รู้หรือไม่? สิ่งเหล่านี้มีผลต่อการใช้และประสิทธิภาพของตู้บ่มเชื้อ (Incubator)??

ตู้บ่มเชื้อ – สิ่งที่อาจมีผลต่อการใช้งานพร้อมทั้งวิธีการ สอบเทียบ เครื่องมือวัด ประเภทตู้บ่มเชื้อหรือตู้บ่มเพาะเชื้อ (Incubator) เบื้องต้น วันนี้ Super Cal กันครับ

Incubator (ตู้บ่มเชื้อ ตู้บ่มเพาะเชื้อ)

ตู้บ่มเชื้อ MEMMERT IF30 ความจุ 32 ลิตร

ตู้บ่มเชื้อ MEMMERT IF30 ความจุ 32 ลิตร

ตู้บ่มเชื้อหรือตู้บ่มเพาะเชื้อ (Incubator) เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับบ่มเพาะเชื้อ เลี้ยงเชื้อ หรือการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่อุณหภูมิต่ำ เหมาะสำหรับห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ด้านชีววิทยาและจุลชีววิทยาและสำหรับการควบคุมในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานอาหาร โรงงานยา

คุณสมบัติของตัวตู้บ่มเชื้อจะมีแผงควบคุมการทำงานและแสดงอุณหภูมิอยู่ด้านหน้าของเครื่อง ส่วนใหญ่มีประตูชั้นในทำด้วยวัสดุใส สามารถมองเห็นภายในตู้ได้อย่างชัดเจนโดยไม่ต้องเปิดตู้ จึงไม่ทำให้อุณหภูมิภายในตู้เกิดการเปลี่ยนแปลง หน่วยวัดในการใช้งานของตู้บ่มเชื้อส่วนใหญ่แล้วจะเป็นหน่วย องศาเซลเซียส (ºC) ขีดความสามารถในการใช้งานอยู่ประมาณ 100 องศาเซลเซียส (ºC) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับรุ่นที่ทางผู้ผลิตทำการผลิตออกมาจำหน่าย มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ แบบ Pt100 ทำให้วัดค่าได้อย่างถูกต้องแม่นยำ การควบคุมอุณหภูมิส่วนใหญ่เป็นแบบดิจิตอล สามารถปรับอุณหภูมิได้ที่หน้าจอภายนอกตัวเครื่อง ตู้บ่มเชื้อส่วนใหญ่สามารถตั้งเวลาการทำงานได้ตั้งแต่ 1 นาที ถึง 99 วัน และมีพัดลมสำหรับหมุนเวียนอากาศภายใน จึงทำให้อุณหภูมิภายในตู้มีความสม่ำเสมอทั่วทั้งตู้

และหากเป็นเครื่องรุ่นใหม่ๆที่ผลิตออกมาจะมีระบบป้องกันเมื่ออุณหภูมิสูงเกินกว่าที่ตั้งค่าไว้ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่เกิดอันตรายหรือตัวอย่างเกิดความเสียหาย อีกทั้งภายในตู้ที่ทำจากแสตนเลส (Stainless Steel) จึงทำให้สามารถทำความสะอาดได้ง่ายอีกด้วย

ทำไมต้องสอบเทียบตู้บ่มเชื้อหรือตู้บ่มเพาะเชื้อ

1. การสอบเทียบเครื่องมือ Incubator ทำให้เราทราบค่าความคลาดเคลื่อน (Error) ของเครื่องมือที่ใช้งาน
2. เพื่อพิสูจน์ว่าเครื่องมือวัดนั้น มีความถูกต้องตามที่มาตรฐานกำหนด (Spec)
3. เพื่อให้ผลการวิเคราะห์จากกระบวนการต่างๆไม่คลาดเคลื่อน มีความน่าเชื่อถือ

การใช้งานตู้บ่มเชื้อหรือตู้บ่มเพาะเชื้อ (Incubator)ที่ถูกวิธี

ผู้ใช้งานควรอ่านคู่มือให้เข้าใจทั้งหมดก่อนการใช้งานเครื่องมือวัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับเครื่องมือ หรือ เกิดอันตรายกับตัวผู้ใช้งานเอง และหากต้องการทำสิ่งเหล่านี้ควรถอดปลั๊กไฟก่อนเสมอ

  1. เมื่อต้องทำการเปลี่ยนฟิวส์
  2. เมื่อ Incubator ทำงานผิดปกติหรือขณะทำการซ่อม
  3.  เมื่อไม่ได้มีการใช้งานเครื่องมือวัด เป็นระยะเวลานาน
  4.  เมื่อต้องทำการเคลื่อนย้ายตู้บ่มเชื้อหรือตู้บ่มเพาะเชื้อ

คุณรู้หรือไม่??

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ใช้งานควรต้องรู้เพราะอาจจะมีผลต่อการใช้เครื่องมือวัดหรือประสิทธิภาพของเครื่องมือวัดในระยะยาว คือ

1. ในกรณีเคลื่อนย้ายตู้บ่มเชื้อต้องไม่ให้เครื่องเอียงเกิน 45 องศา ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบทำความเย็นของเครื่อง

2. เมื่อเคลื่อนย้ายเครื่องบ่มเชื้อไปในพื้นที่ใช้งานเรียบร้อย ยังไม่ควรใช้งานเครื่องโดยทันที ควรวางเครื่องมือวัดไว้อย่างน้อย 1-2 วัน แล้วค่อยทำการใช้งานเครื่อง เพื่อให้ระบบทำความเย็น ปรับตัวสู่การทำงานปกติ

3. พื้นที่ใช้ติดตั้งหรือวางเครื่องมือวัดควรเป็นพื้นที่แข็งและเรียบ
4. ไม่ควรวางตู้บ่มเชื้อแนบติดกับอุปกรณ์อื่นหรือกำแพง ควรมีที่ว่างหรือระยะห่าง อย่างน้อย 30 เซนติเมตร เพื่อให้เครื่องได้มีพื้นที่ ในการระบายความร้อน
5. เครื่องมือวัดควรใช้งานในสภาวะแวดล้อม ตามที่กำหนดในคุณสมบัติเครื่องซึ่งทางผู้ผลิตเองจะระบุในคู่มือการใช้งานอยู่แล้ว
6. ไม่ควรเปิด – ปิด เครื่องมืออย่างรุนแรงเพราะอาจจะทำให้ประตูเสียหายได้

ข้อควรระวังในการใช้งานตู้บ่มเชื้อ

ในส่วนของความปลอดภัยในการใช้งาน ผู้ใช้งานจะต้องระวังเป็นอย่างยิ่งเพราะอาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อเครื่องมือวัด หรือเกิดการบาดเจ็บกับตัวผู้ใช้เครื่องมือได้

  1. 1. เครื่องมือวัดต้องมีการต่อลงกราวด์เสมอ
  2. ก่อนเสียบปลั๊กไฟควรตรวจสอบให้มั่นใจว่า แรงดันไฟฟ้า ตรงกับคุณสมบัติที่ต้องการของ Incubator หรือไม่
  3. ไม่ควรถอดปลั๊กไฟฟ้า ขณะที่เครื่องมือวัดยังเปิดใช้งานอยู่
  4. หากตู้บ่มเชื้อเกิดปัญหาการใช้งาน ไม่ควรซ่อมเครื่องด้วยตัวเอง การซ่อมควรทำโดยผู้ที่มีความรู้และมีความชำนาญเท่านั้น
  5.  เครื่องมือวัดควรใช้งานในสภาวะแวดล้อม ตามที่กำหนดในคุณสมบัติเครื่องซึ่งทางผู้ผลิตเองจะระบุในคู่มือการใช้งานอยู่แล้ว
  6. ไม่ควรเปิด – ปิด เครื่องมืออย่างรุนแรงเพราะอาจจะทำให้ประตูเสียหายได้

วิธีการสอบเทียบตู้บ่มเชื้อ (Incubator)

วิธีการสอบเทียบตู้บ่มเชื้อหรือตู้บ่มเพาะเชื้อเบื้องต้นคือ เจ้าหน้าที่สอบเทียบจะนำสาย Sensor Thermocouple Type K หรือ สาย Sensor RTD 4 wire

รูปสาย sensor และตัวอ่านค่า(Indicator) ของบริษัท Calibration Laboratory Co.,Ltd.

รูปสาย sensor และตัวอ่านค่า(Indicator) ของบริษัท Calibration Laboratory Co.,Ltd.

ซึ่งได้รับการรับรองความสามารถตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025: 2017 จำนวน 9 ตำแหน่ง (ขนาด 1 m3 )จำนวนตำแหน่งการ wire สาย Sensor ขึ้นอยู่กับขนาดตู้บ่มเชื้อ(DUC) และตำแหน่งการติดตั้งตามรูป Figure 1 โดยทำการปิดตู้บ่มเชื้อให้สนิท และตั้งค่าที่ต้องการทำการสอบเทียบ เช่น หากต้องการสอบเทียบตู้บ่มเชื้อที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส (ºC) ให้ตั้งค่าอุณหภูมิตู้บ่มเชื้อที่ 50 ºC แล้วรอจนกว่าค่าอุณหภูมิตู้บ่มเชื้อจะอยู่ที่ 50 องศาเซลเซียส (ºC) จากนั้นจึงอ่านค่าที่เครื่องมือ Standard (STD) และค่าที่หน้าตู้บ่มเชื้อ(DUC) เปรียบเทียบกัน แล้วบันทึกค่าที่อ่านได้

Sensor Installation - ตู้บ่มเชื้อ สอบเทียบเครื่องมือวัด
Sensor Installation – ตู้บ่มเชื้อ
ข้อมูลที่ลูกค้าต้องแจ้งก่อนไปทำการสอบเทียบตู้บ่มเชื้อ
  1. จุดสอบเทียบที่ลูกค้าต้องการ
  2. เกณฑ์การยอมรับของเครื่องมือ(MPE) (ถ้ามี) เพราะจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าทางห้องปฏิบัติการจะเลือกใช้ สาย Sensor ที่ เป็น Thermocouple Type K หรือ RTD 4 wire เนื่องจากมีค่า Uncertainty ที่แตกต่างกัน
  3. ขนาดของตู้บ่มเชื้อ (กว้างxยาวxสูง)

ลูกค้าจะต้องเตรียมตัวอย่างไร หากต้องการส่งสอบเทียบ เครื่องมือวัด

  1.  งดการใช้งานเครื่องมือวัดก่อนทำการสอบเทียบ
  2.  นำเชื้อหรือตัวอย่างงานออกจากตู้บ่มเชื้อ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับตัวอย่างงาน และเพื่อให้ได้ผลการสอบเทียบที่ถูกต้องแม่นยำ

การดูแลทำความสะอาดตู้บ่มเชื้อ

  1. เช็ดทำความสะอาดภายนอกด้วยน้ำสบู่อ่อนๆแล้วเช็ดด้วยผ้าสะอาด ส่วนภายในทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ 70 %
  2. ตรวจสอบขอบยางและรอยต่อต่างๆ เพื่อป้องกันการรั่วซึม หากพบต้องรีบแก้ไข
  3. เวลาทำความสะอาดห้ามใช้แปรงขัด, กรด, เบนซิน, ทินเนอร์ ตัวทำความสะอาดอื่นหรือน้ำร้อน เนื่องจากอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพของพื้นผิวตู้บ่มเชื้อ
  4. ห้ามใส่สารเคมีที่มีไอระเหยหรือก่อให้เกิดการเผาไหม้ได้ในตู้บ่มเชื้อ เช่น Ethanol, Benzene, Alcohol, Propane หรือสารที่มีความเหนียวหนืด

และอย่าลืมว่าเพื่อการทำงานของตู้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จึงจำเป็นต้องทำการ สอบเทียบเครื่องมือวัด อย่างสม่ำเสมอครับ

 

ผู้เขียน กระต่าย

Oven คืออะไร?? แล้วทำไมเราจึงต้องสอบเทียบ

หลักการทำงานของ Autoclave ประเภทและข้อแนะนำในการใช้งาน

———-

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา 

บริการสอบเทียบอุณหภูมิและความชื้น