คุณใช้งาน Infrared Thermometer ผิดวิธีหรือไม่ วิธีการใช้ที่ถูกต้องทำอย่างไร

วิธีการใช้ งาน Infrared Thermometer ที่ถูกต้องทำอย่างไร แล้วทำไมถึงต้องสอบเทียบเครื่องวัดอุณหภูมิ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องมือวัดที่เราใช้อยู่นั้นยังแสดงค่าที่ตรงอยู่? การสอบเทียบเครื่องมือวัดทำได้อย่างไร วันนี้มาทำความรู้จักกับเครื่องมือนี้กันครับ

เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด

เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด มีชื่อเรียกอื่นอีกหลายชื่อ อาทิเช่น IR Thermometer, Temp gun, ปืนวัดอุณหภูมิ, non contact infraredthermometer เป็นต้น โดยอินฟราเรดเทอร์โมมิเตอร์เป็นเครื่องมือวัดอุณหภูมิที่พื้นผิวของวัตถุซึ่งเป็นการวัดแบบไม่สัมผัสกับวัตถุ (Non-Contract) ในการวัดอุณหภูมิเราจะวัดจากรังสีอินฟาเรดที่แผ่ออกจากวัตถุ

ทำไมถึงต้องสอบเทียบเครื่องมือวัดอุณหภูมิ INFRARED ?
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดที่เราใช้อยู่นั้นยังแสดงค่าที่ตรงอยู่

การสอบเทียบ(Calibrate เครื่องมือวัด)นี่แหละ ที่จะบอกได้ว่าเครื่องมือนั้น ยังแสดงค่าที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ เพราะถ้าเครื่องมือแสดงค่าผิด อาจทำให้เราไม่สามารถรู้ค่าที่แท้จริงจากร่างกาย วัตถุหรือพื้นผิวที่เรายิงวัดอุณหภูมินั้นได้เลย เราจึงจำเป็นต้องส่งสอบเทียบเครื่องมือวัดอุณหภูมิ ทั้งนี้เพื่อบ่งชี้ว่าอุปกรณ์ที่ใช้วัดนั้นยังเที่ยงตรงอยู่ และค่าที่อ่านได้นั้นถูกต้องแม่นยำ

 

  1. เครื่องมือวัดอุณหภูมิ Infrared จะแสดงหน่วยวัดด้านอุณหภูมิโดยมีทั้งหน่วยองศาเซลเซียส (°C) และองศาฟาเรนไฮต์ (° F) ซึ่งเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด สามารถแบ่งตามการใช้งานและลักษณะพื้นผิวของวัตถุเป้าหมายได้ดังนี้
    เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดสำหรับการใช้งานภาคอุตสาหกรรม ใช้สำหรับตรวจสอบความร้อนของท่อไอเสีย, เตาหลอม, เตาอบ
  2.  เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดสำหรับการใช้งานทางการแพทย์ (โดยส่วนใหญ่อาจเรียกว่า เครื่องวัดไข้อินฟาเรด หรือ เครื่องวัดไข้ดิจิตอลแบบยิงหน้าผาก) ใช้สำหรับการตรวจสอบอุณหภูมิของร่ายกายตามส่วนต่างๆ เช่น หน้าผาก หู เป็นต้น

การใช้งานเครื่องมือวัดอุณหภูมิ INFRARED ที่ถูกวิธี

  1. สำหรับวิธีใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดในภาคอุตสาหกรรมและทางการแพทย์(หรือวัดไข้)นั้น มีวิธีการใช้งานไม่ต่างกัน คือ
    หัน Sensor ของ Non Contact Infrared Thermometer ไปยังจุดที่ต้องการจะวัดอุณหภูมิ
  2.  กดวัดอุณหภูมิ คล้ายการยิงปืน
  3. อ่านค่าอุณหภูมิที่ปรากฏบนหน้าจอได้ทันที
    ทั้งนี้การใช้งานที่ถูกต้องเราต้องยิงในระยะที่เครื่องมือกำหนดและเลือก ค่าสัมประสิทธิ์การแผ่รังสี (Emissivity) ให้ตรงกับพื้นผิวที่เราต้องการจะวัด เพื่อความถูกต้องแม่นยำในการอ่านค่า เพราะลักษณะพื้นผิวที่แตกต่างกันจะมีค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนรังสีของผิววัตถุต่างกัน ดังรูปการแสดงค่า Emissivity (E)

การใช้งานเครื่องมือวัด IR Thermometer ที่ผิดวิธี

การใช้งานที่ผิดวิธีที่พบบ่อยคือผู้ใช้งานมักไม่ได้เลือก/ตั้งค่า Emissivityให้ตรงกับลักษณะพื้นผิวที่ต้องการจะวัด ทำให้ค่าที่อ่านได้จะผิดเพี้ยนไปบ้างไม่ควรนำเครื่องวัดอุณหภูมิภาคอุตสาหกรรม มาใช้ในการวัดอุณหภูมิร่างกาย เนื่องจากมีวัตถุประสงค์การใช้งานที่แตกต่างกัน อาจทำให้การคัดกรองผู้ป่วย จากการวัดไข้หรือวัดอุณหภูมิร่างกาย เกิดความผิดพลาดได้ และเพื่อป้องกันความผิดพลาดในอีกด้านหนึ่งคือ ต้องนำเครื่องมือวัดอุณหภูมิส่งสอบเทียบเสมอ

ผู้เขียน JIB VIP

 

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา   

บริการสอบเทียบด้านอุณหภูมิและความชื้น