วิธีการสอบเทียบ Pressure Gauge มีวิธีพิจารณาอย่างไร

Pressure Gauge

          เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดค่า Pressure ในอุตสาหกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและสามารถหาซื้อได้ง่าย และเมื่อเทียบเรื่องราคากับ Digital Pressure Gauge ถือว่าราคาถูกมากๆ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท ตั้งแต่การใช้ในระบบเครื่องจักรที่มีขนาดเล็ก เช่น ปั้มลม, เครื่องฉีดน้ำแรงดันสูงไปจนถึงใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น ระบบงานไฟฟ้า, ระบบงานปิโตรเลียม เป็นต้น

วิธีการสอบเทียบ Pressure Gauge
การพิจารณาวิธีการที่จะใช้ สอบเทียบ Pressure มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการเลือกใช้ให้เหมาะสมมีดังต่อไปนี้

  • ย่านการวัด (Range) ของเครื่องมือที่จะสอบเทียบ ในที่นี้จะใช้หน่วย Pa, kpa, Mpa
  • Pressure Gauge ที่จะนำมาสอบเทียบใช้กับตัวกลาง (Media) แบบไหน เช่น ลม (Air), ไนโตรเจน, (N2),น้ำ (Water), น้ำมัน (Oil)
  • ค่าความผิดพลาด (Error) หรือ เกณท์การยอมรับ MPE (Maximum Permissible Error) ของ Pressure Gauge ที่จะสอบเทียบนั้นมีค่าที่เท่าไหร่

เครื่องมือวัดทางด้าน Pressure เช่นในบทความนี้ ขอยกตัวอย่างเป็น Pressure Gauge จะมีวิธีการพิจารณา วิธีการสอบเทียบ Pressure Gauge ได้ดังต่อไปนี้
ลูกค้าไม่มีรายละเอียดที่ต้องการ ให้ทางห้องปฏิบัติการพิจารณาการสอบเทียบให้ ทางเราจะพิจารณาจาก รายละเอียดของเครื่องมือที่ลูกค้าส่งมาสอบเทียบดังต่อไปนี้

  1. เลือกจุดสอบเทียบของ เครื่องมือวัด

    จากย่านการวัดต่ำสุด(min)ของเครื่องมือลูกค้า ไปจนถึง ย่านการวัดสูงสุดของเครื่องมือลูกค้า (max) ที่ต้องการจะสอบเทียบ หากมี pointใช้งานเป็นประจำที่อยู่ในย่าน Min – Max ที่ต้องการสอบเทียบ ก็สามารถแจ้งเพิ่มPointได้

  2. เลือกประเภท Media ของ Pressure ที่จะนำมาใช้สอบเทียบ

    โดยปรกติแล้ว ลูกค้าจะต้องแจ้งประเภทของตัวกลาง (Media) ของ Pressure Gauge ที่ต้องการสอบเทียบ ทางห้องปฏิบัติการ ไม่สามารถพิจารณาเลือกให้ได้ เนื่องจากการสอบเทียบ หากใช้ประเภทตัวกลาง (Media) ของ Pressure Gauge ที่ไม่ตรงกับการใช้งานจริงในบางลักษณะงาน อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับตัวเครื่องมือมาตรฐาน (STANDARD) และส่งผลเสียก่อให้เกิดการปนเปื้อนเมื่อลูกค้านำเครื่องมือกลับไปใช้งานหลังสอบเทียบเสร็จ ยกตัวอย่างเช่น
    เครื่องมือลูกค้าใช้กับตัวกลาง (Media) น้ำมัน (Hydraulic Oil) แต่มาให้สอบเทียบด้วยตัวกลางลม(Air) ปัญหาที่จะเกิดขึ้นคือ เมื่อสอบเทียบไปแล้ว จะทำให้น้ำมัน (Hydraulic Oil) ที่ยังมีเหลือตกค้างในเครื่องมือของลูกค้า มาปนเปื้อนกับระบบการสอบเทียบของเครื่องมือมาตรฐาน (STANDARD)ของห้องปฏิบัติการ จะเกิดความเสียหายต่อเครื่องมือมาตรฐาน (STANDARD)ได้
    เครื่องมือลูกค้าใช้กับตัวกลาง (Media) ลม(Air)แต่มาให้สอบเทียบด้วยน้ำมัน (Hydraulic Oil) ปัญหาที่จะเกิดขึ้นคือ เมื่อสอบเทียบไปแล้วลูกค้านำเครื่องมือกลับไปใช้งาน จะทำให้น้ำมัน (Hydraulic Oil) จากการสอบเทียบไหลออกจากเครื่องมือลูกค้ามาปนเปื้อน ทำให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องจักรและระบบงานของลูกค้า

  3. เลือกค่าของเกณท์การยอมรับ (MPE)

    กรณีที่ลูกค้าไม่ได้แจ้งทางห้องปฏิบัติการจะรายงานค่าตามจริงหรือพิจารณาจากค่าความถูกต้องเเม่นยำในการวัดของเครื่องมือ (Accuracy)

ตัวอย่างการสอบเทียบ เครื่องมือวัด Pressure ลูกค้าแจ้งว่าสอบเทียบกับตัวกลาง (Media) ลม(Air)

วิธีการสอบเทียบ Pressure Gauge,สอบเทียบ,สอบเทียบเครื่องมือวัด,Pressure Gauge,วิธีสอบเทียบรูปที่ 1

ตัวเครื่องมือที่จะนำมาสอบเทียบอยู่ใน Range 0 -10 bar สามารถสอบเทียบได้โดยกำหนดดังนี้
Cal: 0-10 bar by Air
MPE: (3) กรณีลูกค้าต้องการให้รายงานค่าตามจริง หรือ MPE(2) 1% F.S (±0.1bar) ตามสเปคเครื่องมือ โดยที่สเปคเครื่องมือ
ในบางกรณีสามารถตรวจสอบได้ที่ หน้าปัด ของตัวเครื่องมือ (ถ้ามี)

 

ตัวอย่างการ สอบเทียบ Pressure ที่ลูกค้าแจ้งว่าสอบเทียบกับตัวกลาง (Media) น้ำมัน(OIL)

วิธีการสอบเทียบ Pressure Gauge,สอบเทียบ,สอบเทียบเครื่องมือวัด,Pressure Gauge,วิธีสอบเทียบ

รูปที่ 2

ตัวเครื่องมือที่จะนำมาสอบเทียบอยู่ใน Range 0-250 bar สามารถสอบเทียบได้โดยกำหนดดังนี้
Cal: 0-250 bar by OIL
MPE:(3) กรณีลูกค้าต้องการให้รายงานค่าตามจริง หรือ MPE(2) 1.6% F.S (± 4 bar) ตามสเปคเครื่องมือ โดยที่สเปคเครื่องมือ ในบางกรณีสามารถตรวจสอบได้ที่หน้าปัดของตัวเครื่องมือ (ถ้ามี)

  • โดยในละ point การสอบเทียบ โดยส่วนมากจะแบ่งตามช่องสเกลทั้งหมดของหน้าปัดหรือแบ่งตาม Main Scale ซึ่งก็คือ 0,50,100,150,200,250 bar ในรูปที่ 2 หรือ 0,2,4,6,8,10 bar ในรูปที่ 1
    หมายเหตุ
    กรณีที่มี Point ที่ต้องการจะสอบเทียบเป็นพิเศษก็สามารถแจ้งได้ แต่จะต้องอยู่ในช่อง Scale ที่ตัวเครื่องมือสามารถอ่านค่าได้ เช่น Pressure Gauge ในรูปตัวอย่างด้านล่าง

วิธีการสอบเทียบ Pressure Gauge,สอบเทียบ,สอบเทียบเครื่องมือวัด,Pressure Gauge,วิธีสอบเทียบ

วิธีการสอบเทียบ Pressure Gauge,สอบเทียบ,สอบเทียบเครื่องมือวัด,Pressure Gauge,วิธีสอบเทียบ

 

รูปที่ 1 ตัวอย่าง Pressure Gauge Range 0-10 bar                   รูปที่ 2 ตัวอย่าง Pressure Gauge Range 0-250 bar

ตัวอย่าง Pressure gauge ที่มี สเปคระบุที่เครื่องมือ

วิธีการสอบเทียบ Pressure Gauge,สอบเทียบ,สอบเทียบเครื่องมือวัด,Pressure Gauge,วิธีสอบเทียบ วิธีการสอบเทียบ Pressure Gauge,สอบเทียบ,สอบเทียบเครื่องมือวัด,Pressure Gauge,วิธีสอบเทียบ

ในกรณีที่ตัวเครื่องมือนั้นไม่มีค่า MPE ระบุที่หน้าปัดสามารถดูจากช่องสเกลความละเอียดของเครื่องมือโดยจะมีค่า Accuracy ที่ใกล้เคียงกันกับความละเอียดจริงที่เครื่องมือสามารถวัดค่าPressureได้ ขอยกตัวอย่างดังนี้

 

วิธีการสอบเทียบ Pressure Gauge,สอบเทียบ,สอบเทียบเครื่องมือวัด,Pressure Gauge,วิธีสอบเทียบ

ตัวเครื่องมือ pressure gauge มีค่า ความละเอียด อยู่ที่ 0.01 MPa สามารถสังเกตดูจากจำนวนช่อง Scale ที่หน้าปัดแสดงค่าการวัดของตัวเครื่องมือในกรณีนี้ ช่วงค่า Pressure ระหว่าง 0.1 – 0.2 MPa มีช่อง Scale 10 ช่อง จึงสามารถคำนวณค่าของ Pressure ที่ตัวเครื่องมือ สามารถอ่านค่าได้ในแต่ละช่องมีค่าเท่ากับ 0.01 MPa
จึงสามารถตั้ง MPE คร่าวๆ ได้ 0.01 MPa
หมายเหตุ : วีธีการนี้สามารถใช้ในกรณีที่ไม่สามารถหาสเปคเครื่องมือได้เท่านั้น

 

ผู้เขียน L1 Pressure

 

Pressure Transmitter คืออะไร เลือกใช้อย่างไรให้ถูกต้อง

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา