มาอ่านผลสอบเทียบ OVEN กัน วิธีอ่านที่ถูกเค้าอ่านกันยังไง

Oven01,มาอ่านผลสอบเทียบ OVEN กัน วิธีอ่านที่ถูกเค้าอ่านกันยังไง,สอบเทียบเครื่องมือ,สอบเทียบเครื่องมือวัด,บริการสอบเทียบ,บริษัท สอบ เทียบ เครื่องมือ วัด,รับ calibrate เครื่องมือวัด

การตีความใบรายงานผลการ สอบเทียบเครื่องมือวัด Temperature Enclosures (Oven)

การนำข้อมูลผลการ สอบเทียบเครื่องมือวัด Temperature Enclosures (Oven) ไปใช้งานจะมีวิธีการอย่างไร รายละเอียดในตารางผลการสอบเทียบมีความหมายอย่างไร และเมื่อได้รับรายงานผลการ สอบเทียบเครื่องมือ จะมี วิธีอ่านผลการสอบเทียบ ประเมินความสามารถในการใช้งานของเครื่องมือได้อย่างไร สามารถศึกษาได้จากบทความของบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด ได้ดังต่อไปนี้

Temperature Enclosures (Oven) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ตู้ควบคุมอุณหภูมิ ทางบริษัท CLC (Calibration Laboratory) จะใช้วิธีการสอบเทียบโดยการวางสาย Sensor Thermocouple หรือ สาย Sensor RTD 4 Wire วางตามจุดภายในตู้ทั้งหมด 9 ตำแหน่ง ตามรูปที่ 3

ตาราง,วิธีอ่านผลการสอบเทียบ,เครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือ,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Oven,สอบเทียบเครื่องมือวัด Temperature Enclosures (Oven)

รูปที่ 1 ตัวอย่างตู้ควบคุมอุณหภูมิ

ตาราง,วิธีอ่านผลการสอบเทียบ,เครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือ,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Oven,ตัวอย่างสาย Sensor และตัวอ่านค่าอุณหภูมิที่สอบเทียบเครื่องมือวัด

รูปที่ 2 ตัวอย่างสาย Sensor และตัวอ่าน

ตาราง,วิธีอ่านผลการสอบเทียบ,เครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือ,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Oven,จุดอ้างอิงการวัด,จุดอ้างอิงสอบเทียบ

รูปที่ 3 ภาพจำลองตำแหน่งการวางสาย Sensor ภายในตู้ควบคุมอุณหภูมิ

ตัวอย่าง Certificate Temperature Enclosures (Oven)

ในใบรายงานผลการ สอบเทียบเครื่องมือวัด ของทางบริษัท CLC จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน มี วิธีอ่านผลการสอบเทียบ ดังนี้

ตาราง,วิธีอ่านผลการสอบเทียบ,เครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือ,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Oven,ตัวอย่าง Certificate Temperature Enclosures (Oven)

 

  1. DUC Setting (หน้าจอแสดงผลในการกำหนดอุณหภูมิ) เป็นการกำหนดค่าจากอุปกรณ์แสดงผลของเครื่องมือ
  2. DUC Indicating (หน้าจอแสดงผลการวัดอุณหภูมิภายในตู้ของเครื่องมือ) ค่าเฉลี่ยจากการอ่านค่าอุปกรณ์แสดงผล Temperature Enclosures (Oven)
  3. Measured Uniformity (ความสม่ำเสมอของอุณหภูมิ) คือ ผลต่างที่มีค่ามากที่สุดของอุณหภูมิที่ตำแหน่งใดๆ เทียบกับอุณหภูมิที่ตำแหน่งอ้างอิง (Reference Point)  ที่วัดได้ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยนำผลต่างที่มีค่ามากที่สุดของอุณหภูมิ ในแต่ละตำแหน่ง (Probe)  (Probe 1-8) เทียบกับ Probe 9 ในแต่ละอุณหภูมิ นำผลที่แตกต่างกันมากที่สุดมาแสดงผล ( 1.16 °C ) ตัวอย่างการคำนวณค่า Measured Uniformity : ค่าที่มากที่สุดแต่ละ Probe  (1-8) to Probe 9 , ค่าที่น้อยที่สุดแต่ละ Probe  (1-8) to Probe 9 ( ในกรอบสีเขียวลบด้วยกรอบสีฟ้า คำนวณแยกแต่ละครั้งของการวัด แล้วเลือกค่าที่มากที่สุด) จากนั้นจะใช้ค่าที่มากที่สุดในกรอบสีส้มแสดงในใบรายงานผล

ตาราง,วิธีอ่านผลการสอบเทียบ,เครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือ,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Oven,ความสม่ำเสมอของอุณหภูมิ

  1. Measured Stability (ความเสถียรของอุณหภูมิ) คือผลต่างที่มากที่สุดของอุณหภูมิที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ภายหลังจากเครื่องมือเข้าสู่สภาวะคงที่ การบันทึกอุณหภูมิที่วัดได้เป็นแบบต่อเนื่อง ผลต่างที่มากที่สุดของอุณหภูมิ ได้มาโดยนำค่าที่มากที่สุดลบกับค่าน้อยที่สุดของแต่ละตำแหน่ง (Probe) (Probe 1-9) มาแสดงผล ( 0.03 °C ) ตัวอย่างการคำนวณค่า Measured Stability : ค่าที่มากที่สุด ลบ ค่าที่น้อยที่สุด ( ในกรอบสีแดง คำนวณแยกแต่ละ Probe (1-9) ) นำค่า Stability ที่มากที่สุด( กรอบสีชมพู ) หารด้วย 2 จะเป็นค่าที่แสดงในใบรายงานผล

ตาราง,วิธีอ่านผลการสอบเทียบ,เครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือ,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Oven,ความเสถียรของอุณหภูมิ

5. Measured Overall Variation (การแปรผันรวม) คือ ผลต่างระหว่างอุณหภูมิที่มากที่สุดเทียบกับอุณหภูมิที่น้อยที่สุดของทุกเซ็นเซอร์ ตำแหน่งใดๆ ตลอดช่วงเวลาของการสอบเทียบในแต่ละอุณหภูมิ (1.37 °C) ตัวอย่างการคำนวณค่า Measured Overall Variation:  ค่าที่มากที่สุดลบค่าที่น้อยที่สุด (ในกรอบสีเหลือง) จะเป็นค่าที่แสดงในใบรายงานผล

ตาราง,วิธีอ่านผลการสอบเทียบ,เครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือ,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Oven,การนำผลไปใช้งาน,การแปลผันรวม

หมายเหตุ : Measured Uniformity, Measured Stability และ Measured Overall Variation มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ จะบ่งบอกว่าตู้ควบคุมอุณหภูมิมีประสิทธิภาพดี ส่งผลให้ค่าความไม่แน่นอนมีค่าปริมาณต่ำ

 

  1. Measured Temperature (อุณหภูมิที่ถูกวัด) คือ ค่าเฉลี่ยจากการอ่านของเซนเซอร์มาตรฐานที่ตำแหน่งใดๆ แต่ละตำแหน่ง (Probe 1-9)
  2. Uncertainty (ค่าความไม่แน่นอน) คือ ค่าไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบ เกิดจากการวัด เครื่องมือวัด ผู้ปฏิบัติการ และสภาวะแวดล้อม
  3. Coverage factor k (ความไม่แน่นอนขยาย) คือ ตัวประกอบครอบคลุม Factor ที่ใช้ในการคำนวณค่าความไม่แน่นอน

หมายเหตุ DUC ( Device Under Calibration ) หมายถึง เครื่องมือที่อยู่ภายใต้การสอบเทียบ Temperature Enclosures (Oven)

 

การนำค่าจากใบรายงานผลการสอบเทียบไปใช้งาน

Ex. สอบเทียบที่ 50 °C เกณฑ์การยอมรับ ± 2 °C

ตาราง,วิธีอ่านผลการสอบเทียบ,เครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือ,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Oven,การนำผลไปใช้งาน

  1. การหาค่า Correction ของเครื่องมือ

ตาราง,วิธีอ่านผลการสอบเทียบ,เครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือ,สอบเทียบเครื่องมือวัด, Oven

  1. นำค่า Correction รวมกับ Uncertainty

จากการหาค่า Correction ของ เครื่องมือวัด จะพบว่าผลการสอบเทียบที่มีความแตกต่างมากที่สุดคือค่า MAX +1.13 °C โดยให้นำมารวมกับค่า Uncertainty (ค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบ) 0.50 °C  จะมีค่าเท่ากับ 1.63 °C นำไปเทียบกับเกณฑ์การยอมรับ ± 2 °C
จะพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด จึงตัดสินได้ว่าผ่านการประเมิน

หมายเหตุ : ในกรณีที่เครื่องมือของลูกค้าเกินเกณฑ์การยอมรับที่ตั้งไว้ การใช้งานเครื่องมือต้องมีการบวกค่าแก้ หรือค่า Correction เพื่อชดเชยความผิดพลาดของเครื่องมือ

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรตรวจสอบ Scope ที่ทางบริษัท CLC ได้รับการรับรองก่อนพิจารณาส่งเครื่องมือสอบเทียบ

ขอบข่าย สมอ. ได้รับการรับรองอยู่ที่  -30 °C to 250 °C  ( TC ),  -30 °C to 150 °C  ( RTD )

ขอบข่าย ANAB ได้รับการรับรองอยู่ที่  -70 °C to 250 °C  ( TC ),  -70 °C to 250 °C  ( RTD )

  1. ค่า CMC ใน scope คือค่าความไม่แน่นอน (Uncertainty) ที่ดีที่สุดที่ทางห้องปฏิบัติการได้รับการรับรอง ไม่ได้หมายถึงผลการ สอบเทียบเครื่องมือวัด ที่จะแสดงให้ทุกๆครั้ง ในผลการสอบเทียบ ซึ่งผลการสอบเทียบที่ได้อาจมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้องอาจทำให้ค่า Uncertainty มีค่ามากกว่า CMC ที่แสดงใน Scope

หมายเหตุ :

      MPE (Maximum permissible error) คือ ค่าความผิดพลาดสูงสุดที่ยอมรับได้ของเครื่งมือ

      CMC (Calibration and Measurement Capability) คือ ขีดความสามารถของการสอบเทียบและการวัด

เอกสารอ้างอิง

  1. Guidelines for Calibration and Checks of Temperature Controlled Enclosures G-20-1/02-08 (E) (TLAS)
  2. Thai Laboratory Accreditation Scheme G-20-1/02-08 (E)
  3. Guidelines on the Calibration of Temperature and / or Humidity Controlled Enclosures EURAMET Calibration Guide No. 20 Version 5.0 (09/2017)

 

ผู้เขียน D. Harmony

 

 

 

บริการ สอบเทียบอุณหภูมิและความชื้น

ขอใบเสนอราคา   ติดต่อเรา 

พูดคุยกับเรา