ทำความรู้จักกับเครื่องดูดจ่ายสารละลาย Dispenser

Digital Bottle Top Dispenser,Bottle Top Dispenser ,เครื่องดูดจ่ายสารละลายชนิดกดปั๊ม,เครื่องดูดจ่ายสารละลายอัตโนมัติ,สอบเทียบเครื่องมือ,สอบเทียบเครื่องมือวัด, บริการสอบเทียบ, บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด, Calibration, Calibration laboratory,CLC,สอบเทียบเครื่องมือ

 Dispenser หรือ เครื่องดูดจ่ายสารละลาย

Dispenser หรือ เครื่องดูดจ่ายสารละลาย เป็นเครื่องมืออีกชนิดที่ผมจะขอหยิบยกมาพูดคุยกันในครั้งนี้ เจ้าดิสเพนเซอร์หรือ เครื่องดูดจ่ายสารละลายนี้ ใช้เพื่อการจ่ายของเหลว สารเคมี หรือสารเคมีอย่างแม่นยำและควบคุมได้ โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบเจอได้ตามห้องทดลอง หรือตามห้องแลบของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รูปร่างหน้าตาอาจจะมีความแตกต่างกันบ้างตามลักษณะการออกแบบของแต่ละยี่ห้อ แต่ไม่ว่าจะยังไงจุดประสงค์เดียวกันคือ ใช้สำหรับดูด-จ่าย สารละลายนั่นเอง เรามาดูกันครับว่าเจ้าดิสเพนเซอร์ที่เกริ่นมานี้ รูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ตัวอย่างรูปที่ 1

dispenser ,เครื่องดูดจ่ายสารละลาย,สอบเทียบเครื่องมือ,สอบเทียบเครื่องมือวัด

รูปที่ 1

ซึ่งวัสดุภายในตัวเครื่องต้องผลิตมาจากวัสดุที่สามารถป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี (Excellent Chemical Resistance) ได้เป็นอย่างดี (ก็แหง๋ล่ะเพราะเจ้าตัวนี้มันอาจจะใช้งานกับสารเคมี) และส่วนมากดิสเพนเซอร์ที่ได้มาตรฐานจะผลิตมาจากวัสดุที่มีส่วนประกอบของ PTFE, FEP, BSG, PP เป็นต้น ก่อนและหลังใช้งาน ตัวเครื่องควรผ่านการนิ่งฆ่าเชื้อ (Autoclave able) ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เพราะฉะนั้นก็หมายความว่าวัสดุที่จะนำมาทำตัวเครื่องดิสเพนเซอร์ (เครื่องดูดจ่ายสารละลาย) อย่างน้อยก็ต้องทนความร้อนได้ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส นอกจากนั้นคุณสมบัติที่จำเป็นก็คือ ตัวเครื่องต้องสามารถทนแรงดัน (Vapor Pressure Max.) ได้ดีอีกด้วย อย่างน้อยก็ประมาณ 400-500 mbar และคุณสมบัติอื่นๆเช่น

  • สามารถหมุนล็อคปริมาณในการปล่อยของสารละลายได้
  • ตัวเครื่องสามารถต่อเข้ากับขวดของสารเคมีได้หลายขนาด

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือรูปร่างหน้าตาและคุณสมบัติที่สำคัญของเครื่องดูดจ่ายสารละลายชนิดกดปั๊มด้วยมือ แต่จริงๆแล้วถ้าจะเรียกให้ถูกต้องจะเรียกว่า Bottle Top Dispenser (เครื่องดูดจ่ายสารละลายชนิดกดปั๊ม)

แต่มาระยะหลังๆนี้ ก็สามารถพบเห็นห้องปฎิบัติการหรือผู้ใช้งานบางแห่งได้เปลี่ยนมาจากเครื่องดูดจ่ายสารละลายชนิดกดปั๊มมาเป็น Electronic Digital Bottle TopDispenser (เครื่องดูดจ่ายสารละลายอัตโนมัติ) ตัวอย่างรูปที่ 2

dispenser ,เครื่องดูดจ่ายสารละลาย,สอบเทียบเครื่องมือ,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Digital Bottle Top Dispenser,เครื่องดูดจ่ายสารละลายอัตโนมัติ

รูปที่ 2

จากรูปตัวอย่างทั้งสองจะเห็นได้ว่ารูปร่างหน้าตาจะใกล้เคียงกัน เพียงแต่แบบแรกจะเป็นแบบดั้งเดิม คือใช้มือกดปั๊มกับอีกแบบคือใช้การปั๊มอัตโนมัติ ทั้งสองแบบมีข้อดีและข้อด้อยต่างกัน ขึ้นอยู่กับงบประมาณของท่านแล้วล่ะครับว่าจะเลือกใช้แบบไหน ทั้งนี้คุณสมบัติที่สำคัญต่างๆก็ไม่ได้ต่างกันเท่าไหร่ แบบอัตโนมัติอาจจะได้เรื่องรูปร่างหน้าตาและความสะดวกเพิ่มเข้ามา แต่ก็ต้องแลกกับราคาที่สูงกว่าแบบปั๊มมืออยู่ค่อนข้างมาก

การดูแลรักษาและข้อควรระวัง

  • ก่อนและหลังใช้งานควรทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนเก็บเข้าที่
  • ไม่ควรใช้กับสารละลายที่ค่าความหนืดเกินกว่าสเปคของเครื่องมือ
  • ไม่ควรแก้ไขดัดแปลงเครื่องมือด้วยตัวเอง
  • ถึงแม้เครื่องมือจะทนความร้อนได้พอสมควร แต่ไม่ได้ทนไฟ
  • ไม่ควรจัดเก็บในที่ความชื้นสูงมากจนเกินไป
  • หมั่นตรวจสอบเครื่องให้อยู่ในสภาพที่ดีพร้อมใช้งานได้เสมอ
  • หมั่นส่งเครื่องมือมาสอบเทียบกับห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้มาตรฐานอย่างสม่ำเสมอ

บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด หรือ CLC มีบริการให้คำปรึกษาและบริการสอบเทียบดิสเพนเซอร์ ในรูปแบบ Accredit 17025 ทั้ง สมอ. และ ANAB ครอบคลุมย่านการใช้งาน ถ้าหากมีข้อสงสัยตรงไหนทางห้องปฏิบัติการสอบเทียบก็ยินดีให้คำปรึกษาโดยเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการในเรื่องนี้โดยเฉพาะ(ปรึกษาได้ทุกเรื่องเกี่ยวกับงานสอบเทียบ) ก็ลองติดต่อกันเข้ามาตามช่องทางต่างๆได้เลยครับ

      เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับเรื่องเครื่องดูดจ่ายสารละลายทั้งแบบกดปั๊มด้วยมือและแบบอัตโนมัติ พอสังเขปในวันนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับท่านที่สนใจไม่มากก็น้อยนะครับ ผิดพลาดประการใดก็ต้องขออภัยกันไว้ ณ ที่นี้ด้วย แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้า ขอบคุณครับ

 

MKS

 

 

 

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา

บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด  ซื้อเครื่องมือวัด