การบำรุงรักษาเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าที่ถูกต้อง
การบำรุงรักษา เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า อย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เครื่องมือทำงานได้อย่างแม่นยำและมีอายุการใช้งานยาวนาน การดูแลรักษาเครื่องมือวัด เช่น การทำความสะอาด การตรวจสอบความถูกต้องของการวัด และการสอบเทียบอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้การวัดค่าทางไฟฟ้ามีความแม่นยำและเชื่อถือได้ รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดความผิดพลาดในการวัดที่อาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในการจัดการพลังงานและการผลิตในองค์กร การบำรุงรักษาที่ดีจึงเป็นกุญแจสำคัญในการรับรองคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าในระยะยาว
ความปลอดภัยทางไฟฟ้า (Electrical Safety)
- ฟังก์ชน Self-Test เป็นฟังก์ชันเป็นการตรวจเช็คเครื่องมือเบื้องต้นเท่านั้น (อาจไม่พบปัญหา 100% และไม่สามารถรับประกันได้ว่าเครื่องมือทำงานอย่างถูกต้อง)
- เลือกแรงดันไฟฟ้าที่ถูกต้อง
- ควรใช้ฟิวส์ที่ถูกต้องตามข้อกำหนดของผู้ผลิต ไม่ว่าจะเป็นชนิด Fast Blow หรือ Slow Blow โดยแนะนำให้ศึกษาคู่มือจากผู้ผลิตก่อนใช้งาน
ด้านสิ่งแวดล้อม
- อุณหภูมิและความชื้นในห้องปฏิบัติการที่เหมาะสมสำหรับการสอบเทียบ อุณหภูมิเฉลี่ยอาจถูกต้อง แต่หากอุณหภูมิและความชื้นมีการเปลี่ยนแปลง อาจส่งผลกระทบต่อความแม่นยำ
- มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital Multimeter) และเครื่องสอบเทียบมัลติฟังก์ชั่น (Multi-Function Calibrator) ใช้ระบบระบายความร้อนประกอบด้วยตัวกรองอากาศทำหน้าที่สำคัญในการป้องกันฝุ่นละออง และสิ่งสกปรกเข้าสู่ภายในเครื่อง การบำรุงรักษาตัวกรองอากาศเป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานไม่ควรมองข้าม เนื่องจากมีผลกระทบโดยตรงต่อประสิทธิภาพและอายุการใช้งานของอุปกรณ์
เมื่อตัวกรองอากาศเกิดการอุดตัน จะส่งผลให้การไหลเวียนของอากาศลดลง ทำให้อุณหภูมิภายในเครื่องเพิ่มสูงขึ้น ปัญหานี้ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อความแม่นยำในการวัดและการสอบเทียบเท่านั้น แต่ยังอาจนำไปสู่ความเสียหายที่รุนแรงต่อองค์ประกอบภายในเครื่อง โดยในกรณีร้ายแรงอาจเกิดการเผาไหม้ของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ได้
คำเตือน ! ควรถอดตัวกรองอากาศออกและทำความสะอาดทุกๆ 30 วันหรือบ่อยกว่านั้นหากใช้งานเครื่องสอบเทียบในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่นมาก
- หลีกเลี่ยงการวางเครื่องมือซ้อนกัน และไม่ควรวางสิ่งของปิดกั้นช่องระบายอากาศของเครื่องมือใดๆ กรณีที่ต้องใช้พื้นที่ร่วมกันบนชั้นวางหรือโต๊ะปฏิบัติการ การจัดวางอาจปรับเปลี่ยนไปตามรูปทรงและขนาดของโต๊ะ แต่ควรคำนึงถึงการระบายอากาศที่เพียงพอสำหรับทุกเครื่องมือเสมอ การจัดวางอย่างเหมาะสมจะช่วยให้เครื่องมือทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และปลอดภัย
- สัญญาณรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า Electromagnetic Interference – EMI) อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพการวัด เช่น คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือ
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุปกรณ์พร้อมทำงานในสภาพแวดล้อมเดียวกับที่ต้องการสอบเทียบ และควรใช้ Function ให้เหมาะสมกับตัวรับสัญญาณ
- การตรวจสอบจอแสดงผลดิจิตอล เป็นขั้นตอนสำคัญในการดูแลรักษาเครื่องมือ ควรสังเกตระหว่างการเปิดเครื่อง เนื่องจากเครื่องมือส่วนใหญ่จะเปิดแสดงผลทุกส่วนในช่วงเริ่มต้นทำงาน ขั้นตอนนี้ช่วยให้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบได้อย่างครบถ้วนว่าทุกส่วนของจอแสดงผลทำงานได้อย่างถูกต้อง ไม่มีจุดที่แสดงผลผิดปกติหรือส่วนใดเสียหาย หากพบความผิดปกติของจอแสดงผลควรดำเนินการซ่อมบำรุงทันที เพื่อป้องกันปัญหาในการอ่านค่าที่อาจส่งผลต่อความแม่นยำในการใช้งาน
- GPIB หรือ Serial Interface ควรตรวจสอบว่าข้อมูลอินเทอร์เฟซและจอแสดงผลของอุปกรณ์ตรงกัน และจอแสดงผลหรือเอาต์พุตของอุปกรณ์ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเชื่อมต่อสายอินเทอร์เฟซหรือถ่ายโอนข้อมูลระหว่างอุปกรณ์และคอมพิวเตอร์
- Guard terminal หรือขั้วต่อ Guard ควรได้รับการตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าทำงานได้อย่างถูกต้อง
ตัวอย่างการบำรุงรักษา เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า
True RMS Clamp Meter Fluke 376
ขั้นตอนการบำรุงรักษาขั้นพื้นฐาน
1.ทำความสะอาดเครื่องมือ : เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่กำลังทดสอบ ห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เพราะจะทำให้เคสอุปกรณ์เสียหาย ในการทำความสะอาดเครื่องมือ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำยาทำความสะอาดอ่อนๆ
2.เปลี่ยนแบตเตอรี่ : เพื่อป้องกันไฟฟ้าช็อต และเพื่อป้องกันการวัดค่าที่ไม่ถูกต้อง ให้เปลี่ยนแบตเตอรี่เมื่อไฟแสดงสถานะแบตเตอรี่อ่อนแสดงขึ้น
True RMS Multimeter Fluke 187
ขั้นตอนการบำรุงรักษาขั้นพื้นฐาน
1.ทำความสะอาดเครื่องมือ : เช็ดเคสด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ และน้ำยาทำความสะอาดอ่อนๆ ห้ามใช้สารกัดกร่อนหรือตัวทำละลาย การสะสมของฝุ่นละอองหรือความชื้นบริเวณเทอร์มินอลสามารถส่งผลเสียต่อความแม่นยำในการอ่านค่า และอาจกระตุ้นให้ระบบแสดงการแจ้งเตือนอินพุตผิดพลาด ซึ่งจะรบกวนการทำงานปกติของอุปกรณ์
- ปิดเครื่องและถอดสายทั้งหมดออก
- ปัดสิ่งสกปรกที่อาจอยู่ในขั้ว
- เช็คทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ ในแต่ละขั้ว
2.เปลี่ยนแบตเตอรี่ : เปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นแบตเตอรี่ AA สี่ก้อน เปลี่ยนแบตเตอรี่ตามขั้นตอนต่อไปนี้
- หมุนสวิตช์ไปที่ OFF และถอดสายออกจากขั้วต่อ
- ถอดฝาแบตเตอรี่ออก
- เปลี่ยนแบตเตอรี่และปิดฝาแบตเตอรี่
คำเตือน : เพื่อหลีกเลี่ยงการอ่านค่าที่ผิดพลาด ซึ่งอาจนำไปสู่ไฟฟ้าช็อต ให้เปลี่ยนแบตเตอรี่ทันทีที่ไฟแสดงสถานะแบตเตอรี่ปรากฏขึ้น
ทดสอบฟิวส์
- ก่อนวัดกระแส ให้ทดสอบฟิวส์ที่เหมาะสม หากการทดสอบให้ค่าที่อ่านได้นอกเหนือจากที่แสดงไว้ ให้นำมิเตอร์ไปซ่อมแซม
- ควรถอดสายวัดเพื่อหลีกเลี่ยงไฟฟ้าช็อต
- ควรปิดเครื่องก่อนเปลี่ยนแบตเตอรี่หรือฟิวส์ เพื่อป้องกันเครื่องมือเกิดความเสียหาย ให้ติดตั้งเฉพาะฟิวส์สำรองที่ระบุโดยมีอัตราแอมแปร์ แรงดันไฟฟ้า และความเร็วตรงตาม Spec เครื่องมือ
ผู้เขียน Lab 5
—