ไฟฟ้าสถิตมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทำความรู้จักกับเครื่องมือวัดไฟฟ้าสถิตกัน

เครื่องมือวัดไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Field Meters) 

เครื่องมือวัดไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Field Meters) เป็นเครื่องมือวัดที่ใช้ในการตรวจจับไฟฟ้าสถิต ซึ่งถือเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์เกิดความเสียหาย ไม่สามารถใช้ได้ เช่น อุปกรณ์จำพวก IC ที่ทำจากสารกึ่งตัวนำมักมีความไวต่อไฟฟ้าสถิตรวมถึงเครื่องมืออิเล็กทรอนิคส์ต่าง ๆ ที่มีแผงวงจรอิเล็กทรอนิคส์อยู่ภายใน เมื่อการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า เครื่องมือวัดไฟฟ้าสถิต Electrostatic Field เป็นเครื่องมือวัดชิ้นหนึ่ง ที่ใช้วัดไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นบริเวณใดบริเวณหนึ่งได้ สามารถแสดงค่าความต่างศักย์ออกมาเป็นแรงดัน (Volt) ใช้งานได้ง่าย

เครื่องวัดไฟฟ้าสถิต เป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่ง ที่ใช้วัดไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นได้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ได้ถูกออกแบบให้สามารถวัดไฟฟ้าสถิตของพื้นผิววัสดุ โดยที่ไม่ต้องสัมผัสกับชิ้นงาน เครื่องสามารถตรวจวัดค่าไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นบนวัสดุต่างๆ เช่น พลาสติกเส้นใยเคมี ขนสัตว์ และร่างกายมนุษย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ใช้งานได้ง่ายและพกพาสะดวก เป็นเครื่องมือวัดที่จำเป็นต้องมีในกระบวนการการควบคุมและป้องกันปัญหาไฟฟ้าสถิตและ ESD ที่เกิดขึ้น โดยการใช้เครื่องมือวัดชี้ไปที่บริเวณที่ต้องการวัดห่างประมาณ 1 เมตร เพื่อให้ทราบว่าตรงนั้นมีไฟฟ้าสถิตอยู่เท่าใด ซึ่งเป็นบริเวณที่มีประจุไฟฟ้าคงค้างอยู่ มีผลเสียหายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์หรือไม่ เพื่อจะได้หาวิธีทางแก้ไขต่อไปและอีกวิธีหนึ่งคือการวัดความต้านทานของพื้นผิว เพื่อให้ทราบว่าพื้นผิวนั้นสามารถป้องกันไฟฟ้าสถิตหรือไม่ มีการวัดความเป็นฉนวนที่ไม่ยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ หรือใช้วัดพื้นที่การทำงาน รวมถึงถุงเท้า รองเท้า ที่ใช้ในการป้องการเกิดไฟฟ้าสถิตขณะทำงานด้วย

 ไฟฟ้าสถิต ,Static electricity , Electrostatic Charges, สอบเทียบเครื่องมือวัด, Calibration, เครื่องมือวัดไฟฟ้าสถิตไฟฟ้าสถิต ,Static electricity , Electrostatic Charges, สอบเทียบเครื่องมือวัด, Calibration, เครื่องมือวัดไฟฟ้าสถิต

ไฟฟ้าสถิต (Static electricity หรือ Electrostatic Charges)

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าไฟฟ้าสถิตคืออะไร มีผลอย่างไรกับอุปกรณ์ชนิดไหนบ้าง

ไฟฟ้าสถิต คือ การสะสมไฟฟ้าไว้ในตัวของวัตถุหรือปรากฎการณ์ที่เกิดจากประจุไฟฟ้าโดยที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากันปกติจะแสดงในรูปแบบของการดึงดูด การผลักกัน และการเกิดประกายไฟ

การเกิดไฟฟ้าสถิต

การที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงดึงดูดเมื่อวัตถุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุต่างชนิดกันหรือเกิดแรงผลักกัน  เมื่อวัสดุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุชนิดเดียวกันเราสามารถสร้างไฟฟ้าสถิตโดยการนำผิวสัมผัสของวัสดุ 2 ชิ้นมาขัดสีกัน  พลังงานที่เกิดจากการขัดสีกันทำให้ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุจะเกิดการแลกเปลี่ยนกัน  โดยจะเกิดกับวัสดุประเภทที่ไม่นำไฟฟ้าหรือที่เรียกว่าฉนวน มีการเข้าใจกันว่าไฟฟ้าสถิตมักจะเกิดในฤดูหนาว แต่ที่จริงแล้วไฟฟ้าสถิตเกิดได้ตลอดทั้งปีในอาคารที่ใช้แอร์หรือพื้นที่ที่มีอากาศแห้ง ซึ่งโดยส่วนใหญ่ในช่วงของฤดูใบไม้ผลิไปจนถึงฤดูหนาว จะมีอากาศแห้งทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตได้ง่ายจึงทำให้เราเห็นได้บ่อย และส่งผลให้เกิดปัญหามากมายในโรงงานผลิต เช่น เป็นสาเหตุให้เกิดการระเบิดเนื่องจากการปลดปล่อยประจุ มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ หรือว่าเป็นสาเหตุทำให้ฝุ่นหรือขยะมาจับเกาะภายในแผงวงจรต่างๆ

            ไฟฟ้าสถิตมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ในกระบวนการผลิตอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิคส์นั้น มีทั้งปัญหาที่เกิดจากไฟฟ้าสถิต และกระบวนการที่นำไฟฟ้าสถิตมาใช้ สำหรับโรงงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แล้ว ไฟฟ้าสถิตถือเป็นสิ่งที่ทำให้อุปกรณ์ต่างๆเสียหายและส่งผลให้อัตราการผลิตแย่ลง ในโรงงานผลิตจอภาพผลึกเหลวหรือที่เราเรียกกันว่าจอ LCD ในตอนที่ลอกฟิล์มออกจะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต มีฝุ่นมาเกาะ และทำให้กลายเป็นของเสีย ไฟฟ้าสถิตยังเป็นสาเหตุที่ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ เช่น คอมพิวเตอร์ ทำงานผิดพลาดหรือชำรุดเสียหายได้ อีกทั้งการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าของไฟฟ้าสถิตก็ยังเป็นสาเหตุให้เกิดระเบิดได้อีกด้วย
            กระบวนการที่นำไฟฟ้าสถิตมาใช้ประโยชน์ก็ ได้แก่ เทคนิคการพ่นสีแบบไฟฟ้าสถิต ไม่ว่าจะเป็นเครื่องถ่ายเอกสาร หรือรถยนต์ การทำให้ก๊าซไฮโดรเจนและน้ำมันเบนซินติดไฟได้โดยไม่ต้องจุดไฟ เครื่องดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้า เป็นต้น ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าไฟฟ้าสถิตก็มีทั้งข้อดีละข้อเสีย ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้ประโยชน์อย่างไร

การป้องกันไฟฟ้าสถิต

ในความเป็นจริงแล้วคนเราไม่สามารถมองเห็นประจุไฟฟ้าบวกและลบได้ด้วยตาเปล่า สิ่งสำคัญในการป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าสถิตเกิดขึ้นในตัวเรา คือ การไม่สัมผัสกับวัตถุที่เกิดประจุไฟฟ้า ไม่สะสมไฟฟ้าสถิตเอาไว้ ปัจจุบันในโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ มีการใส่สายรัดข้อมือ (wrist strap) สวมใส่เสื้อและรองเท้าต้านไฟฟ้าสถิต เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดประจุไฟฟ้าในร่างกาย ซึ่งความดันไฟฟ้าที่เกิดจากประจุไฟฟ้าตอนเดินเมื่อใส่เสื้อและรองเท้าต้านไฟฟ้าสถิตจะต่ำกว่าตอนเดินใส่เสื้อเชิ้ตและกางเกงขาสั้น ถ้ามีการใช้พื้นป้องกันการเกิดประจุไฟฟ้า เพิ่มเติมจากการใช้เสื้อและรองเท้า

ต้านไฟฟ้าสถิตแล้วก็จะทำให้มีประสิทธิผลดียิ่งขึ้น จะเกิดไฟฟ้าสถิตที่แผ่นฉนวนไฟฟ้าอคริลิคตอนที่ลอกแผ่นออก หรือตอนยกกล่องโลหะที่วางไว้บนแผ่นอคริลิคขึ้นมา ไฟฟ้าสถิตที่เกิดบนแผ่นอะคริลิคจะลดลงและกำจัดออกไปตามเวลา ถ้าความชื้นสัมพัทธ์สูง การต้านการรั่วไหลของประจุไฟฟ้าจะเล็กลง ทำให้เวลาในการกำจัดไฟฟ้าสถิตที่เกิดจากประจุไฟฟ้าของแผ่นอคริลิคสั้นลง ถ้าใช้สารลดแรงตึงผิวก็จะได้ผลเช่นกัน

การดูแลรักษาเครื่องมือ

1.จัดเก็บเครื่องมือไม่ให้อยู่ในที่ร้อนหรือชื้นเกินไป

2.หมั่นทำความสะอาดเครื่องมืออยู่เสมอไม่เก็บเครื่องมือไว้ในที่ที่มีฝุ่น

3.ตรวจเช็คสภาพเครื่องมือทุกครั้งทั้งก่อนและหลังจากใช้งานเสร็จ

4.ส่งสอบเทียบอย่างน้อย 1ปี/ครั้ง เพื่อให้มั่นใจว่าเครื่องมืออ่านค่าได้แม่นยำ

การควบคุมไฟฟ้าสถิต มีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้

1.ลดหรือขจัดเหตุในการเกิดไฟฟ้าสถิต มีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา เช่น 

  • พื้น / วัสดุปูพื้น
  •  ความชื้นของอากาศในห้อง
  • เก้าอี้
  •  รองเท้า 
  • ชุดที่สวมใส่
  • วิธีทำความสะอาด 

2.สลายไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้น 

วิธีการนี้คือการต่อสายดิน (Grounding) เป็นการถ่ายเทประจุไฟฟ้าที่เกิดขึ้นให้มีศักดิ์เป็นศูนย์ (0) เท่ากับพื้นดิน เราสามารถหลีกเลี่ยงปัญหาเรื่องไฟฟ้าสถิตได้โดยการให้พนักงานในสายการผลิตใช้ สายรัดข้อมือ (Wrist Strap) การใช้กระเบื้องยางปูพื้นชนิด Static Dissipative PVC หรือ Static Conductive PVC เป็นการป้องกันอีกวิธีหนึ่งที่ทำกันมาก

            ทั้งนี้ทาง บริษัทแคลิเบรชั่นแลบอราทอรี จำกัด  ของเรายังสามารถสอบเทียบเครื่องมือวัดไฟฟ้าสถิต และได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025:2017 (ANAB) อีกด้วยนะคะ หากลูกค้าท่านใดสนใจส่งเครื่องมือตรวจเช็คค่าสาใรถติดต่อได้ทุกช่องทางเลยนะคะ 

ผู้เขียน Katai

สอบเทียบเครื่องมือ Electrical

 2 เรื่องมักทำพลาด ในการใช้งาน Multimeter


ขอใบเสนอราคา   ติดต่อเรา 

พูดคุยกับเรา