เครื่องมือวัดความเร็วรอบ Tachometer เครื่องมือวัดการหมุนของเครื่องจักรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

Tachometer Fluke 931

Tachometer

เครื่องมือวัดความเร็วรอบ ในขั้นตอนการผลิตสินค้าในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ จะมีเครื่องจักรเคลื่อนที่ในลักษณะหมุนอยู่มากมายหลายประเภท มีวัตถุประสงค์ในการใช้งานแตกต่างกันออกไป และมีบทบาทสำคัญในส่วนของขั้นตอนการผลิต เราจะทราบได้อย่างไรว่าการหมุนของเครื่องจักรดังกล่าวนั้น มีประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานหรือไม่ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบในการผลิตเราจะตรวจสอบได้อย่างไร วันนี้เราจะมาแนะนำตัวช่วย นั้นก็คือ เครื่องมือวัดความเร็วรอบ Tachometer!!! ที่ต้องมีการ สอบเทียบเครื่องมือวัด อยู่เป็นประจำนั่นเอง
htm-hand-held-mechanical-tachometer สอบเทียบเครื่องมือวัด

เป็นอุปกรณ์ในเครื่องมือวัดชนิดหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อใช้วัดอัตราความเร็วในการหมุนรอบของเครื่องจักรหรือวัตถุต่างๆเพื่อบ่งชี้วัดประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรหรือวัตถุนั้นๆโดยใช้หน่วยในการวัดเป็นความเร็วรอบต่อนาที หรือ RPM (Round per minute) เครื่องมือวัดที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์และสิ่งทอ อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น เครื่องมือวัดความเร็วรอบนี้มีบทบาทสำคัญอย่างมากในทางวิศวกรรมสามารถประยุกต์ใช้ในการใช้งานได้หลากหลายด้าน เช่น วัดความเร็วของมอเตอร์ ตรวจสอบสายการผลิต ความเร็วของใบพัด รอบของลูกกลิ้ง การตรวจสอบกังหัน การตรวจสอบรอบของเพลาล้อรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการควรนำ Tachometer หรือ เครื่องมือวัดความเร็วรอบ เข้ารับการสอบเทียบเครื่องมือวัด หรือ (Calibrate – แคลิเบรท)อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ค่าความเร็วรอบที่วัดได้จะไม่คลาดเคลื่อนจนก่อให้เกิดความเสียหาต่อกระบวนการผลิตและคุณภาพของผลิตภัณฑ์

เครื่องมืดวัดความเร็วรอบ Tachometer มีกี่ประเภท?


Tachometer ชนิดและการใช้งาน สอบเทียบเครื่องมือวัด
Tachometer Contact Digital Fluke

Tachometer ชนิดและการใช้งาน 2 สอบเทียบเครื่องมือวัด

 

เครื่องมือวัดความเร็วรอบนั้นมีอยู่หลากหลายแบบ มีลักษณะและวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าใช้งานประเภทไหน แต่ผู้เขียนจะแบ่งเอาหลักๆ ที่พบเห็นอยู่บ่อยๆ โดยจะแบ่งออกมาเป็น 3 แบบด้วยกัน ซึ่งจะอธิบายลักษณะและหลักการใช้งานคร่าวๆ ของเครื่องมือวัดแต่ละชนิดด้วยดังนี้

1. Analog Tachometer เครื่องมืดวัดความเร็วรอบแบบอนาล็อก มีหน้าปัดแสดงผลเป็นแบบเข็มวัดและมีขีดสเกลเป็นตัวเลขสำหรับในการอ่านค่า แต่ไม่สามารถบันทึกค่าหรือคำนวณค่าทางสถิตได้ โดยหลักการใช้หัวสัมผัสกับเพลาหรือวัตถุโดยตรง ใช้ค่าความเร็วที่ได้จากการหมุนเคลื่อนที่แล้วถูกแปลงค่าเป็นแรงดันไฟฟ้า และมาอ่านแสดงค่าที่หน้าปัด แบบรุ่นนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเท่าไหร่เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายอย่างในการใช้งาน

2. Stroboscope Tachometer เครื่องมือวัดที่มีลักษณะคล้ายๆเหมือนไฟฉายหรือปืนวัดอุณหภูมิอินฟาเรดหน้าจอเป็น LCD แสดงผลเป็นตัวเลข Digital โดยใช้หลักการของแสงแฟลตเพื่อจับภาพ เพื่อส่องไปยังวัตถุที่กำลังหมุน แล้วนำความถี่ที่ได้รับในการจับภาพ (จำนวนเฟรมต่อวินาทีหรือ FPM) มาคำนวณความเร็วของวัตถุที่กำลังหมุนแล้วไปแสดงผลที่หน้าจอ Tachometer ซึ่งการวัดวิธีนี้มีข้อดีคือ ไม่ต้องหยุดเครื่องจักรไม่ต้องติดสติ๊กเกอร์สะท้อนแสง และไม่จำเป็นต้องสัมผัสชิ้นงานก็สามารถวัดรอบได้ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

3. Digital Contact & Non-contact Tachometer จะมีหน้าจอแสดงผลอ่านค่าเป็นตัวเลข Digital แบบ LCD หรือ LED มีหัววัดทั้งสองฝั่ง ซึ่งสามารถเลือกใช้งาน Tachometer ได้ทั้งแบบ Contact และ Non-contact (แบบไม่สัมผัส) โดย Contact (แบบสัมผัส)จะเป็นฝั่งที่มีแกนเหล็กยื่นออกมาซึ่งจะมีหัวแบบต่างๆ ให้เลือกเปลี่ยนใช้งานตามความเหมาะสม โดยใช้เครื่องมืดวัดสัมผัสวัดกับแกนหรือเพลามอเตอร์โดยตรง แล้วประมวลค่าออกมาทางหน้าจอ ส่วน Tachometer แบบ Non-contact (แบบไม่สัมผัส) จะเป็นฝั่งที่มีกระจกใสครอบอยู่และจะมีสติ๊กเกอร์สะท้อนแสงติดมาให้ด้วยเพื่อใช้ติดที่เพลาวัตถุที่ต้องการวัด หลักการเมื่อยิงแสงเลเซอร์ไปกระทบที่แผ่นสติ๊กเกอร์สะท้อนแสง ก็จะสะท้อนแสงกลับไปยังตัวรับเพื่อคำนวณหาค่าจำนวนรอบออกมาและแสดงผลไปที่หน้าจอ โดยแบบที่ 3 นี้เป็นเครื่องมือวัดที่นิยมนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสามารถใช้วัดได้ทั้งสองแบบในเครื่องเดียวกัน รวมทั้งสามารถบันทึกค่าและคำนวณค่าทางสถิติได้อีกด้วย นอกจากนั้นก็ยังมีบางรุ่นที่มีใช้งานเฉพาะ Contact หรือ Non-contact อย่างใดอย่างหนึ่งให้เลือกใช้งานกัน

ประโยชน์ของเครื่องมือวัดความเร็วรอบ (Tachometer)

1.เป็นเครื่องมือวัดที่เหมาะสำหรับการวัดรอบของเครื่องจักรที่เคลื่อนไหวในลักษณะที่เป็นอันตรายช่วยให้ผู้ใช้งานอยู่ในระยะที่ปลอดภัย

2. เหมาะสำหรับการวัดงานในสถานที่ที่ยากต่อการเข้าถึงในระยะใกล้ หรือระยะไกล

3. เพื่อสร้างความมั่นใจว่าอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน ทำงานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

4. ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรได้อย่างละเอียด ทำให้แก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น

5.Tachometer พกพาสะดวก เล็กกะทัดรัด สามารถนำไปใช้งานได้ทุกที่

6.เครื่องมือวัดความเร็วรอบ (Tachometer) วางเก็บได้สะดวก ไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บ

วิธีการสอบเทียบและการรับรองเครื่องวัดความร็วรอบ (Tachometer)

การสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibrate – แคลิเบรท) คือ การเปรียบเทียบค่ากันระหว่างสองเครื่องมือวัด โดยเครื่องมือที่ต้องการสอบเทียบจะถูกเทียบกับเครื่องมือทางวิศวกรรมที่มีความละเอียดแม่นยำสูงสามารถสอบกลับไปสู่ค่าอ้างอิงมาตรฐานได้ โดยเครื่องมือเปรียบเทียบนี้เราจะเรียกว่า เครื่องมือสอบเทียบ (Calibrator) ซึ่งจะต้องทดสอบโดยห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานเท่านั้น เพื่อให้มั่นใจได้ว่าค่าที่ได้จากการวัดนั้นถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนหรือผิดเพี้ยน โดยบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด (Calibration Laboratory – CLC) สามารถสอบเทียบเครื่องมือวัดความเร็วรอบ (Tachometer) และได้รับการรับรอง Accredited ISO 17025 ทั้งใน Scope การรับรองภายในประเทศจาก สมอ. และต่างประเทศ ANAB จากอเมริกา โดยได้รับการรับรองตั้งแต่ Range 1-99,999 RPM ได้ทั้ง Contact และ Non-contact (Photo) โดยใช้วิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดแบบ Direct Measurement with Synthesized FunctionGenerator

คำแนะนำและข้อควรระวังการเก็บรักษาและการใช้งานเครื่องมือวัดความเร็วรอบ (Tachometer)

• การใช้เครื่องมือวัดอย่างไม่เหมาะสมอาจทำให้เกิดความเสียหายทางทรัพย์สินหรือบาดเจ็บทางร่างกายได้ ควรอ่านและศึกษาทำความเข้าใจคู่มือให้ละเอียดก่อนใช้งาน

• หากใช้งานเครื่องมือวัดผิดวิธีหรือไม่เป็นไปตามที่ระบุไว้ในคู่มือ อาจทำให้เครื่องมือวัดมีความบกพร่องหรือพังเสียหายได้

• เมื่อใช้งานเครื่องมือวัดนี้เสร็จแล้ว ควรเก็บไว้ห่างจากมือเด็กเนื่องจากเครื่องมือวัดนี้ไม่ใช่ของเล่นเด็กและมีชิ้นส่วนขนาดเล็กที่เด็กสามารถกลืนได้

• ในกรณีที่เครื่องมือวัดม่ได้ใช้งานเป็นระยะเวลานาน ควรถอดแบตเตอรี่ออกเพื่อยืดระยะการใช้งานของแบตเตอรี่

• ไม่ควรเพ็งมองแสงเลเซอร์หรือเล็งแสงเลเซอร์ไปที่ดวงตาโดยตรงมันอาจทำให้เกิดอันตรายต่อดวงตาได้หากดูเป็นระยะเวลานาน

• หลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงเลเซอร์โดยตรง

• ควรนำเครื่องมือวัดไป สอบเทียบเครื่องมือวัด ทุกปีเพื่อตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดของเครื่องมือได้ดี

 

 

 

ผู้เขียน Timnorton

 

สอบเทียบเครื่องมือ Electrical


ขอใบเสนอราคา   ติดต่อเรา 

พูดคุยกับเรา