รู้ก่อนใช้! เครื่องวัดความหนาผิวเคลือบทำงานอย่างไร

COATING THICKNESS GAUGE (เครื่องวัดความหนาของสีหรือผิวเคลือบ)

วันนี้ผู้เขียนมีตัวอย่างการใช้เครื่อง Coating thickness gauge (เครื่องมือวัดความหนาผิวเคลือบ) ที่มักจะสับสนจนถูกใช้งานไม่ถูกวิธีมาฝากกันครับ และอย่าลืมว่าเครื่องมือวัดทุกชนิดจำเป็นต้องมีการ สอบเทียบเครื่องมือวัด เพื่อความแม่นยำของค่าการวัดในการใช้งานด้วยครับ

 

Coating Thickness Gauge คือ เครื่องมือใช้ตรวจวัดค่าความหนาของผิวเคลือบสีที่อยู่บนโลหะ (Ferrous) เช่น สี, พลาสติก, สังกะสี หรืออโลหะ (Non Ferrous)  เช่น อลูมิเนียม, ทองแดง ที่เคลือบด้วยสารไม่นำไฟฟ้า ใช้เพื่อตรวจสอบคุณภาพการเคลือบของงาน เช่น การพ่นสี, แลคเกอร์, สังกะสี, โครเมียม, พลาสติก ชุบโลหะ,  การเคลือบกันสนิม หรือชั้นฟิล์มต่างๆ เป็นต้น Coating Thickness Gauge

บ่อยครั้งที่พบว่ายังมีคนใช้งานจำนวนไม่น้อยที่ใช้เครื่องมือวัดชนิดนี้ไม่ถูกต้องสักเท่าไหร่และก็เข้าใจผิดคิดว่าเจ้าเครื่องนี้เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาก็สามารถนำ Probe ไปแตะบนผิวเคลือบหรือสีที่อยู่บนโลหะและทำการอ่านค่าที่หน้าจอแสดงผลและบันทึกผลการวัดได้เลยแต่หารู้ไม่ว่า..การกระทำเช่นนั้นเป็นการใช้เครื่องอย่างไม่ถูกต้องโดยไม่สมกับราคาค่าตัวของเอาซะเลย (ราคาหลักหลายหมื่น) นอกจากนี้ยังทำให้การวัดค่าครั้งนั้นคลาดเคลื่อนเป็นอย่างมากกกกกอีกด้วย

การใช้งานเครื่องวัดความหนาผิวเคลือบให้ถูกวิธี

เรามาดูกันครับว่าการใช้งาน เครื่องมือวัดความหนาผิวเคลือบให้ถูกวิธีนั้นควรทำอย่างไร

การใช้งานเครื่องวัดนี้ทางผู้เขียนขออธิบายพอสังเขปแล้วกันนะครับเพราะแต่ละ Brand Model นั้นมีการใช้งานที่แตกต่างกันอยู่บ้างขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละรุ่นแต่โดยรวมแล้วหลักการไม่หนีกันสักเท่าไหร่ครับ

  • หลังจากเปิดเครื่อง Coating Thickness Gauge ให้ทำการ Set Zero โดยการนำ Probe กดลงบน Zero Plate ซึ่งจะมีทั้งแบบ โลหะ (Ferrous) และ อโลหะ (Non-Ferrous) จากนั้นทำการบันทึกค่า Zero เพื่อให้เครื่อง Coating Thickness Gauge ทราบค่าและจดจำค่า Zero
  • นำ Standard Foil มาวางบน Zero Plate นำ Probe กดลงบน Standard Foil จากนั้นทำการ Set ค่าของ Standard Foil และทำการบันทึกค่า Standard Foil เพื่อให้เครื่อง Coating Thickness Gauge ทราบค่าและจดจำค่าของ Standard Foil
  • นำ Coating Thickness Gauge ไปทำการวัดความหนาของสีหรือผิวเคลือบของชิ้นงาน

การใช้งานเครื่องมือวัดความหนาผิวเคลือบ สอบเทียบเครื่องมือวัด

การเลือกใช้ Coating thickness gauge จะต้องทราบอะไรบ้าง

1. ความหนาของสีหรือผิวเคลือบของชิ้นงานที่ต้องการวัด

ความหนาของสีหรือผิวเคลือบมีตั้งแต่ 20 ไมโครเมตร(µm) ไปจนถึง 10,000 ไมโครเมตร (µm)โดยทั่วไปแล้วความหนาของผิวเคลือบมักไม่เกิน 2,000 ไมโครเมตร µm) การทราบค่าความหนาที่ต้องการวัดเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากต้องใช้ Standard Foil ที่เหมาะสมในการตั้งค่าเครื่อง Coating Thickness Gauge

การเลือกใช้ Standard foil แต่ละขนาด ในการ Memory ในแต่ละครั้งให้ผู้ใช้งานคำนึงถึงความหนาผิวเคลือบหรือสีที่อยู่บน โลหะ(Ferrous) หรืออโลหะ (Non Ferrous) ของตัวชิ้นงานที่เราต้องการวัดเป็นสำคัญ โดยต้องเหมาะกับประเภทวัสดุ ต้องให้มีความใกล้เคียงกับความหนาจริงของชั้นเคลือบ เพราะเครื่องมือจะมีค่า Accuracy ที่ดีแค่ช่วง Range แคบๆ เช่นถ้าต้องการวัดความหนาผิวเคลือบที่ Spec ประมาณ 500 ไมโครเมตร(µm) ผู้ใช้งานต้องเลือก Standard Foil ที่มีความหนาใกล้เคียงกับชิ้นงานที่จะวัดให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เนื่องจาก Standard Foil มีหลายความหนา (เช่น 50 μm, 100 μm, 200 μm) บวกลบไม่ควรเกิน 50-100 ไมโครเมตร จึงจะทำให้ค่าที่วัดออกมากถูกต้องมากที่สุด

Standard foil สำคัญอย่างไร ?

หลังจากเก็บค่าศูนย์แล้วสิ่งที่ทุกคนควรต้องมีคือ Standard foil หรือ Calibration Foil ตามแต่จะเรียก (ต้องหมั่นส่งสอบเทียบเป็นประจำนะครับ) นำ Standard Foil ไปวางบน Zero plate (Ferrous, Non Ferrous) แล้วใช้ Probe แตะไปบน Standard foil เพื่อทำการ Memory ให้เครื่องมือจำค่าของ Standard foil ที่เราวางไปบน Zero plate (ตามคู่มือแต่ละรุ่น) ตามตัวอย่างรูปที่ 3

จำค่าของ Standard foil ที่เราวางไปบน Zero plate เครื่องมือวัดความหนาผิวเคลือบ สอบเทียบเครื่องมือวัด

รูปที่ 3

2. ลักษณะของงานว่าเป็นแบบไหน

Coating Thickness Gauge จะมี 2 แบบ คือ

  • แบบที่เป็นสาย Probe แยกออกมาจากตัวเครื่อง โดยแบบนี้เหมาะกับงานที่เป็นจุดที่แคบๆ Probe จะมีให้เลือกค่อนข้างหลายแบบ เช่น แบบเป็นแท่งตรงๆธรรมดา หรือแบบคล้ายๆ ปากกา
    Coating Thickness Gauge
  • แบบ Probe ติดอยู่กับตัวเครื่อง จะสะดวกต่อการใช้งานและพกพาง่ายคล้ายๆ แต่มีข้อจำกัด เพราะถ้าเจองานที่มีลักษณะเป็นช่องแคบๆก็ทำการวัดลำบาก หรือไม่สามารถวัดได้เลย

3. งานที่ต้องการวัดเป็นโลหะ (Ferrous) หรือ อโลหะ (Non-Ferrous) 

  • โลหะ (Ferrous) คือ เหล็ก สังกะสี หรือ สังเกตง่ายๆ แม่เหล็กจะสามารถดูดได้
  • อโลหะ (Non-Ferrous) คือ อลูมิเนียม ทองแดง สังเกตง่ายๆ แม่เหล็กจะไม่สามารถดูดได้

Coating thickness gauge บางรุ่นสามารถวัดได้ทั้ง โลหะ (Ferrous) และ อโลหะ (Non-Ferrous) ใน Probe หรือเครื่องเดียวกัน

การดูแลบำรุงรักษา Coating thickness gauge

  • ก่อนและหลังการใช้งานควรทำความสะอาด Probe, Zero Plate, Standard Foil
  • ควรทำความสะอาดผิวของชิ้นงานก่อนทำการวัด
  • หากไม่ได้ใช้เครื่องมือเป็นระยะเวลานาน ควรถอด Battery ออกเพื่อป้องกัน Battery เสื่อมสภาพ
  • ระมัดระวังการใช้งานและการเก็บแผ่น Standard Foil ที่มีความบาง เพราะอาจทำให้ Standard Foil ยับหรือขาด
  • ควรสอบเทียบ Standard Foil ว่าความหนายังอยู่ในเกณฑ์หรือไม่
  • ควรสอบเทียบ Coating Thickness Gauge ว่ายังสามารถอ่านค่าได้ถูกต้องหรือไม่

สำหรับการ สอบเทียบเครื่องมือวัด บริษัท Calibration Laboratory เรามีให้บริการสอบเทียบเครื่องวัดความหนาผิวเคลือบ และ Standard foil (Calibration Foil) ด้วยครับ สนใจสอบถามราคา คลิกเลย –> บริการสอบเทียบด้านมิติ

 

ผู้เขียน Chok_AM, SMT

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

บริการสอบเทียบด้านมิติ