับปรุงการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ และได้มาตรฐานตามที่ต้องการ

ทำไมต้องสอบเทียบ (Calibration) และประโยชน์ของการสอบเทียบคืออะไร

          ทุกวันนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลกธุรกิจในปัจจุบันก้าวเข้าสู่ยุคการค้าเสรีการแข่งขันทางการค้ามีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้ การพัฒนาองค์กรในทุกๆด้านเพื่อให้มีศักยภาพสอดคล้องตามมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับในระดับโลก ซึ่งหนึ่งในแนวทางที่สำคัญเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของกระบวนการผลิต ก็คือ การ สอบเทียบเครื่องมือวัด 

ทำไมต้อง สอบเทียบเครื่องมือวัด

เหตุผลในการสอบเทียบเครื่องมือ ก็เพื่อที่จะตรวจสอบและสร้างความมั่นใจว่าค่าที่ได้จากการวัดนั้นจะมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ เพราะการสอบเทียบเครื่องมือวัดนั้นจะส่งผลต่อทั้ง ประสิทธิภาพ ความปลอดภัย การบำรุงรักษา ความยั่งยืนของโรงงาน รวมไปถึงคุณภาพของสินค้าและผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานการผลิต หากสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ได้คุณภาพตามมาตรฐานแล้ว ยังสามารถเพิ่มขีดจำกัดของการแข่งขันในตลาดได้อย่างมีศักยภาพเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

การสอบเทียบสามารถบอกอะไรได้บ้าง

          การสอบเทียบเครื่องมือวัด มีกระบวนการในการตรวจสอบและสอบเทียบเครื่องมือวัดให้มีความถูกต้องตามขอบข่าย ค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดที่ยอมรับได้ (MPE: Maximum Permissible Error) เพื่อให้ได้มาตรฐานก่อนนำออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด เมื่อเราสั่งซื้อเครื่องมือดังกล่าว ก็จะได้รับใบรับรองผลการตรวจสอบ (Inspection Certificate) หรือใบรับรองผลการสอบเทียบ (Calibration Certificate) ของเครื่องมือวัดนั้น ๆ มาด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในการสั่งซื้อ ในใบรับรองผลการตรวจสอบหรือใบรับรองผลการสอบเทียบจะระบุคุณสมบัติเฉพาะต่าง ๆ ของเครื่องมือวัด เช่น พิสัยการวัด (Range) ค่าความละเอียด (Resolution) ค่าความถูกต้อง (Accuracy) และสภาวะแวดล้อมได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้นที่เครื่องมือสามารถทำงานได้

การใช้งานเครื่องมือที่ต่อเนื่องส่งผลอย่างไร

           แต่เมื่อเครื่องมือถูกนำไปใช้งานระยะหนึ่ง อายุของส่วนประกอบและเครื่องมือวัดที่ใช้งาน อาจมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งความเปลี่ยนแปลงหรือความคลาดเคลื่อนของผลการวัดที่เกิดขึ้นนี้ อาจเกิดจากการ Drift หรือการลอยเลื่อนหมายถึง การแปรผันอย่างช้า ๆ ตามเวลาของลักษณะทางมาตรวิทยาของเครื่องมือวัด อันเนื่องมาจากสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ไฟฟ้า เคมี หรือทางกล เป็นต้น

           นอกจากนี้ผู้ใช้งานเครื่องมือวัดจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การเสื่อมสภาพของเครื่องมือวัด ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการใช้งานและการเก็บรักษาอีกด้วย ฉะนั้นเมื่อเครื่องมือวัดอยู่ในสภาวะดังกล่าว สิ่งที่ตามมา คือเครื่องมือวัดที่เคยบอกค่าการวัดที่ถูกต้อง, แม่นยำ อาจบอกค่าที่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม ส่งผลให้ผลการวัดที่ได้รับไม่น่าเชื่อถือตามไปด้วย หรือหากนำเครื่องมือดังกล่าวไปใช้งานย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพของชิ้นงานและกระบวนการผลิต การ Drift หรือการเปลี่ยนแปลงของเครื่องมือวัดนั้น ไม่สามารถกำจัดได้ แต่สามารถที่จะตรวจพบและแก้ไขได้โดยผ่านกระบวนการสอบเทียบ ด้วยการใช้ตัวมาตรฐานการวัดที่สามารถสอบกลับได้สู่มาตรฐานแห่งชาติเพื่อสอบเทียบเครื่องมือวัด
ดังนั้นการสอบเทียบจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจในผลการวัดของเครื่องมือวัดทุก ๆ ประเภท ไม่ว่าจะเป็น เครื่องมือวัดที่ใช้ในกระบวนการผลิต การทดสอบ และการวิเคราะห์ต่าง ๆ เพราะองค์ประกอบ ที่สำคัญที่สุดในการที่จะทำให้ผลการวัดที่เกิดขึ้นเป็นที่เชื่อถือได้ คือการใช้เครื่องมือวัดที่มีความถูกต้องและแม่นยำ เหมาะสมกับการปฏิบัติงานนั่นเอง

ขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัด

การสอบเทียบเครื่องมือวัดมี ขั้นตอนการดำเนินงานที่จำเป็นต้องเป็นระเบียบและมีขั้นตอนการวิเคราะห์ผลลัพธ์อย่างละเอียด ซึ่ง ขั้นตอนการสอบเทียบ สามารถสรุปได้ดังนี้
1. เตรียมเครื่องมือวัดที่ต้องการสอบเทียบให้พร้อมทำงาน
2. ทดสอบเครื่องมือวัดในสภาวะเดิมก่อนการสอบเทียบ เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมือวัดยังใช้งานได้ตามปกติหรือไม่
3. ดำเนินการสอบเทียบโดยใช้วิธีการทดสอบที่เป็นมาตรฐาน โดยจะมีการวัดการสอบเทียบและบันทึกผลลัพธ์จากเครื่องมือวัดที่เป็นเครื่องมือมาตรฐานสำหรับสอบเทียบโดยเฉพาะ (Calibrator) นำมาเปรียบเทียบ
4. วิเคราะห์ผลลัพธ์จากการสอบเทียบโดยเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จากเครื่องมือวัดมาตรฐานที่ต้องการสอบเทียบ กับเครื่องมือวัดได้รับการรับรองมาตรฐาน (Calibrator) เช่น สมอ. หรือ ANAB เป็นต้น เพื่อ
ตรวจสอบว่าเครื่องมือวัดที่ต้องการสอบเทียบมีความแม่นยำและเที่ยงตรงตามมาตรฐานหรือไม่

สรุปผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดโดยให้ข้อมูลผลการวัด ความถูกต้อง ความเที่ยงตรง และความแม่นยำของเครื่องมือวัดที่ต้องการสอบเทียบ

เครื่องมือวัด วิดีโอสอบเทียบเครื่องมือวัด,การสอบเทียบเครื่องมือวัด,Dial Gauge Tester ,Calibration Tester,สอบเทียบเครื่องมือวัด

การเลือกผู้ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด

การเลือกผู้ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดเป็นขั้นตอนสำคัญที่ช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าเครื่องมือของคุณได้รับการตรวจสอบและสอบเทียบตามมาตรฐานที่เหมาะสม ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อความแม่นยำและคุณภาพของกระบวนการผลิต การเลือกผู้ให้บริการที่ดีจึงควรพิจารณาหลายปัจจัยสำคัญ เพื่อให้ได้บริการที่ตอบโจทย์และคุ้มค่าที่สุด

คุณสมบัติของผู้ให้บริการที่ดี

ผู้ให้บริการที่ดีควรมีความน่าเชื่อถือและมีประสบการณ์ในงานสอบเทียบ โดยคุณสามารถพิจารณาได้จาก

  • ใบรับรองมาตรฐาน ตรวจสอบว่าผู้ให้บริการมีการรับรองจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ เช่น ISO/IEC 17025
  • ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ผู้ให้บริการควรมีประสบการณ์กับเครื่องมือวัดในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
  • บริการหลังการขาย ควรมีการให้คำปรึกษาหรือบริการเพิ่มเติมหลังการสอบเทียบ เช่น การตรวจสอบระยะเวลาการสอบเทียบในอนาคต

ความสามารถในการสอบกลับมาตรฐานสากล

การสอบเทียบที่ดีควรสามารถสอบกลับไปยังมาตรฐานสากลได้ ซึ่งหมายถึงผลการวัดของเครื่องมือสามารถเปรียบเทียบกับมาตรฐานที่ยอมรับในระดับนานาชาติได้ ความสามารถนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกค้าและลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาด

สิ่งที่ควรตรวจสอบ

  • มีเอกสารยืนยันการสอบกลับ เช่น ใบรับรอง Calibration Certificate
  • อุปกรณ์มาตรฐานที่ใช้สอบเทียบต้องได้รับการสอบกลับไปยังมาตรฐานแห่งชาติหรือนานาชาติ

การพิจารณาราคาและความคุ้มค่า

ราคาเป็นปัจจัยที่หลายคนให้ความสำคัญ แต่สิ่งที่ควรคำนึงถึงควบคู่กันคือความคุ้มค่าของบริการที่ได้รับ โดยไม่ควรเลือกผู้ให้บริการเพียงเพราะราคาถูกที่สุด

ข้อแนะนำในการพิจารณา

  • เปรียบเทียบราคากับคุณภาพของบริการและความน่าเชื่อถือของผู้ให้บริการ
  • ตรวจสอบความครอบคลุมของบริการ เช่น ค่าใช้จ่ายรวมถึงการรับ-ส่งเครื่องมือหรือไม่
  • อ่านรีวิวหรือสอบถามความคิดเห็นจากผู้ใช้งานคนอื่นเพื่อประเมินความคุ้มค่า
  • การเลือกผู้ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดที่ดี ไม่เพียงแต่ช่วยให้คุณมั่นใจในคุณภาพของเครื่องมือ แต่ยังส่งผลต่อกระบวนการผลิตและความน่าเชื่อถือในระยะยาวอีกด้วย

ตัวอย่างการสอบเทียบเครื่องมือวัด

การสอบเทียบเทอร์โมมิเตอร์ (Thermometer Calibration)

  • วิธีการ: เปรียบเทียบอุณหภูมิที่เทอร์โมมิเตอร์วัดได้กับค่าที่ได้จากเทอร์โมมิเตอร์อ้างอิงที่มีความแม่นยำสูงในสภาพแวดล้อมที่ควบคุม เช่น การใช้ Bath ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ
  • ความถี่: ปกติจะทำการสอบเทียบทุก 12 เดือน
  • มาตรฐานที่ใช้: มาตรฐาน ISO/IEC 17025 หรือมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการวัดอุณหภูมิ

การสอบเทียบเครื่องวัดความชื้น (Hygrometer Calibration)

  • วิธีการ: ทำการสอบเทียบโดยใช้อุปกรณ์ที่ควบคุมระดับความชื้นในอากาศ แล้วเปรียบเทียบค่าที่เครื่อง Hygrometer แสดงกับค่าที่ได้จากเครื่องวัดความชื้นมาตรฐาน
  • ความถี่: ปกติจะทำการสอบเทียบทุก 6-12 เดือน
  • มาตรฐานที่ใช้: มาตรฐาน ASTM หรือ ISO 17025

โดยการสอบเทียบเครื่องมือวัดนั้น ทาง CLC ได้จัดทำการสอบเทียบตามห้องปฏิบัติการต่างๆเพื่อแยกตามประเภทการใช้งาน เช่น

การ สอบเทียบประแจทอร์ค ถูกจัดอยู่ในการสอบเทียบของห้องปฏิบัติการแรงบิดและแรง Torque & Force

เครื่องมือวัด ,การสอบเทียบเครื่องมือวัด,digital torque wrench ,Calibration Tester, สอบเทียบเครื่องมือวัด

การ สอบเทียบ Plug Gauge ถูกจัดอยู่ในการสอบเทียบของห้องปฏิบัติการมิติ Dimension

การ สอบเทียบ Digital Balance ถูกจัดอยู่ในการสอบเทียบของ ห้องปฏิบัติการมิติ Mass Balance

เครื่องมือวัด ,การสอบเทียบเครื่องมือวัด, digital balance, เครื่องชั่ง, เครื่องชั่งดิจิตอล ,Calibration Tester, สอบเทียบเครื่องมือวัด

การ สอบเทียบ Thermometer ถูกจัดอยู่ในการสอบเทียบของห้องปฏิบัติการอุณหภูมิและความชื้น Temperature & Humidity

เครื่องมือวัด วิดีโอสอบเทียบเครื่องมือวัด, การสอบเทียบเครื่องมือวัด, thermometer, temperator ,Calibration Tester, สอบเทียบเครื่องมือวัด

การ สอบเทียบดิจิตอล มัลติมิเตอร์ Digital Multimeter ถูกจัดอยู่ในการสอบเทียบของ ห้องปฏิบัติการไฟฟ้า Electrical

เครื่องมือวัด วิดีโอสอบเทียบเครื่องมือวัด,การสอบเทียบเครื่องมือวัด,digital multimeter ,Calibration Tester, สอบเทียบเครื่องมือวัด , สอบเทียบดิจิตอล มัลติมิเตอร์

และสามารถตรวจสอบเครื่องมือวัด ที่ท่านต้องการสอบเทียบได้จากบริการของห้องปฏิบัติการต่างๆ จาก บริษัท Calibration Laboratory ตามลิงค์นี้ได้ครับ

วิธีการกำหนดคาบการ สอบเทียบเครื่องมือวัด

(1) ตามข้อกำหนดของผู้ผลิต (Manufacturer’s Recommendation)

  • ผู้ผลิตเครื่องมือมักระบุช่วงเวลาสอบเทียบเริ่มต้น (เช่น ทุก 1 ปี)
  • เหมาะสำหรับเครื่องมือใหม่ที่ยังไม่มีข้อมูลประวัติการใช้งาน

(2) ตามกฎหมายหรือมาตรฐาน (Regulatory/Standard Requirements)
มาตรฐานบางอย่างกำหนดช่วงเวลาสอบเทียบตายตัว เช่น ISO 9001, ISO/IEC 17025, หรือกฎหมายเฉพาะอุตสาหกรรม (เช่น มาตรฐานการแพทย์, ยานยนต์)

(3) ตามข้อมูลทางสถิติ (Historical Data & Trend Analysis)

  • ตรวจสอบผลการสอบเทียบย้อนหลังว่าความแม่นยำลดลงเร็วหรือช้า
  • หากพบว่าเครื่องมือมีค่า Drift (การคลาดเคลื่อน) น้อย อาจขยายช่วงเวลาสอบเทียบออกไป
  • หากพบการคลาดเคลื่อนมาก อาจต้องลดระยะเวลาลง

(4) วิธี Risk-Based Calibration Interval

  • พิจารณาจาก ความเสี่ยง (Risk) หากเครื่องมือเสียหรือคลาดเคลื่อนจะส่งผลกระทบมากน้อยเพียงใด
  • เครื่องมือที่ใช้ในกระบวนการสำคัญ (Critical Measurement) ควรสอบเทียบบ่อยกว่า

 

VDO การสอบเทียบเครื่องมือวัดสำคัญอย่างไรกับอุตสาหกรรมต่าง ๆ

วิธีอ่านค่าใบ Calibration Certificate

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา

บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด  ซื้อเครื่องมือวัด