เครื่องชั่งยี่ห้อ Vibra เป็นเครื่องชั่งคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น ที่มีความแม่นยำและความเสถียรสูง โดยเฉพาะเทคโนโลยี “Tuning Fork” ที่เป็นเอกลักษณ์ การสอบเทียบเครื่องชั่งเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้การใช้งานมีความถูกต้องตามมาตรฐาน และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ ผู้ใช้งานควรเลือกใช้ ตุ้มน้ำหนัก Class อะไร ที่เหมาะสมตามระดับความละเอียดของแต่ละรุ่น
ทำความเข้าใจเรื่องของ Class ของ Standard Weight
ตุ้มน้ำหนักมาตรฐานที่ใช้สอบเทียบจะมีหลายระดับ เช่น
- E1, E2 – สำหรับเครื่องชั่งความละเอียดสูงมาก เช่น 4–5 ตำแหน่งทศนิยม
- F1, F2 – สำหรับเครื่องชั่งทั่วไปที่มีควมละเอียดระดับ 2–3 ตำแหน่ง
- M1, M2 – ใช้กับเครื่องชั่งที่มีความละเอียดต่ำ เช่น 1 ตำแหน่ง
ตัวอย่างการเลือก Class สำหรับสอบเทียบ Standard Weight แต่ละรุ่นของ Vibra
Vibra AJ Series
- ความละเอียด: 0.001 g (1 mg)
- การใช้งาน: ร้านทองหรืออัญมณี, สถานศึกษา, อุตสาหกรรมผลิตยาและเวชภัณฑ์, ห้องปฏิบัติการ
- แนะนำใช้ตุ้มน้ำหนัก Class F1 หรือ E2
ตัวอย่าง ถ้าเครื่อง AJ-620E มีพิกัด 620 g ใช้ตุ้มน้ำหนัก 500 g และ 100 g Class F1
Vibra SJ Series
- ความละเอียด: 0.01 – 0.1 g
- การใช้งาน: งานอุตสาหกรรมทั่วไป
- แนะนำใช้ตุ้ม Class F2 หรือ F1
ตัวอย่าง SJ – 12KCEN พิกัด 12 kg ใช้ตุ้ม 10 kg, 2 kg Class F2 ก็เพียงพอ
Vibra AB Series
- ความละเอียด: 0.01 – 0.1 g
- การใช้งาน: งานทั่วไป และไลน์การผลิต
- แนะนำใช้ตุ้มน้ำหนัก Class F1 หรือ M1 (ถ้าใช้ไลน์การผลิตที่ไม่เน้นละเอียด)
ตัวอย่าง AB – 620 ใช้ตุ้มน้ำหนัก 500g, 100g Class F1
Vibra HT Series
- ความละเอียด: 0.0001 g (0.1 mg)
- การใช้งาน: ห้องปฏิบัติการทั่วไปใช้ชั่งตัวอย่างสารเคมี, สารละลาย, สารตั้งต้น , อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ , อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง , งานชั่งในอุตสาหกรรมอัญมณีและทองคำ
- แนะนำใช้ตุ้มน้ำหนัก Class E2
ตัวอย่าง HT-224CEN มีพิกัด 220 g ใช้ตุ้มหนัก 20 g, 100 g, 100 g Class E2
สรุป
รุ่นเครื่องชั่ง | ความละเอียด | ตุ้มที่แนะนำใช้สอบเทียบ |
Vibra AJ | 0.001 g | F1 หรือ E2 |
Vibra SJ | 0.01–0.1 g | F2 หรือ F1 |
Vibra AB | 0.01–0.1 g | F1 หรือ M1 |
Vibra HT | 0.0001 g | E2 |
ข้อควรจำ
- การสอบเทียบควรทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- ถ้าใช้ในงานที่มีผลต่อคุณภาพ (เช่น ผลิตยา หรือวิเคราะห์สารเคมี) ควรเลือกตุ้มน้ำหนัก Class สูงขึ้น
- การเลือกซื้อตุ้มน้ำหนักควรพิจารณาจากบริษัทที่มีมาตรฐานรับรองคุณภาพ ดังนั้นคุณควรเลือกตุ้มน้ำหนักจากผู้จำหน่ายที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าตุ้มน้ำหนักมีความแม่นยำและเชื่อถือได้ตามมาตรฐานสากล
การเก็บรักษาและดูแลตุ้มน้ำหนัก (Weights) ที่ถูกต้อง
เพื่อให้ตุ้มน้ำหนักที่ใช้สอบเทียบเครื่องชั่ง Vibra คงค่าความแม่นยำและสามารถใช้งานได้ยาวนาน ผู้ใช้งานควรให้ความสำคัญกับการดูแลและเก็บรักษาอย่างเหมาะสม ดังนี้:
1.เก็บในกล่องหรือภาชนะเฉพาะ
- ตุ้มน้ำหนักควรเก็บไว้ในกล่องที่บุด้วยวัสดุกันกระแทก เช่น กล่องที่บุด้วยโฟม หรือกล่องไม้บุผ้า
- ไม่ควรเก็บรวมกับอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อป้องกันการกระแทกหรือขูดขีดหลีกเลี่ยงการสัมผัสด้วยมือเปล่า
- เหงื่อและคราบมันจากมืออาจทำให้ผิวตุ้มน้ำหนักเปลี่ยนแปลงน้ำหนักได้
- ควรใช้ถุงมือ หรือแหนบจับตุ้มเมื่อยกหรือวางบนจานชั่ง
2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสด้วยมือเปล่า
- เหงื่อและคราบมันจากมืออาจทำให้ผิวตุ้มน้ำหนักเปลี่ยนแปลงน้ำหนักได้
- ควรใช้ถุงมือ หรือแหนบจับตุ้มเมื่อยกหรือวางบนจานชั่ง
- ทำความสะอาดอย่างระมัดระวัง
- ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์แห้ง หรือแปรงที่มีขนอ่อนปัดเบา ๆ หากมีฝุ่น
- ห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น แอลกอฮอล์ หรือโซลเวนต์ (Solvent)
- หลีกเลี่ยงความชื้นและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อย
- ความชื้นสูงอาจทำให้เกิดสนิม โดยเฉพาะกับตุ้มที่ไม่ใช่สแตนเลส
- ควรเก็บในห้องที่มีอุณหภูมิคงที่และแห้ง หลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง
- สอบเทียบซ้ำตามระยะเวลา
- ควรส่งตุ้มน้ำหนักไปสอบเทียบเป็นประจำทุก 1 ปี (หรือมากกว่านั้นตามความถี่การใช้งาน) โดยห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC17025 เช่น NIMT หรือ CLC Calibration
ผู้เขียน BDS TEAM