ห้ามพลาด ความรู้เรื่อง Pin Gauge แบบจุกๆ

Pin Gauge(พินเกจ)  สวัสดีครับ วันนี้เราจะแนะนำเครื่องมือวัดประเภทที่ใช้งานด้าน Dimension ที่หลายๆท่านเห็นและผ่านหูผ่านตาและเคยใช้งานมาอย่างแน่นอน และมีการใช้งานกันอย่างแพร่ในภาคอุตสาหกรรม เครื่องมือวัดชนิดนี้ คือPin gaugeซึ่งพินเกจ คือ เครื่องมือวัดที่มีลักษณะเป็นรูปทรงที่มีรูปแบบเป็นแท่งเหมือนหมุดที่ถูกผลิตออกมาเป็นขนาดที่จำเพาะ และใช้วัสดุในการผลิตตัวเครื่องมือที่มีความทนทานเพื่อรับประกันถึงค่าความแน่นอนและยากต่อการคลาดเคลื่อน จุดประสงค์หลักของการใช้งาน เครื่องมือวัด พินเกจ คือ การใช้ตรวจสอบและใช้วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของขนาดของรูและความกว้างของรูที่มีขนาดเล็กของชิ้นงานต่างๆว่าอยู่ในมาตรฐานการผลิตหรือไม่ และยังสามารถนำไปใช้งานสำหรับการวัดค่าเบี่ยงเบนทางเรขาคณิตของชิ้นงานต่างๆได้อีกด้วย

Pin Gauge, พินเกจ, สอบเทียบเครื่องมือวัด,เครื่องมือวัด, Calibration, Calibration lab

นอกจากนี้ พินเกจ ยังมีวัสดุหลากชนิดที่ใช้ในการผลิตให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้ตามการใช้งานตามความเหมาะสมของงานและชิ้นงานประเภทงานต่างๆได้ เช่น เหล็ก เซรามิก และ คาไบด์

คุณสมบัติของพินเกจ

ของวัสดุที่ผลิตแต่ล่ะประเภทมีดังนี้

  1. Pin Gauge Steel คือพินเกจที่ใช้โลหะในการผลิตเครื่องมือแบบยุคต้นซึ่งจะเป็นวัสดุที่มีความแข็งแรงทนทานค่อนข้างสูง และเสียหายสึกหรอค่อนข้างยากมาก แต่ก็จะมีข้อเสียคือสามารถเกิดคราบสนิมง่ายจึงทำให้เกิดความเคลื่อนของเครื่องได้เช่นกัน
  2. Pin Gauge Carbide คือพินเกจที่ใช้คาไบด์ในการผลิต ซึ่งคาไบด์จะมีความต้านทานการกัดกร่อนที่ยอดเยี่ยมและ อายุการใช้งาน นานกว่า เหล็กกล้า ประมาณ 20 ถึง 30 เท่า
  3. Pin Gauge Ceramic คือพินเกจที่ใช้เซรามิกในการผลิต วัสดุชนิดนี้มีความสามารถทนต่อการขัดสีได้สูงมาก มากกว่าพินเกจที่ทําด้วยเหล็กถึง 10 เท่า การดูแลรักษาก็ง่ายไม่จําเป็นต้องมีการเคลือบสารป้องกัน สนิมหลังใช้งาน

วิธีการใช้งาน และการดูและรักษา Pin Gauge 

เบื้องต้นดังนี้

1.ควรใส่ถุงมือก่อนใช้งานเครื่องมือทุกครั้ง หลีกเลี่ยงการสัมผัส เครื่องมือวัด ด้วยมือเปล่า เพราะความชื้นจากผิวสัมผัสจากมืออาจจะทำให้เครื่องเกิดสนิม และทำให้ค่ามาตรฐานของเครื่องมือผิดเพี้ยนไปได้

2.ในขณะที่ใช้งานเครื่องมือวัด หากขนาดรูที่ต้องการวัดค่าไม่สามารถนำเครื่องมือใส่เข้าไปได้ ไม่ควรฝืนกดเครื่องมือลงไปเพื่อวัดหาค่า เพราะอาจทำให้ตัวเครื่องมือและชิ้นงานเกิดความเสียหายได้

3.หลังจากการใช้งานเครื่องมือแล้วเสร็จทุกครั้ง ควรทำความสะอาดและเคลือบด้วยสารน้ำยากันสนิมและเก็บเครื่องมือเข้ากล่องทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดคราบสนิมและการสูญหายของเครื่องมือได้

4.เนื่องจากเครื่องมือชนิดนี้มีความสำคัญต่อการวัดชิ้นงานต่างๆค่อนข้างมากจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการสอบเทียบ (Calibration) อย่างสม่ำเสมอ เพื่อความแม่นยำในการวัดชิ้นงานให้ได้ตามมาตรฐานการผลิตของทางผู้ใช้งานเอง เพื่อทางผู้ใช้งานจะได้สามารถรู้ค่าความแม่นยำความถูกต้อง ว่าค่าที่วัดได้นั้นมีความถูกต้องตรงตามสเปคหรือไม่ หรือหากผิดเพี้ยนไปจากสเปคที่ทางผู้ใช้งานใช้วัดชิ้นงานนั้นทางผู้ใช้งานจะได้มีการแก้ไขก่อนที่จะนำไปใช้วัดกับตัวชิ้น เพื่อลดความเสียและผิดพลาดของทางผู้ใช้งาน

 

โดยทาง บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรีจำกัด (CLC) มีให้บริการ สอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration) ด้านมิติหลากหลายประเภท รวมถึงพินเกจ ซึ่งทางบริษัทฯ ให้บริการ สอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration) ได้การรับการรับรอง ISO/IEC 17025:2017 จากสถาบัน สมอ. และ ANAB พร้อมทั้งยังมีบริการ รับส่งเครื่องมือวัด ฟรีอีกด้วย

 

THM_MELO

 

 

ประเภท ข้อควรระวัง และการสอบเทียบไมโครมิเตอร์วัดภายนอก (Outside micrometer)

 

บริการสอบเทียบด้านมิติ ดูสินค้าด้าน Dimension

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา