เปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้กลายเป็นตัวเลขด้วยเครื่องมือวัด แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter)

Clamp Meter สอบเทียบเครื่องมือวัด

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ Clamp Meter แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter) เป็นเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าชนิดหนึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการวัดค่ากระแสไฟฟ้า ( I ) (Current Measurement) ที่ไหลในวงจรโดยที่ไม่ต้องดับไฟและไม่ต้องตัดต่อสายไฟ เพื่อวัดค่ากระแส โดย Clamp Meter นี้จะมีส่วนที่คล้ายขากรรไกร เพื่อคล้องกับสายไฟและสามารถอ่านค่าได้ทันที ข้อดีของการใช้งาน Clamp Meter คือสามารถวัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรได้โดยไม่ต้องหยุดการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า แต่อย่างไรก็ตาม Clamp Meter ที่ผ่านการใช้งานมานาน อาจพบปัญหาการบอกค่าที่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการใช้งาน ดังนั้นผู้ใช้งานควรนำ Clamp Meter เข้ารับการสอบเทียบเครื่องมือวัด หรือที่เรียกว่า Calibrate (แคลิเบรท) ที่ได้มาตรฐาน ทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี (ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ) เพื่อให้ Clamp Meter อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน และสามารถบอกค่าต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

หลักการทำงานของ แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter)

            Clamp Meter เป็นเครื่องมือวัดที่ใช้หลักการของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อมีกระแสไหลผ่านตัวนำไฟฟ้า จะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้น โดยที่ภายในขากรรไกรของตัว Clamp Meter จะมีแกนเหล็กวงกลมและขดลวดเพื่อรับสนามแม่เหล็กและเหนี่ยวนำให้เกิดกระแสและส่งไปที่วงจรเพื่อประมวลผลและแสดงค่าที่หน้าจอต่อไป

แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter) มีความสามารถวัดได้ทั้ง ไฟฟ้ากระแสตรง (DC) และกระแสสลับ (AC) โดยในบางครั้งสัญญาณที่วัดอาจมีความถี่ปะปนอยู่ ในการวัดกระแสสลับต้องมีการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นกระแสตรงโดยใช้ สมการ RMS (Root mean square) ซึ่งใน Clamp meter จะมีวงจรเรียงกระแสอยู่ซึ่งจะใช้ได้ 2 วิธี คือ True RMS Method และ Mean Method ซึ่ง Clamp Meter ที่เป็นลักษณะ TRUE RMS จะให้ค่าที่แม่นยำกว่า Mean Method เพราะ TRUE RMS สามารถอ่านค่าได้ทุกย่านแรงดัน แล้วนำค่าเข้าสมการRMS เพื่ออ่านค่าแตกต่างจาก Clamp Meter ที่เป็นประเภท Mean จะวัดได้เพียงแรงดันแบบ Pure Sine เท่านั้น

 

ประเภทการใช้งานของ แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter)

Clamp Meter ถูกออกแบบให้มีลักษณะเฉพาะและเงื่อนไขการทำงานที่แตกต่างกัน หากใช้งานเกินขีดจำกัด หรือ แตกต่างจากคุณสมบัติเฉพาะของ Clamp Meter อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ซึ่ง แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter) สามารถแบ่งลักษณะของการวัดได้ 4 กลุ่มหลัก เรียกว่า CAT (Measurement Category) ดังนี้

  • CAT I: การวัดแรงดันไฟฟ้าในวงจรที่ผ่านการป้องกันแล้ว เช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าพลังงานต่ำ เป็นต้น
  • CAT II: การวัดไฟกับอุปกรณ์ที่ต่อผ่านจุดแยกไฟในอาคาร เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน,เครื่องใช้ไฟฟ้าแบบใช้สายถอดได้ เป็นต้น
  • CAT III: การวัดไฟฟ้าในอุปกรณ์ที่ติดตั้งโดยการต่อสายไฟโดยตรงกับระบบ เช่น เบรกเกอร์,แผงควบคุมไฟฟ้า เป็นต้น
  • CAT IV: การวัดไฟฟ้าที่จุดแยกไฟเข้าระบบหรืออาคาร เป็นจุดที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันหลัก เช่น ด้านหลังของหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นต้น

และด้วยเงื่อนไขการทำงานและลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันทำให้ผู้ใช้งานควรนำ Clamp Meter เข้ารับการสอบเทียบเครื่องมือวัด หรือ Calibrate (แคลิเบรท) กับห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องมือวัดที่ได้มาตรฐาน ทุกๆ 6 เดือนหรือ 1 ปี ตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ

 

ประเภทของ แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter) มีอะไรบ้าง

ประเภทของ Clamp meter มีให้เลือกหลากหลาย โดยหลักแล้วให้ยึดกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน โดยจะมี 6 ประเภทด้วยกัน

  • แคลมป์มิเตอร์แบบเข็ม (Analog AC Clamp Meter)
  • แคลมป์มิเตอร์แบบดิจิตอล (Digital AC Clamp Meter)
  • แคลมป์มิเตอร์ AC/DC แบบดิจิตอล (Digital AC/DC Clamp Meter)
  • แคลมป์มิเตอร์ AC/DC แบบ RMS (Digital AC/DC Clamp Meter RMS)
  • แคลมป์มิเตอร์วัดค่ากระแสไฟรั่วไหล (Leakage Current Clamp meter)
  • แคลมป์มิเตอร์วัดกำลังไฟฟ้า (AC Power Clamp Meter)

 

Clamp Meter สอบเทียบเครื่องมือวัด

 

            ทาง แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (Calibration Laboratory – CLC) สามารถสอบเทียบเครื่องมือวัดอะไรให้กับลูกค้าได้บ้าง

  1. ฟังก์ชั่น AC Voltage Rang 0-1000 V
  2. ฟังก์ชั่น DC Voltage Rang 0-1000 V
  3. ฟังก์ชั่น AC Current 10A-550A
  4. ฟังก์ชั่น DC Current 10A-550A
  5. ฟังก์ชั่น Resistance 1 Ω -330 MΩ **ได้รับการรับรองจาก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และได้รับการรับรองจากANSI National Accreditation Board (ANAB) **

***กรณีต้องการให้ Onsite สามารถให้การรับรองจาก ANSI National Accreditation Board(ANAB) ได้***

ต้องการส่ง แคลมป์มิเตอร์ (Clamp Meter) มาสอบเทียบเครื่องมือวัดกับทางแคลิเบรชั่น แลบอราทอรี ต้องทำอย่างไร

  1. ตรวจเช็คปริมาณของแบตเตอรี่ หรือส่งสายชาร์จมาพร้อมกับเครื่องมือ
  2. ตรวจเช็คปุ่มกดของเครื่องมือว่าอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์หรือไม่
  3. ควรห่อเครื่องมือด้วยอุปกรณ์กันกระแทก หรือนำเครื่องมือเก็บในกระเป๋าของเครื่องมือ เพื่อไม่ให้เครื่องมือได้รับความเสียหาย

 

 

 

ผู้เขียน Leader ลูกคิด

 

สอบเทียบเครื่องมือ Electrical


ขอใบเสนอราคา   ติดต่อเรา 

พูดคุยกับเรา