เครื่องวิเคราะห์ความชื้น Moisture Balance คืออะไร ทำงานอย่างไร

Moisture Balance

MOISTURE BALANCE เครื่องวัดความชื้น สอบเทียบเครื่องมือวัด

 

MOISTURE BALANCE หรือ เครื่องวัดความชื้น  เป็นเครื่องมือวัดค่าแบบหนึ่งที่บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (Calibration Laboratory CO.,LTD หรือ CLC) มีให้บริการแคลิเบรท (Calibrate) หรือ สอบเทียบเครื่องมือวัด  โดยเครื่อง MOISTURE BALANCE หรือ เครื่องวัดความชื้น นี้ เป็นเครื่องหาความชื้นของสารที่สามารถหาได้ทั้งในของแข็งและของเหลว ด้วยหลักการการให้ความร้อนด้วยแสงจากหลอดฮาโลเจน (Halogenmoisture analyzer)  เครื่องวัดความชื้นจึงเป็นเครื่องมือวัดค่าการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักของตัวอย่างก่อนและหลังจากได้รับความร้อนจนความชื้นหมดไป ตัวอย่างจะถูกชั่งก่อนและหลังการอบเพื่อหาค่าความแตกต่างความชื้นของตัวอย่างจะรวมอยู่ในส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์  ซึ่งความชื้นจะระเหยเมื่อได้รับความร้อน ค่าความชื้นของวัสดุจะแตกต่างจากการปนของน้ำในวัสดุ ดังนั้นหากเราต้องการหาค่าความชื้นของวัสดุ เราจึงต้องให้วัสดุคายน้ำออกมา กระบวนการคายน้ำนั้นคือกระบวนการที่จะไล่น้ำออกจากตัวอย่างออกมา ซึ่งวัสดุจะคายน้ำที่อุณหภูมิหน่วยองศาเซลเซียส (อุณหภูมิการคายน้ำขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ)

ทำไมต้องมีการวิเคราะห์ปริมาณความชื้น

วัสดุธรรมชาติทุกชนิดจะมีความชื้นเป็นส่วนประกอบ ปริมาณน้ำหรือความชื้นในตัวอย่างไม่ค่อยเป็นที่สนใจมากนัก แต่ในการค้าจะต้องแสดงคุณสมบัติหรือใช้ค้นหาคุณสมบัติอื่นๆ ตามมาตรฐาน การวิเคราะห์หาความชื้นด้วยเครื่องวัดความชื้น จึงเป็นการตรวจสอบอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญมาก เพราะปริมาณความชื้นจะบอกให้ทราบว่าวัสดุนั้นมีคุณภาพดีหรือไม่

โดยค่าความชื้นสามารถบ่งชี้คุณสมบัติของวัสดุได้ ดังนี้

  •  ระยะเวลาการเก็บรักษา สามารถเก็บรักษาได้นานแค่ไหน
  • การจับตัวของผงแป้ง
  • การควบคุมปริมาณของจุลินทรีย์
  •  คุณสมบัติการไหล, ความหนืด
  • ปริมาณส่วนประกอบที่ไม่รวมความชื้น
  • ความเข้มข้นหรือความบริสุทธิ์
  • ค่าอื่นๆ ตามข้อกำหนดของกฎหมาย

เครื่องวัดความชื้นทำงานอย่างไร?

MOISTURE BALANCE (เครื่องวัดความชื้น) ทำงานตามหลัก “การสูญเสียน้ำหนักจากการทำให้แห้ง เครื่องวัดความชื้นจะมีส่วนประกอบสองส่วน นั่นคือ ชุดชั่งน้ำหนักและชุดทำความร้อน ในการวัดปริมาณความชื้น น้ำหนักเริ่มต้นของตัวอย่างจะถูกบันทึกไว้ก่อน จากนั้นหลอดไฟฮาโลเจน (Halogen moisture analyzer) หรือ เครื่องกระจายความร้อนแบบอินฟราเรดอื่นๆ จะให้ความร้อนและทำให้ตัวอย่างแห้ง พร้อมกันนั้นเครื่องชั่งในตัวเครื่องวัดความชื้น จะทำการบันทึกน้ำหนักของตัวอย่างอย่างต่อเนื่อง เมื่อตัวอย่างไม่สูญเสียน้ำหนักอีกต่อไป เครื่องมือจะปิดการทำงานและคำนวณค่าปริมาณความชื้น โดยจะใช้น้ำหนักรวมที่สูญเสียไปในการคำนวณปริมาณความชื้น

 

เครื่องมือวัดความชื้น สอบเทียบเครื่องมือวัด

 

 

วิธีเลือกเครื่องวัดความชื้นหลักเกณฑ์และคำแนะนำที่เป็นประโยชน์สำหรับการเลือกซื้อเครื่องวัดความชื้นที่เหมาะสม

การเลือกเครื่องเครื่องวัดความชื้นคุณอาจไม่แน่ใจว่าเครื่องใดที่เหมาะกับความต้องการของคุณ เพราะว่ามีเครื่องวัดความชื้นอยู่มากมายหลากหลายรุ่นในท้องตลาด การเปรียบเทียบข้อมูลจำเพาะในเอกสารข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญ แต่การเลือกเครื่องวัดความชื้น ที่เหมาะกับการใช้งานเฉพาะทางของคุณเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าข้อมูลจำเพาะเหล่านี้ ซึ่งไม่ได้แสดงให้เห็นถึงภาพทั้งหมดเลย ประสิทธิภาพในการวัดผลสำหรับตัวอย่างเฉพาะของคุณ หรือความสะดวกต่อการใช้งานในสภาพที่มีการทำงานทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเพียงส่วนหนึ่งของตัวอย่างหลักเกณฑ์ที่เราไม่สามารถดูได้จากเอกสารข้อมูล ดังนั้น การทำความเข้าใจถึงฟังก์ชันการทำงานและประสิทธิภาพของเครื่องมือจากมุมมองในภาพรวมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งศึกษาคำแนะนำ “วิธีเลือกเครื่องวัดความชื้น” และหาคำตอบว่าองค์ประกอบที่สำคัญต่อไปนี้ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อของคุณอย่างไร

คุณลักษณะและประเภทของตัวอย่าง

  • เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานและความง่ายในการใช้งาน
  • การบริหารจัดการข้อมูล
  • การทดสอบประสิทธิภาพของอุปกรณ์
  • การสนับสนุนและบริการ
  •  อุปกรณ์และอุปกรณ์เสริมทางเลือก
  • คำอธิบายข้อมูลจำเพาะด้านเทคนิค

ระบบทำความร้อนของเครื่องวัดความชื้นคืออะไร?

  1. ขดลวดความร้อนเป็นแหล่งให้ความร้อนที่นิยมใช้งานในช่วงแรก ข้อดีคือ ราคาไม่สูง ทนทาน แต่ใช้ระยะเวลานาน ช่วงรอความเย็นลดลง
  2. Halogen lamps เป็นแหล่งให้ความร้อนที่นิยมกันมากในปัจจุบันของ moisture analyzer  ข้อดีคือ ร้อนเร็ว เย็นเร็ว ดูแลรักษาง่าย ตัวอย่างทดสอบจะเริ่มได้รับความร้อนจากการสัมผัสกับอากาศ นั่นคือจะมีการถ่ายเทความร้อนจากภายนอกสู่ภายใน
  3. IR sensors การแผ่รังสีจะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อนเมื่อกระทบกับวัสดุทดสอบ ในกรณีนี้ตัวอย่างทดสอบจะร้อนจากข้างในและส่งผ่านความร้อนออกด้านนอก

โดยในการทดสอบนั้นต้องเกลี่ยชิ้นงานให้กระจายทั่วภาชนะตัวอย่างทดสอบต้องไม่หนาเกินไป เพราะความชื้นจะระเหยจากผิว ถ้าเป็นไปได้ตัดชิ้นงานให้มีขนาดเล็กลงหากต้องการหาค่าความชื้นของ ของเหลวจะต้องใช้อุปกรณ์ประกอบในการทดสอบ เช่น ทรายซิลิกา

เครื่องวัดความชื้นสำหรับผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตหรือในห้องปฏิบัติการในอุตสาหกรรมใด?

  • อุตสาหกรรมประเภทอาหาร
  • อุตสาหกรรมประเภทยา
  • อุตสาหกรรมประเภทก่อสร้าง
  • อุตสาหกรรมการเกษตร

Moisture Balance กับการ Calibrate

เนื่องจากเครื่อง MOISTURE BALANCE หรือ เครื่องวัดความชื้น เป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ความชื้นของวัสดุ ส่งผลไปถึงผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งในด้านการซื้อขายและด้านคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ การดูแลรักษาเครื่องวัดความชื้นให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ ควรทำควบคู่ไปกับการแคลิเบรท (Calibrate) หรือสอบเทียบเครื่องมือวัดด้วย เพื่อยืนยันตามมาตรฐานได้ว่าเครื่องวัดความชื้นยังรายงานค่าได้ตรงตามความความจริง

โดยสามารถตรวจสอบ สอบเทียบเครื่องมือวัด ความแม่นยำได้ทั้ง 2 ฟังก์ชั่นด้วยกัน

  1. อุณหภูมิที่ตัวเครื่องทำความร้อน (Temperature) หากไม่สอบเทียบเครื่องมือวัด อาจทำให้ผลค่าความชื้นในตัววัสดุที่ทำการทดสอบไม่ตรงตามความจริง ในกรณีอุณหภูมิต่ำกว่าค่าแสดง วัสดุอาจยังมีความชื้นหลงเหลืออยู่ หรือหากความร้อนสูงกว่าค่าแสดงอาจทำให้วัสดุที่ใช้เกิดไหม้ได้
  2. น้ำหนักที่ตัวเครื่องวัดความชื้นแสดง (Balance) หากไม่สอบเทียบเครื่องมือวัด ผลของน้ำหนักวัสดุทั้งก่อนและหลังทดสอบอาจไม่ตรงกับความจริงและส่งผลต่อผลิตภัณฑ์

SCOPE การ CALIBRATE  เครื่อง Moisture Balance CALIBRATE อุณหภูมิความร้อน(Temperature)

บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (Calibration Laboratory CO.,LTD หรือ CLC) สามารถให้บริการในการสอบเทียบเครื่องมือวัดทั้งภายในและนอกสถานที่ โดย Range ในช่วงอุณหภูมิที่เครื่องวัดความชื้นสามารถทำอุณหภูมิได้ ควรสอบเทียบอุณหภูมิตามการใช้งานจริง 1หรือ 2 point อาทิเช่น 80 องศาเซลเซียส , 105 องศาเซลเซียส , 120 องศาเซลเซียส

CALIBRATE น้ำหนักที่ตัวเครื่องอ่านค่า (Balance)

บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (Calibration Laboratory CO.,LTD หรือ CLC) สามารถให้บริการในการ สอบเทียบเครื่องมือวัด ทั้งภายในและนอกสถานที่ โดย Range ในช่วงน้ำหนักตั้งแต่หน่วย มิลลิกรัม, กรัม ไปจนถึง หน่วยกิโลกรัม ตาม SCOPE ของเครื่องชั่งที่ทางห้องปฏิบัติการแคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (CLC)ได้การรับรองมาตรฐาน ทั้ง ISO/IEC 17025:2017 SCOPE สมอ. และ ANAB

ISO/IEC 17025:2017 SCOPE สมอ.Range ตั้งแต่ 1mg to 2500 kg

 

สอบเทียบเครื่องมือวัด

รูป 1.1 รายละเอียดแนบท้ายใบรับรองห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (สถานภาพห้องปฏิบัติการถาวร)

 

สอบเทียบเครื่องมือวัด

รูป 1.2 รายละเอียดแนบท้ายใบรับรองห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (สถานภาพห้องปฏิบัติการถาวร)

สอบเทียบเครื่องมือวัด

รูป 2.1 รายละเอียดแนบท้ายใบรับรองห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (สถานภาพห้องปฏิบัติการนอกสถานที่)

สอบเทียบเครื่องมือวัด

รูป 2.2 รายละเอียดแนบท้ายใบรับรองห้องปฏิบัติการสอบเทียบ (สถานภาพห้องปฏิบัติการนอกสถานที่)

ISO/IEC 17025 SCOPE ANABRange ตั้งแต่ 1 mg to 4500 kg

 

สอบเทียบเครื่องมือวัด

ผู้เขียน Paemy Little

 

 

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา

บริการสอบเทียบด้านมวลและเครื่องชั่ง

—————

VDO l สอบเทียบ”เครื่องชั่ง”เอง ทำได้หรือไม่? มีวิธีอย่างไร

VDO l “เครื่องชั่ง” อยากปรับค่าเอง ทำอย่างไร