STANDARD WEIGHT – ตุ้มน้ำหนัก ทั้ง 7 Class สำคัญต่างกันอย่างไร

 ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน (STANDARD  WEIGHT)

ในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็น ในส่วนของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โรงงานยา  โรงงานอาหาร  หรือโรงงานอื่นๆ ส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่มีการใช้งานเครื่องมือวัดต่างๆมากมาย  เครื่องชั่งก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่จำเป็นและมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ก็เพื่อให้แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกมามีน้ำหนักที่ได้มาตรฐาน  เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการตรวจวัดเครื่องชั่งให้ตรงตามมาตรฐาน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง อย่างที่ทุกท่านทราบกันดีอยู่แล้วว่า การที่เราจะตรวจสอบว่าเครื่องชั่งที่เราใช้งานกันอยู่ มีค่า error มากหรือน้อยเท่าไรนั้น จะต้องใช้ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน (STANDARD  WEIGHT) เป็นตัววัดค่าของเครื่องชั่งนั้นๆพร้อมทั้งมีการ สอบเทียบเครื่องมือวัด อีกทีนะคะ ดังนั้นวันนี้ เราจะมาดูกันว่าตุ้มน้ำหนักแบบไหน เหมาะกับเครื่องชั่งแบบไหน และจะเลือกใช้  Standard  แบบไหน น้ำหนักเท่าไรกันบ้างไปดูกันเลยค่ะ

ตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน (STANDARD  WEIGHT)

ตุ้มน้ำหนัก คือ มวลที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อใช้อ้างอิง วัสดุที่ใช้ผลิตตุ้มน้ำหนักก็มีหลายชนิดไม่ว่าจะเป็น

เหล็กไร้สนิม (Stainless Steel)ปลอดสารแม่เหล็ก
เหล็กหล่อ (Cast Iron)

ทองเหลือง (Brass)

อะลูมิเนียม (Aluminum)

มาตรฐานของตุ้มน้ำหนักที่ใช้โดยทั่วไป

1. OIML International Organization of Legal Metrology ระดับชั้น E1…M3
ใช้กับตุ้มน้ำหนักที่มีพิกัดน้ำหนัก 1 mg ถึง 50 kg
2. ASTM American Society for Testing and materials ระดับชั้น 1…6

ใช้กับตุ้มน้ำหนักที่มีพิกัดน้ำหนัก 1mg ถึง 5,000 kg
3. NBS National Bureau of Standards ระดับชั้น   J.. . T

ใช้กับตุ้มน้ำหนักที่มีพิกัดน้ำหนัก 50 mg ถึง 1,000 kg

และในวันนี้เราจะมาพูดถึงการสอบเทียบตามมาตรฐาน OIML ซึ่งเป็นมาตรฐานที่บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด ของเราใช้ในการสอบเทียบและออก Certificate ให้กับลูกค้ากันค่ะ ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนค่ะว่า Standard Weight ตามมาตรฐาน OIML แบ่งออกเป็นกี่ Class และใช้เกณฑ์การตัดสินอย่างไร

ตามมาตรฐาน OIML R111-1 จะทำการแบ่ง Class ของตุ้มน้ำนักตามค่าความผิดพลาดสูงสุดที่ยอมรับได้ (Maximum permissible errors: MPE) ของค่าน้ำหนักมวล (Nominal conventional mass values) นอกจากนี้แล้วยังขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้ด้วย ความหนาแน่นของวัสดุ ความต้านทานการกัดกร่อน ความแข็ง ความต้านทานการสึกหรอ ความเปราะ ความเป็นแม่เหล็ก  โครงร่างรูปทรง และความเรียบผิว เป็นต้น

ตารางแสดงค่า Maximum permissible error for weights (± mg)

จากตารางเราจะเห็นได้ว่า Standard Weight จะมีขนาดเฉพาะไม่ได้ผลิตขึ้นมาทุกขนาด ยกตัวอย่างเช่นขนาด 3,6,7,9 g จะไม่มีในตาราง เรามาดูการอ่านค่าหรือการกำหนด Class จากตารางกันค่ะ ยกตัวอย่างเช่น ตุ้มน้ำหนัก Class F1 ขนาด  1 kg จะมีค่า  MPE อยู่ที่ 5 mg ในขณะที่ ตุ้มน้ำหนัก Class F2 ขนาด  1 kg จะมีค่า MPE อยู่ที่ 16 mg

 

ความสำคัญของตุ้มน้ำหนักแต่ละ Class สามารถจำแนกได้ดังนี้ค่ะ

  1. Class E1 เป็นตุ้มน้ำหนักที่มีระดับความถูกต้องสูงสุด ใช้สำหรับการตรวจสอบตุ้มน้ำหนักมาตรฐานระดับประเทศ และตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน OIML class E2 (หรือต่ำกว่า) ค่า MPE ที่ 1 kg  5 mg
  2. Class E2 เหมาะสำหรับใช้ตรวจสอบตุ้มน้ำหนัก F1 (หรือต่ำกว่า) และใช้สำหรับตรวจสอบเครื่องชั่งที่มีระดับความถูกต้อง class I ตามมาตรฐาน OIML ค่า MPE ที่ 1 kg = 6 mg
  3. Class F1 เหมาะสำหรับการตรวจสอบตุ้มน้ำหนัก OIML ระดับ F2 (หรือต่ำกว่า) และใช้สำหรับตรวจสอบเครื่องชั่งที่มีระดับความถูกต้อง class I ตามมาตรฐาน OIML ค่า MPE ที่ 1 kg = 5 mg
  4. Class F2 เหมาะสำหรับใช้ตรวจสอบตุ้ม OIML M1 หรือต่ำกว่า และใช้ตรวจสอบเครื่องชั่งที่มีระดับความถูกต้อง class II (เครื่องชั่งสำหรับซื้อขายเชิงพาณิชย์ เช่นเครื่องชั่งทองและอัญมณี) ค่า MPE ที่ 1 kg = 16 mg
  5. Class M1 เหมาะสำหรับการใช้ตรวจสอบตุ้มน้ำหนัก OIML M2 หรือต่ำกว่า และตรวจสอบเครื่องชั่ง class II ค่า MPE ที่ 1 kg = 50 mg
  6. Class M2 เหมาะสำหรับใช้ตรวจสอบตุ้ม OIML M3 และตรวจสอบเครื่องชั่งที่มีระดับความถูกต้อง class III (เครื่องชั่งทั่วไป หรือสำหรับการชั่งซื้อขายสินค้าที่มีน้ำหนักมาก) ค่า MPE ที่ 1 kg = 160 mg
  7. Class M3 เหมาะสำหรับการตรวจสอบเครื่องชั่ง class IIII หรือ class III หรือ เครื่องชั่งซึ่งยอมรับความผิดพลาดสูงสุด ที่ 1 kg = 500 mg

 

ดังนั้นหากลูกค้าต้องการส่ง ตุ้มน้ำหนัก มาตรฐานสอบเทียบ แต่ไม่รู้จะระบุค่า Error อย่างไร ลูกค้าสามารถระบุตามค่าที่กำหนดในตารางได้เลยค่ะ และหากลูกค้าต้องการนำตุ้มน้ำหนักมาตรฐานไปใช้ในการเช็คค่าของเครื่องชั่งที่มีการใช้งานอยู่นั้นก่อนการเลือกใช้ตุ้มน้ำหนัก จะต้องคำนึงถึงค่า Maximum permissible error (MPE)ของตุ้มน้ำหนักแต่ละ Class ด้วยนะคะ

สุดท้ายนี้เราจะมาดูกันว่า บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด ของเราสามารถสอบเทียบตุ้มน้ำหนักได้ที่ Class ไหน และมีค่า ขีดความสามารถของการสอบเทียบและการวัด (CMC)  เท่าไรกันบ้างไปดูกันค่ะ

ตุ้มน้ำหนักที่สอบเทียบ โดยได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025:2017 จากทั้ง สมอ และ ANAB

 

 

รายการสอบเทียบ ขีดความสามารถของการสอบเทียบและการวัด รายการสอบเทียบ ขีดความสามารถของการสอบเทียบและการวัด
Conventional Mass สมอ Conventional Mass ANAB
CLASS F2 (CLASS F1,F2,M1,M2,M3)
1 mg 20 µg 1 mg 6 µg
2 mg 20 µg 2 mg 6 µg
5 mg 20 µg 5 mg 6 µg
10 mg 25 µg 10 mg 8 µg
20 mg 30 µg 20 mg 10 µg
50 mg 40 µg 50 mg 12 µg
100 mg 50 µg 100 mg 16 µg
200 mg 60 µg 200 mg 20 µg
500 mg 80 µg 500 mg 25 µg
1 g 0.10 mg 1 g 30 µg
2 g 0.12 mg 2 g 40 µg
5 g 0.16 mg 5 g 50 µg
10 g 0.20 mg 10 g 60 µg
20 g 0.25 mg 20 g 80 µg
50 g 0.30 mg 50 g 0.1 mg
100 g 0.50 mg 100 g 0.16 mg
200 g 1.0 mg 200 g 0.3 mg
500 g 2.5 mg 500 g 0.8 mg
CLASS M1 1 Kg 1.6 mg
1 Kg 16 mg 2 Kg 3 mg
2 Kg 30 mg 5 Kg 8 mg
5 Kg 80 mg 10 Kg 16 mg
10 Kg 0.16 g 20 Kg 30 mg
20 Kg 0.30 g
Conventional Mass Conventional Mass
1mg to 100 g 0.5 mg 1mg to 100 g 0.16 mg
>100 g to 200 g 1.0 mg (100 to 200) g 0.3 mg
>200 g to 500 g 2.5 mg (200 to 500) g 0.8 mg
>500 g to 1 kg 16 mg (500 to 1000) g 1.6 mg
>1 kg to 2 kg 30 mg (1000 to 2000) g 3 mg
>2 kg to 5 kg 80 mg (2 to 5) kg 8 mg
>5 kg to 10 kg 0.16 g (5 to 10) kg 16 mg
>10 kg to 20 kg 0.30 g (10 to 20) kg 30 mg

 

ทั้งนี้ทาง บริษัทแคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด ของเรายังมีตุ้มน้ำหนักขนาดต่างๆจำหน่ายและมีบริการ สอบเทียบเครื่องมือวัด อีกด้วยนะคะ หากลูกค้าท่านใดสนใจสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ทุกช่องทางการติดต่อเลยนะคะ

 

ผู้เขียน Katai

 

 

 

 

Class ของตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน และการดูแลรักษา

 

ซื้อเครื่องชั่ง ราคาพิเศษ คลิก     บริการสอบเทียบด้านมวลและเครื่องชั่ง

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา