Torque Wrench Checker เครื่องมือวัดค่าอะไร รุ่น TTC-60 ดีอย่างไร

เพื่อนๆ รู้จัก Torque Wrench Checker กันหรือไม่คะ ว่าเครื่องมือวัดชนิดนี้คืออะไร แล้ว Torque Wrench Checker ทำงานยังไง สามารถนำไปใช้กับอะไรได้บ้าง Calibration Laboratory (CLC) จะมาพูดถึงตัว Torque Wrench Checker กันสักรุ่นหนึ่งให้รู้จักกันเบื้องต้นนะคะ และสำหรับเครื่องมือที่เราจะพูดถึงวันนี้คือ TORQUE WRENCH CHECKER, TTC-SERIES  จากยี่ห้อTONE รุ่น TTC-60 ค่ะ

รูป Torque Wrench Checker รุ่น TTC-60

เครื่องตรวจสอบค่าแรงบิด (Torque Wrench Checker) เป็นเครื่องมือวัดที่มีความสำคัญมากสำหรับโรงงานที่ผลิตหรือประกอบชิ้นงานต่างๆ ที่มีการใช้ประแจปอนด์(ประแจทอร์ค) Torque Wrench ในการทำงานค่ะ ในท้องตลาดโดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องมือวัด Torque Wrench Checker  ที่ได้ยินกันคุ้นหู ได้แก่ ยี่ห้อ TONE, TOHNICHI, CEDAR, HIOS, SUNDO, NEXTECH  เป็นต้น ซึ่งเราจะมาพูดถึงการใช้งาน Torque Wrench Checker TTC-Series ยี่ห้อ TONE รุ่น TTC-60 กันค่ะ

Torque Wrench Checker TTC-Series ยี่ห้อ TONE รุ่น TTC-60 นี้มีช่วงการใช้งานเริ่มที่ 2 – 60 N.m ค่ะ สามารถขันใช้งานได้ในทิศทางตามเข็มนาฬิกาเท่านั้น (CW) มีค่า Accuracy ± 1%RD  ซึ่งเหมาะสมที่จะนำมาเช็คค่า ประแจปอนด์ Torque Wrench เป็นอย่างมากเพราะมีความแม่นยำสูงมากค่ะ  สำหรับการใช้งานคือใช้สำหรับเช็คค่า ประแจทอร์ค เบื้องต้นก่อนนำไปขันใช้งานในโรงงาน ว่าเครื่องมือยังอยู่ใน Spec  หรือไม่ หากตรวจสอบค่าแล้วพบว่าไม่อยู่ใน Spec แล้ว ควรส่งเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อทำการสอบเทียบเครื่องมือวัดทันที เพื่อปรับค่าให้อยู่ใน Spec หรือทำการส่งซ่อมกับผู้ผลิตค่ะ

Torque Wrench Checker TTC-Series ยี่ห้อ TONE รุ่น TTC-60 จะเหมาะกับการใช้งานกับ ประแจปอนด์ Torque Wrench ขนาดเล็กประเภท Manual ค่ะ ที่มีขนาดแรงบิดไม่มากนัก ยกตัวอย่างเช่น รุ่น TTC-60 นี้ก็จะเช็คได้ในช่วง 2 – 60 N.m เท่านั้น หากแรงบิดมากว่านั้นต้องใช้ในรุ่นที่มีขนาดสูงเท่านั้น หากแรงบิดมากว่านั้นต้องใช้ในรุ่นที่มีขนาดสูงขึ้น ซึ่งเราจะมาเล่าให้ฟังอีกในครั้งหน้าค่ะ

รูป Torque Wrench Checker รุ่น TTC-60 พร้อมอุปกรณ์

สำหรับวิธีการใช้งานนั้นมีขั้นตอนการใช้งานไม่ยุ่งยาก ใช้ง่ายแม้ว่าจะเป็นผู้หญิง เพราะออกแรงไม่มาก ใช้แรงค่อนข้างน้อย ไม่เหมือนเครื่องมือวัดที่เป็นรุ่นใหญ่จะใช้การออกแรงมาก โดยการใช้งานมีขั้นตอนไม่มากนัก ดังนี้ค่ะ

ขั้นตอนที่ 1 เริ่มต้นจากการนำเครื่องมือวัด เครื่องตรวจสอบค่าแรงบิด (Torque Wrench Checker) รุ่น TTC-60 นำมายึดด้วยน็อตทั้ง 4 มุม ดังรูปที่ 1 เพื่อไม่ให้เครื่องมือเคลื่อนที่ขณะขัน ซึ่งจะมีอุปกรณ์ที่มีมาให้ในกล่องดังนี้ค่ะ

Accessories

  • Adapter: concave 6.35 mm x 12.7 mm, convex concave 9.5 mm x convex 12.7 mm
  • Convex Hexagon adapter: convex 19 mm x 12.7 mm, convex convex 27 mm x 12.7 mm convex
  • AC adapter: 100 ~ 240 V, 50 – 60 Hz
  • Fixing bolt:M10×40 cap bolts, including washers, nuts, 4

ขั้นตอนที่ 2  การเลือกโหมด ซึ่ง มีให้เลือก 3 Mode ค่ะ ดังนี้

  • Track mode  คือ ให้ค่า Real Time ตามแรงที่ Apply
  • Peak mode   คือ สามารถตั้งค่าให้แสดงที่หน้าจอได้นาน 2-8 วินาที แล้วตัวเครื่องจะกลับมา Set zero เอง
  • Peak hold     คือ ตัวเครื่องจะแสดงค่าค้างไว้ที่หน้าจอ ถ้าจะ Apply แรงใหม่ต้องกด Set zero ทุกครั้ง

ขั้นตอนที่ 3  นำ Torque Wrench ที่ต้องการ Check ค่า ใส่กับ Adaptor ที่มากับเครื่อง ( ต้องแน่นพอดี ห้ามหลวม) พร้อมปรับค่าแรงที่ Torque Wrench ที่ต้องการเช็คค่ะ เช่น ต้องการเช็คที่ 10 m ก็ให้ปรับตั้งค่าไปที่ 10 N.m หรือตามที่ต้องการเช็คได้ตามใจเลยค่ะ แต่ต้องตั้งค่าไม่เกิน 60 N.m เพราะเครื่องมือรุ่นนี้สามารถเช็คได้แค่แรงเท่านี้ค่ะ

ขั้นตอนที่ 4  เสียบหัว Torque Wrench  เข้ากับตัวเครื่อง TTC-60  แล้วให้แรง ตามเข็มนาฬิกา เท่านั้นนะคะ (ห้ามทวนเข็มนาฬิกา) เพราะเครื่องอาจเสียหายได้ค่ะ

ขั้นตอนที่ 5  ทำการอ่านค่าที่หน้าจอแสดงผล ว่าค่าที่ตรวจสอบได้อยู่ในเกณฑ์การยอมรับ (MPE) ได้หรือไม่ โดยควรทำการตรวจสอบซ้ำ 2-3 ครั้งหรือมากกว่าค่ะ หากทำซ้ำแล้วค่าที่ตรวจสอบไม่มีการเปลี่ยนแปลง แสดงว่า Torque Wrench มีค่าจริง (DUC) ตามนั้น หากค่านั้นมีการ Out spec ควรส่งซ่อมเพื่อปรับตั้งค่าให้ตรง แล้วนำมาทวนสอบใหม่อีกครั้งค่ะ

ส่วนในเรื่องของข้อควรระวังในการใช้เครื่องมือวัด Torque Wrench Checker TTC-Series ยี่ห้อ TONE รุ่น TTC-60 นี้ จะเป็นเครื่องมือใช้สำหรับตรวจเช็คค่า ประแจทอร์ค Torque Wrench ที่เป็นประเภทแบบ Manual เท่านั้น   ห้ามนำ Torque ไฟฟ้า หรือ Toruqe ลม นำมาขันเช็คค่าเด็ดขาด เนื่องจากเครื่องมือ Torque Wrench Checker  ไม่มี Spring เพื่อรับแรงกระแทกในการใช้งาน และไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับ Torque ไฟฟ้า หรือ Toruqe ลมนะคะ  เพราะจะทำให้เครื่องมือ Torque Wrench Checker เสียหายได้ค่ะ ต้องระวังในส่วนนี้กันด้วยนะคะ

และสุดท้ายนี้ในเรื่องของการเก็บรักษานั้น

  • ไม่ควรเก็บในที่ชื้นหรืออากาศร้อนจนเกินไป เพราะอาจจะทำให้เครื่องมือเสื่อมสภาพได้ง่ายค่ะ
  • ควรมีกล่องเก็บอุปกรณ์ หรือตู้เก็บอุปกรณ์ในการจัดเก็บ
  • มีคู่มือการใช้งานให้ผู้ใช้งานได้อ่านศึกษาทำความเข้าใจก่อนใช้งาน เนื่องจาก Torque Wrench Checker เป็นเครื่องมือระดับ Standard  มีราคาค่อนข้างสูง จึงควรใช้งานให้ถูกต้องเพื่อป้องกันเครื่องมือเสียหายได้ค่ะ

ส่วนการส่งสอบเทียบเครื่องมือวัดประเภทนี้ ควรส่งสอบอย่างน้อยทุกๆ 1 ปี โดยส่งสอบเทียบกับห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับการรับรอง ACCREDIT ISO/IEC 17025:2017 เพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นว่าเครื่องมือ Torque Wrench Checker ยังอยู่ใน Spec

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น หวังว่าเพื่อนๆทุกคนจะเข้าใจการในการทำงานการใช้งานเครื่องมือวัดประเภท Torque Wrench Checker  และสามารถนำไปใช้ประโยชน์กันได้บ้างนะคะ  หรือหากสนใจ ซื้อเครื่องมือวัด Torque Wrench Checker รุ่น TTC-500 สามารถคลิกที่นี่ได้เลยค่ะ ครั้งหน้าจะมีรุ่นที่เป็นรุ่นของ เครื่องตรวจสอบค่าแรงบิด  รุ่น TTC-500 ที่มีช่วงการใช้งานขนาดกลางมาเล่าให้ฟังอีกนะคะ ฝากติดตามกันด้วยนะคะกับบทความต่อไป แล้วเจอกันอีกครั้งค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

 

 

 

ผู้เขียน Suphanun BDS

 

 

 

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา

  ซื้อเครื่องมือด้านแรงบิดและแรง   บริการสอบเทียบด้านแรงบิดและแรง

—————

VDO l รีวิวการทดลองใช้งาน l Torque Wrench Checker แบรนด์ TONE [รุ่น TTC-60]

VDO l รีวิววิธีการใช้ Torque Wrench [ แบรนด์ TONE ] l ใช้สำหรับชิ้นงานทั่วไปและ หัวประแจปากเลื่อน