เครื่องวัดความดันโลหิต คืออะไร

เครื่องวัดความดันโลหิต เป็นอุปกรณ์พื้นฐานที่สำคัญมากในการดูแลสุขภาพ  หลายคนอาจคุ้นเคยกับการใช้งานอุปกรณ์ชนิดนี้อยู่บ่อยครั้ง แต่เคยสงสัยหรือไม่ว่า เครื่องวัดความดันโลหิตที่เราใช้อยู่ในทุกวันนี้มีความแม่นยำแค่ไหน?

ใน VDO นี้ เราจะพาคุณไปทำความเข้าใจว่า เครื่องวัดความดันโลหิตคืออะไร มีกี่ประเภท และจะมั่นใจได้อย่างไรว่าค่าที่วัดได้นั้นถูกต้อง ด้วยกระบวนการที่เรียกว่า “การสอบเทียบ”

เครื่องวัดความดันโลหิต คือ อุปกรณ์ที่ใช้วัดแรงดันของเลือดในหลอดเลือดแดง โดยมีค่าที่สำคัญอยู่ 2 ค่า ได้แก่

  • ค่าความดันโลหิตตัวบน (Systolic Pressure) ค่าที่เกิดขึ้นขณะหัวใจกำลังบีบตัว

  • ค่าความดันโลหิตตัวล่าง (Diastolic Pressure) ค่าที่เกิดขึ้นขณะหัวใจกำลังคลายตัว

ประเภทของเครื่องวัดความดันโลหิต

ปัจจุบัน เครื่องวัดความดันโลหิต แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่

  1. แบบปรอท (Mercurium Manometer)เครื่องวัดแบบดั้งเดิม ใช้ปรอทในการแสดงผล นิยมใช้ในโรงพยาบาล ต้องใช้ร่วมกับหูฟังแพทย์

  2. แบบหน้าปัดนาฬิกา (Aneroid Manometer)ใช้เข็มชี้ค่าบนหน้าปัดเช่นเดียวกับเครื่องแบบปรอท ต้องใช้ร่วมกับหูฟัง

  3. แบบดิจิตอล (Digital Display)แสดงผลเป็นตัวเลข ใช้งานง่าย เป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดยเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน

การสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต คืออะไร?

การสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต คือ กระบวนการตรวจสอบและปรับค่าความแม่นยำของอุปกรณ์ เพื่อให้มั่นใจว่าค่าที่แสดงนั้นถูกต้องตามมาตรฐาน โดยการสอบเทียบสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ด้านหลัก ๆ ได้แก่

  1. ความดันโลหิต (Blood Pressure) – ตรวจสอบค่าความดันตัวบนและตัวล่างว่าถูกต้องหรือไม่

  2. อัตราชีพจร (Pulse Rate) – ตรวจสอบความแม่นยำของการแสดงค่าการเต้นของหัวใจ

  3. ความดันคัฟ (Cuff Pressure) – ตรวจสอบแรงดันที่เกิดขึ้นในอุปกรณ์พันแขนขณะวัดความดัน

สรุป

การเลือกใช้ เครื่องวัดความดันโลหิต ที่ได้มาตรฐาน และผ่านการสอบเทียบอย่างถูกต้องเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในโรงพยาบาลหรือในบ้าน เพราะข้อมูลที่แม่นยำคือหัวใจของการดูแลสุขภาพ

ชมวิดีโอ เพื่อเรียนรู้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การสอบเทียบเครื่องวัดความดันโลหิต ในแต่ละประเภท พร้อมคำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ

 

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา

บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด  ซื้อเครื่องมือวัด