ป้องกันการเกิดคราบตะกรันต่างๆได้ด้วย Conductivity Meter

สอบเทียบเครื่องมือวัด

Conductivity Meter

สวัสดีครับวันนี้เราจะมาทำความรู้จักเกี่ยวกับ เครื่องมือวัด อีกหนึ่ง ประเภทที่นำไปใช้วัดคุณภาพของของเหลวหรือน้ำ ที่หลายๆท่านคุ้นเคยและอาจจะคุ้นหูหรือผ่านตามาบ้างแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ต้องมีการ สอบเทียบเครื่องมือวัด อยู่เสมอ เครื่องมือวัดชนิดนี้คือตัว Conductivity Meter คือ เครื่องมือวัดที่ใช้สำหรับวัดคุณภาพของน้ำในลักษณะการนำไฟฟ้าของน้ำ หรือ เรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า Electronic Conductivity หรือ ค่า EC ในน้ำ ซึ่งโดยปกติแล้วในน้ำนั้นมักจะมีเกลือหรือโลหะและสารเคมีต่างๆทีมักจะพบว่าปนเปนเปื้อนอยู่ภายในน้ำ โดยสิ่งที่ปนเปื้อนอยู่ในน้ำนั้นจะมีลักษณะและสามารถแตกตัวออกเป็นไอออนที่จะมีลักษณะเป็นประจุบวกหรือประจุลบและไอออนอิสระจะแตกตัว จึงทำให้น้ำนั้นจึงมีลักษณะในการนำไฟฟ้าได้นั้นเอง ซึ่งความนำไฟฟ้านี้จะเป็นตัวกำหนดความบริสุทธิ์ของน้ำ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีค่า EC ที่สูงจะบ่งบอกได้ถึงความปนเปื้อนของน้ำหรือของเหลว ถ้า EC เป็น 0 จะบ่งบอกได้ว่าน้ำนั้นมีความบริสุทธิ์มาก
ในส่วนของการใช้งาน Conductivity Meter นั้นก็จะมีใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ในหลายภาคส่วน และพบได้โดยทั่วไปในจุดบำบัดน้ำเสีย หรือตามจุดต่างๆที่เฝ้าสังเกตุการณ์และตรวจสอบสภาพแวดล้อม รวมถึงตามโรงงานอุตสาหกรรมต่างที่อยู่ในจุดที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพน้ำหรือก่อนปล่อยระบายออกสู่ชุมชนเพื่อกันการปนเปื้อนในน้ำหรือของเหลว

โดยหลักการทำงานของเครื่อง Conductivity Meter มีหลักการง่ายๆดังนี้

โดยจะมีโพรบ (Probe) ที่ไว้ใช้งานโดยจุ่มไปที่ของเหลวหรือน้ำที่ต้องการตรวจสอบคุณภาพของของเหลวหรือน้ำ โดยตัวเครื่อง Conductivity Meter จะใช้แรงดันไฟฟ้าส่งผ่านระหว่างขั้วไฟฟ้าภายในโพรบ (Probe) โดยใช้ความต้านทานไฟฟ้าจากของเหลวหรือสารละลายก็จะทำให้แรงดันตก โดยอ่านค่าได้จากตัวเครื่อง และตัวเครื่องก็จะมีการแปลงค่าที่อ่านได้หลากหลายวัด เช่น

  • มิลลิโอห์ม (mΩ )
  • ไมโครโอห์ม (µΩ )
  • มิลลิซีเมนต์ต่อเซนติเมตร (ms/cm)
  • ไมโครซีเมนต์ต่อเซนติเมตร (µs/cm)

โดยค่าที่กล่าวมานี้ทั้งหมดจะแสดงถึงสิ่งที่ปนเปื้อนอยู่ภายในของเหลวทั้งหมด

สอบเทียบเครื่องมือวัด

สาเหตุที่เราต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของน้ำและของเหลว

สาเหตุที่เราต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของน้ำและของเหลวนั้นมีความสำคัญมาก เพราะน้ำหรือของเหลวที่ถูกปล่อยออกไปสู่แหล่งน้ำนั้นชุมชนนั้น เพราะถ้าหากในน้ำมีค่าความนำไฟฟ้าที่มากเกินไปนั้น จะมีผลต่อสภาพแวดล้อมและการขยายพันธ์ของสัตว์น้ำจะล้มเหลวโดยสิ้นเชิง หรือถ้ากรณีในภาคอุตสาหกรรมถ้าหากน้ำมีความนำไฟฟ้าสูงมากเกินไปก็จะทำให้เกิดคราบตะกรันต่างๆที่ไปเกาะตามท่อหรือชิ้นอุปกรณ์ต่างๆในภาคอุตสาหกรรมได้ ซึ่งที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ล้วนมีความคัญอย่างยิ่งสำหรับที่ต้องใช้ เครื่องมือ Conductivity Meter ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันและหลายภาคส่วน

การออกแบบเครื่องมือ Conductivity Meter ทางผู้ผลิตก็ได้มีการออกแบบมาให้ทางผู้ใช้งานหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เหมาะสมต่อการใช้งานในความแตกต่างของงานแต่ละประเภท ผู้ใช้งานควรเลือกใช้เครื่องมือ Conductivity Meter ให้เหมาะกับงาน โดยต้องคำนึงความแม่นยำในการตรวจสอบและอ่านค่าให้มีความแม่นยำสูงสุด ซึ่งทางผู้ใช้งานควร สอบเทียบเครื่องมือวัด อย่างสม่ำเสมอหรืออย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน ถึง 1 ปี ควรมีการ สอบเทียบเครื่องมือวัด โดยสามารถใช้น้ำยามาตรฐาน
EC (Conductivity Standard Solution) ซึ่งเป็นสารละลายที่ใช้สำหรับสอบเทียบเครื่องวัดค่าความนำไฟฟ้า EC Meter

สอบเทียบเครื่องมือวัด

ภาพตัวอย่าง Conductivity Standard Solution ของบริษัทแคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด

การ สอบเทียบเครื่องมือวัด

กรณีที่ทางผู้ใช้งานต้องการที่จะสอบเทียบ Conductivity Meter ด้วยตนเองนั้น ทางผู้ใช้งานควรได้รับการอบรมวิธีการสอบเทียบอย่างถูกต้องก่อนที่จะดำเนินการสอบเทียบด้วยตนเองได้ เพราะถ้าหากทางผู้ใช้งานขาดความเข้าใจในเรื่องของวิธีการต่างๆและรายละเอียดต่างๆในการ สอบเทียบเครื่องมือวัด นั้นก็อาจจะมีความผิดพลาดในการสอบเทียบได้ หรือทางผู้ใช้งานสามารถติดต่อห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025 ที่รับบริการสอบเทียบเครื่องมือ Conductivity Meter ได้และได้การรับรอง ISO/IEC 17025:2017 ทั้งแบบสอบเทียบ ณ ห้องปฏิบัติการ (In Lab) หรือเพื่อความสะดวกของทางผู้ใช้งานเอง ทางบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด มีให้บริการรับสอบเทียบเครื่องมือ Conductivity Meter ได้ตั้งแต่ Range 84, 100, 500, 1410, 1413, 1414, 5000, 12880 µs/cm และ 12.89, 12.86, 80.06, 111.6, 147 ms/cm โดยได้การรับรอง ISO/IEC 17025:2017 และยังมีทั้งบริการรับส่งเครื่องมือฟรี รวมถึงยังมีบริการสอบเทียบถึงหน้าโรงงาน (Onsite) ให้กับผู้ใช้งานด้วย

 

ผู้เขียน THM Melo