ปิเปตต์ คืออะไร ใช้งานอย่างไรให้ถูกวิธี

ปิเปตต์ (Pipette)

ปิเปตต์ คือ อุปกรณ์ทางเคมีที่ใช้ในการตวง-วัดปริมาณสารที่เป็นของเหลว มีสเกล (Scale) การวัดที่มีความละเอียดและความแม่นยำสูง เทคนิคการใช้งานปิเปตต์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ใช้งานควรมี เทคนิคการใช้งานที่ถูกต้อง และมีทักษณะความรู้ความชำนาญเพื่อเป็นการลดข้อผิดพลาดในการใช้งานหรือการทำการ สอบเทียบเครื่องมือวัด วิธีการ ขั้นต้นในการใช้ ปิเปตต์ให้ถูกวิธี คือ เลือกปิเปตต์ที่เหมาะกับงานที่ต้องการ

ประเภทของปิเปตต์ที่มีอยู่และใช้งานในห้องปฏิบัติการ ได้แก่

1. ปิเปตต์แบบปริมาตร (Volumetric Pipette หรือ Transfer Pipette)

ปิเปตต์,เครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือวัด

 

ปิเปตต์ชนิดนี้ใช้วัดปริมาตรที่กำหนดเพียงปริมาตรเดียว ไม่มีขีดหรือสเกลแบ่งย่อย ดังนั้นจึงสามารถวัดปริมาตรได้เพียงค่าเดียว นิยมใช้ในกรณีที่ต้องการความแม่นยำสูง ปิเปตต์แบบปริมาตรจะมีลักษณะเป็นกระเปาะอยู่ตรงกลางมีขีดบอกปริมาตรอยู่เหนือกระเปาะใกล้ปลายปากดูด การวัดจะถูกต้องเมื่อปล่อยให้สารละลายหรือของเหลวไหลออกช้าๆจนหมดแล้วแตะปิเปตต์กับผิดด้านในของภาชนะที่ใช้ในการรองรับโดยไม่ต้องเป่า

2.ปิเปตแบบใช้ตวง (Graduated Pipette หรือ Measuring Pipette)

ปิเปตต์,เครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือวัด

ปิเปตต์ชนิดนี้ไม่มีกราะเปาะ มีขีดหรือสเกลแบ่งย่อยปริมาตร แต่ไม่แบ่งลงไปจนถึงปลายสุดของปิเปตต์ ดังนั้นการใช้งานจะต้องระวังไม่ให้สารละลายหรือของเหลวไหลลงไปต่ำกว่าส่วนแบ่งขีดหรือสเกลสุดท้าย หากลงไปต่ำกว่าขีดหรือสเกลสุดท้ายจะทำให้การถ่ายเทปริมาตรได้มากกว่าที่เป็นจริง ปิเปตต์แบบใช้ตวงจึงมีความแม่นยำน้อยกว่าปิเปตต์แบบปริมาตรเมื่อเทียบกับขนาดที่บรรจุเท่ากัน

รายละเอียดที่เขียนอยู่บนปิเปตต์ทั้ง 2 ชนิด

จะมีรายละเอียดบ่งบอกถึง สัญลักษณ์ Blow-out pipette, ขีดบอกปริมาตร, ความจุของปิเปตต์, ปริมาตรแต่ละขีดหรือสเกล, ระดับชั้นคุณภาพของปิเปตต์, สัญลักษณ์บ่งบอกวัตถุประสงค์ในการใช้งาน, ความคลาดเคลื่อนของปริมาตรของปิเปตต์ชนิดนั้นๆ

สัญลักษณ์ที่บอกระดับชั้นคุณภาพคืออะไร

สัญลักษณ์ที่บ่งบอกระดับชั้นคุณภาพของปิเปตต์วัดปริมาตรจะแบ่งตามชั้นคุณภาพ (CLASS) ได้ 2 ระดับชั้นคุณภาพ คือ

  1. ชั้นคุณภาพเอ (CLASS A) จะใช้สัณลักษณ์ A บ่งบอกถึงเป็นปิเปตต์ที่มีความแม่นยำสูงสุด มีค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาตรที่ยอมรับได้ต่ำ มักนิยมใช้ในงานที่ต้องการความแม่นยำสูงมากๆ
  2. ชั้นคุณภาพบี (CLASS B) จะใช้สัญลักษณ์ B บ่งบอกถึงเป็นปิเปตต์ที่มีความคลาดเคลื่อนของปริมาตรที่ยอมรับได้เป็น 2 เท่าของเครื่องแก้วชั้นคุณภาพ A มักนิยมใช้ในงานที่สามารถยอมรับค่าความไม่แน่นอนในระดับที่สูงขึ้น
  3. สัญลักษณ์ที่บอกถึงวัตถุประสงค์การใช้งาน

ส่วนสัญลักษณ์ที่บอกถึงวัตถุประสงค์การใช้งานของปิเปตต์นั้น ปิเปตต์วัดปริมาตรจะแบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้งานได้ 2 ชนิด คือ

  1. ปิเปตต์สำหรับบรรจุ (To contain) ใช้สัญลักษณ์ TC หรือ IN หรือ C เป็นปิเปตต์ที่ใช้สำหรับบรรจุของเหลวและสอบเทียบ
    โดยวิธีบรรจุของเหลว
  2. ปิเปตต์สำหรับถ่ายของเหลว (To deliver) ใช้สัญลักษณ์ TD หรือ EX หรือD เป็นปิเปตต์ที่ใช้สำหรับถ่ายของเหลวจากภาชนะหนึ่งไปยังอีกภาชนะหนึ่งและสอบเทียบโดยวิธีการถ่ายของเหลวซึ่ง

สัญลักษณ์ที่บอกระดับชั้นคุณภาพ (CLASS A, CLASS B) และสัญลักษณ์ที่บอกถึงวัตุประสงค์ (TC, TD)
จะถูกระบุอยู่บนปิเปตต์วัดปริมาตร เป็นต้น

3. ไมโครปิเปตต์ (Micro Pipette or Piston Pipette)

ปิเปตต์,เครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือวัด

ปิเปตต์ชนิดนี้จะเป็นอุปกรณ์ที่มีความแม่นยำสูง ให้การดูดจ่ายสารหรือของเหลวในปริมาตรน้อยๆ โดยทั่วไปไมโครปิเปตต์จะมีส่วนประกอบ เช่น หน้าปัดสำหรับปรับปริมาตร, ปุ่มสำหรับดูดจ่ายสาร, ปุ่มในการปลดทิป (Tip)

โดยปิเปตต์ที่กล่าวมาข้างต้นทั้ง 3 ชนิด เป็นปิเปตต์ที่นิยมใช้งาน รวมไปถึงการ สอบเทียบเครื่องมือวัด เพื่อยืนยันว่าเครื่องมือหรือเครื่องแก้วที่ใช้นั้นมีค่าที่ได้จากการสอบเทียบที่มีความถูกต้อง ความแม่นยำ และมีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับ (MPE) ได้ตลอดการใช้งาน

ผู้เขียน LAB7

 

 

มาทำความรู้จักกับ PH Meter และการสอบเทียบกัน

บริการสอบเทียบ Glassware & Chemical

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา