เกจวัดแรงดัน (pressure gauge) คืออะไร? ข้อดีข้อเสียของเกจแบบอนาล็อกและดิจิตอลต่างกันอย่างไร?

Pressure dial Gauge for measuring air pressure in manufacturing equipment ; industrial background Calibration Lab, เกจวัดแรงดัน , pressure gauge

เกจวัดแรงดัน (pressure gauge) คือ อุปกรณ์ที่ใช้วัดหรืออ่านค่าแรงดันก๊าซและของเหลว ในงานวิศวกรรมหรืออุตสาหกรรมที่มีการใช้ของไหล เช่น อุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องตรวจความดันในหม้อไอน้ำ, ระบบท่อ อุตสาหกรรมยานยนยานยนต์เช่นการใช้เพื่อวัดลมยางรถยนต์ หรืออุตสาหกรรมทางการแพทย์ เช่น วัดความดันเลือด (สฟิกโมมาโนมิเตอร์) เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องวัดความดันเพื่อควบคุมประสิทธิภาพและความปลอดภัย เกจวัดแรงดันแบ่งออกเป็นหลายประเภทมาก การจะเลือกซื้อเกจวัดแรงดันไปใช้ให้ถูกงานนั้นต้องคำนึงถึงชนิดต่างๆของเกจวัดความดันดังนี้

ประเภทของเกจวัดแรงดัน

เกจวัดแรงค่าดันจะแบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ ด้วยกัน คือ

1.General pressure gauge

คือ เครื่องมือวัดความดันที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมและระบบ เพื่อตรวจสอบความดันของของเหลวหรือก๊าซในสภาพแวดล้อมโดยทั่วไป ใช้วัดแรงดันที่เป็นย่านค่าบวก ไม่เหมาะกับสารกัดกร่อนหรือของไหลที่มีความหนืดสูงๆ

2. Vacuum gauge

คือ เครื่องมือวัดที่ใช้สำหรับตรวจสอบความดันต่ำกว่าความดันบรรยากาศ(สุญญากาศ) ใช้วัดแรงดันที่เป็นย่านค่าลบ โดยสามารถแบ่งประเภทของ Vacuum Gauge ได้เป็น เกจเชิงกล (Mechanical Vacuum Gauges) เกจไฟฟ้า (Electrical Vacuum Gauges) และ เกจความจุไฟฟ้า (Capacitance Manometer) ซึ่งการเลือกใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับช่วงความดันสุญญากาศและสภาพแวดล้อมการทำงาน

3. Compound gauge

คือ เครื่องมือวัดความดันที่วัดแรงดันได้ทั้งค่าบวกและลบได้ในตัวเดียวกัน ซึ่งใช้ในงานประเภทการตรวจสอบแรงดันในระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างแรงดันบวกและแรงดันลบเช่น การใช้เพื่อวัดความดันสารทำความเย็นในแอร์ ในระบบดูดอากาศเครื่องยนต์ วัดแรงดูดในปั๊มสุญญากาศ หรือตรวจสอบแรงดันในหม้อต้มไอน้ำ เป็นต้น ลักษณะของหน้าปัดจะสามารถแสดงหน่วยวัดได้ทั้งฝั่งแรงดันบวก (PSI, Bar ฯลฯ) และแรงดันลบหรือสุญญากาศ (inHg หรือ mmHg)

 

เกจวัดแรงดัน เป็นเครื่องมือวัดที่ทนต่อแรงสั่นสะเทือนเพื่อใช้ในการวัดความดันซึ่งควรพิจารณาให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยสามารถแบ่งเกจได้เป็นทั้งแบบอนาล็อกและเกจดิจิตอล

เกจวัดแรงดัน อนาล็อกหรือดิจิตอล

1. เกจวัดแรงดันแบบดิจิตอล 

จะมีราคาสูงกว่าเพจอนาล็อกแต่จะมีข้อดีกว่าตรงเกจแบบดิจิตอลมีความแม่นยำมากกว่า เหมาะกับงานที่ต้องการการวัดความดันแม่นยำสูง นอกจากนั้นเกจวัดแรงดันแบบดิจิตอลในหลายรุ่นสามารถเชื่อมต่อข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถอ่านค่าได้จากระยะไกลได้ด้วย

เพรสเชอร์เกจแบบดิจิตอล เกจวัดแรงดันแบบดิจิตอล

2. เกจวัดแรงดันแบบอนาล็อก (แบบเข็ม) 

มีข้อดีคือราคาถูกกว่าไม่ต้องการการบำรุงรักษามากเมื่อเทียบกับเกจแบบดิจิตอล โดยเกจวัดแรงดันแบบอนาล็อกนั้นแบ่งออกอีกเป็น 2 ประเภท คือ

2.1 เกจวัดแรงดันอนาล็อกปรกติ มีข้อดีคือ ราคาถูก แต่จะรับแรงสั่นสะเทือนสูงไม่ได้

2.2 เกจวัดแรงดันอนาล็อก แบบมีน้ำมัน มีข้อดีคือทนทานกว่า เหมาะกับงานมีแรงสั่นสะเทือนสูง เพราะน้ำมันจะช่วยลดการสั่นของเข็มอ่าน ทำให้อ่านค่าได้แม้มีการสั่นสะเทือนสูง และยังเป็นตัวซับแรงทำให้เข็มอ่านค่าไม่หัก

 

ขนาดหน้าปัดของเกจ

ข้อมูล ณ ปัจจุบันตามมาตรฐานอุตสาหกรรมปี 2024 ที่สามารถครอบคลุมการใช้งานส่วนใหญ่ได้อย่างครบถ้วน
ขนาดหน้าปัดของเกจวัดแรงดันมีหลากหลายขนาดให้เลือก มีตั้งแต่ 1-1/2″, 2″ 2-1/2″, 3″ 3-1/2″, 4″, 6″, 8″ ไปถึงขนาดหน้าปัด 10″ ตามความเหมาะสมของการใช้งาน

ขนาดหน้าปัด (นิ้ว) ขนาดหน้าปัด (มิลลิเมตร) ความละเอียด การใช้งานโดยทั่วไป ข้อแนะนำ
1.5″ (1½ นิ้ว) 38-40 mm ปานกลาง – อุปกรณ์พกพา
– ระบบลมยาง
– เครื่องมือช่าง
ไม่เหมาะสำหรับการอ่านค่าจากระยะไกล
2″ (2 นิ้ว) 50-51 mm ปานกลาง – ระบบเคลื่อนที่
– อุปกรณ์ขนาดเล็ก
– HVAC ขนาดเล็ก
ขนาดมาตรฐานสำหรับงานทั่วไป
2.5″ (2½ นิ้ว) 63-65 mm ดี – งานอุตสาหกรรมทั่วไป
– เครื่องจักรกล
ขนาดที่พบมากที่สุดในโรงงาน
4″ (4 นิ้ว) 100-102 mm ดีมาก – ระบบท่อหลัก
– หม้อไอน้ำ
– ระบบไฮดรอลิก
เหมาะสำหรับการอ่านค่าจากระยะ 2-3 เมตร
6″ (6 นิ้ว) 150-152 mm ยอดเยี่ยม – ระบบควบคุมกลาง
– ห้องควบคุม
– งานที่ต้องการความแม่นยำสูง
สามารถอ่านค่าจากระยะ 4-5 เมตรได้ชัดเจน
8″ (8 นิ้ว) 200-203 mm ยอดเยี่ยม – โรงงานขนาดใหญ่
– ระบบพลังงาน
– แผงควบคุมหลัก
มักใช้กับระบบความดันสูงหรืออันตราย
10″ (10 นิ้ว) 250-254 mm ยอดเยี่ยม – โรงไฟฟ้า
– ระบบปิโตรเคมี
– ห้องควบคุมกลาง
สำหรับงานที่ต้องการการมองเห็นในระยะไกลมาก

 

 

การพิจารณาและเลือกใช้เกจวัดแรงดัน

1. ควรพิจารณาจากประเภทของเกจวัดแรงดันและ การนำไปใช้ ควรเลือกใช้ให้ตรงกับการใช้งาน เช่น ใช้วัดลม,วัดน้ำ ,วัดน้ำมัน หรือ วัดสารกัดกร่อน หากต้องการใช้วัดลมและน้ำ ควรเลือกแบบย่านวัดต่ำ ที่มีความละเอียดสูง หากต้องการนำเกจไปใช้วัดน้ำมัน ควรเลือกแบบที่มีช่วงวัดสูง หรือ ถ้าต้องการนำไปใช้วัดสารที่มีการกัดกร่อน ควรพิจารณาจากตัวเรือนที่ทำจากวัสดุที่แข็งแรงทนการสึกกร่อนได้ดี

2. พิจารณาจากงบประมาณ ความสำคัญและความสามารถในการใช้งานของเกจวัดแรงดัน หากมีงบประมาณมากและต้องการความแม่นยำ ให้ค่าความละเอียดสูง ในงานที่มีความสำคัญควรเลือกใช้เกจวัดแรงดันแบบดิจิตอลแทนเกจแบบอนาล็อก เพราะเกจแบบดิจิตอลจะวัดค่าได้ละเอียดกว่า ใช้งานง่าย และสะดวกสบายกว่าเกจแบบอนาล็อก

3. พิจารณาจากคุณลักษณะเฉพาะของเกจวัดแรงดัน เช่น หน่วยวัดเป็นแบบไหน?,ย่านความต่ำสุด และสูงสุดของอุปกรณ์ชิ้นนั้นๆเป็นอย่างไร ขนาดความกว้างของเส้นผ่าศูนย์กลางตัวเรือนหน้าปัดที่เหมาะสมต่อการนำไปใช้งาน วัสดุที่ใช้ขึ้นรูปประกอบร่าง ชนิดเกลียวที่จะใช้ประกอบกับท่อหรือข้อต่อต่างๆ และฟังก์ชั่นเสริมอื่นๆ ตามความเหมาะสมต่อการใช้งาน เช่น มีระบบล็อคด้วยรหัสพิเศษ มีการป้องกันการสั่นสะเทือน เป็นต้น

 

Calibration Laboratory  ผู้แทนจำหน่ายเกจวัดแรงดันแบรนด์ระดับโลกอย่างเป็นทางการ สามารถเลือกซื้อเกจวัดแรงดันแบบต่างๆได้ตามลิงค์ด้านล่างได้เลยครับ

 

บริการสอบเทียบความดันและสุญญากาศ

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา