เลือก Compound Gauge อย่างไรให้เหมาะสมกับงานอุตสาหกรรมคุณ
Compound Gauge หรือเครื่องวัดความดันแบบรวม ถือเป็นอุปกรณ์วัดแรงดัน (Pressure) คือ เครื่องมือวัด ที่ใช้ในการวัดและควบคุมแรงดัน มีทั้งแบบที่เป็นระบบอนาล็อก (Analog) และแบบที่เป็นดิจิทัล (Digital) โดยอุปกรณ์สามารถที่จะระบุค่าแรงดันออกมาในหน่วยต่างๆได้ ขึ้นอยู่กับรุ่นและความต้องการในการใช้งาน โดยปกติเราจะต้องเลือกด้วยว่าต้องการใช้งานแบบใด โดยอุปกรณ์วัดแรงดันมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้
- Pressure gauge หรือเกจวัดแรงดัน นิยมใช้สำหรับวัดค่าความดันทั่วๆ ไป อ่านค่าความดันได้ที่หน้าปัด ส่วนใหญ่เป็นแบบอนาล็อก หรือ แบบเข็ม แบ่งเป็น
- Pressure gauge
- Vacuum gauge
- Compound gauge
- Pressure switch หรือสวิตซ์ความดัน และ Pressure transmitter เป็นอุปกรณ์ที่ใช้วัดแรงดันและสามารถแปลงค่าความดันเป็นสัญญาณทางไฟฟ้ามาตรฐานได้ นิยมใช้ในระบบที่ต้องมีการควบคุมความดัน มักมีระบบการทำงานแบบดิจิทัล ON-OFF
Pressure gauge, Vacuum gauge และ Compound gauge แตกต่างกันอย่างไร
- Pressure gauge (ใช้วัดได้เฉพาะย่านวัดแรงดันปกติหรือแรงดันค่าบวก)
- Vacuum gauge (ใช้วัดได้เฉพาะย่านวัดสุญญากาศหรือแรงกดด้านลบ)
- Compound gauge (ใช้วัดได้ทั้งย่านวัดแรงดันปกติและย่านวัดสุญญากาศ ย่านการวัดมีทั้งย่านบวกและย่านลบ)
เครื่องวัดความดันแบบรวมเป็นอุปกรณ์ที่สามารถแสดงแรงดันทั้งบวกและลบ (สุญญากาศและเกจวัดแรงดัน) เราจำเป็นต้องใช้ เครื่องวัดความดันแบบรวม เมื่อทำการวัดระบบที่ใช้ความดันทั้งบวกและลบในเกจ
ในการเลือกใช้งาน เครื่องวัดความดันแบบรวม ลูกค้าควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานเช่น Media ที่ใช้วัดคืออะไร ยกตัวอย่างเช่น วัดลมและวัดน้ำ ควรเลือกแบบย่านวัดต่ำแต่มีความละเอียดสูง วัดน้ำมันควรเลือกแบบช่วงวัดสูง วัดสารที่กัดกร่อนควรเลือกแบบตัวเรือนสเตนเลสที่ทนการกัดกร่อนได้ดี หรือใช้วัดสารไม่กัดกร่อนก็สามารถเลือกตัวเรือนเหล็กแบบปกติ เป็นต้น
โดยปกติสำหรับการเลือกใช้ เครื่องวัดความดันแบบรวม สิ่งที่ควรระบุสำหรับเลือกอุปกรณ์ มีดังนี้
- หน่วยวัด(Unit) คือ หน่วยความดันบนหน้าปัดที่เราต้องการให้อุปกรณ์วัดแสดง
- ย่านการวัด (Range) คือ ช่วงความดันต่ำสุด-สูงสุด ที่อุปกรณ์ตัวนั้นสามารถวัดให้เราได้
- ขนาดหน้าปัด (Dial Size) คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของหน้าปัดอุปกรณ์วัด มักระบุเป็น นิ้วหรือมิลลิเมตร
- ชนิดวัสดุ คือ ชนิดของวัสดุที่ใช้เป็นตัวเรือน เช่น เหล็ก / พลาสติก / สเตนเลส / ทองเหลือง
- วัสดุใช้ทำเกลียว เช่น ทองเหลือง / สเตนเลส
- แบบ/ขนาดของเกลียว (Type/Thread size) คือ ขนาดของเกลียวที่จะใช้ต่อกับอุปกรณ์อื่น มีทั้งแบบออกด้านล่างและออกด้านหลัง ตัวอย่างขนาดเกลียวมาตรฐาน NPT และ BSP
- Option พิเศษต่างๆ เช่น แบบมีน้ำมัน มีปีกยึดติดตู้
บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด สามารถสอบเทียบได้ทั้งแบบรับกลับมา สอบเทียบเครื่องมือวัด ที่ห้องปฏิบัติการ (In lab)และแบบสอบเทียบหน้างานที่บริษัทลูกค้า (Onsite) อีกทั้งยังได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025:2017 จาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และ ANSI National Accreditation Board (ANAB) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อตอบสนองการใช้งานที่หลากหลายของลูกค้าในทุกภาคอุตสาหกรรม
รายละเอียด Scope การสอบเทียบ คลิก
MKS
บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด ซื้อเครื่องมือวัด