หากต้องการนำ Pressure Safety Valve มาสอบเทียบต้องทำอย่างไร

Pressure Safety Valve คืออะไร ???

            Pressure Safety Valve หรือ วาล์วนิรภัย เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเพื่อความปลอดภัยของระบบ โดยมีหน้าที่หลักคือระบายแรงดันภายในออกจากระบบ ซึ่งเครื่องมือวัดประเภท วาล์วนิรภัยจะทำงานเองโดยอัตโนมัติเมื่อแรงดันในระบบมีค่าแรงดันสูงกว่าค่าที่มีการตั้งไว้ โดย วาล์วนิรภัยจะใช้กับแรงดันที่เกิดจากของเหลวที่สามารถบีบอัดได้ (Compressible Fluid) เช่น ไอน้ำ หรือก๊าซ ซึ่งต้องมีการระบายแรงดันออกจากระบบอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดความเสียหายของท่อหรือถังที่อาจเกิดขึ้นได้

เครื่องมือวัด Pressure Safety Valve มีส่วนประกอบอะไรบ้าง

  1. Valve Body เป็นโครงสร้างที่ใช้ติดตั้งกับท่อหรือถัง โดยส่วนใหญ่จะผลิตจากเหล็กหล่อ หรือวัสดุอื่นๆตามการใช้งาน
  2. Disc โดย Disc จะทำหน้าที่รับแรงดันทั้งหมดไว้ มีลักษณะเป็นแผ่นกลมๆใช้กดปิดกั้นของเหลวไว้ โดยอาศัยแรงกดจากสปริง
  3. Stem เป็นส่วนที่รับแรงกดจากสปริงและส่งแรงกดไปยังแผ่น Disc โดยมีหน้าที่เป็นแกนบังคับให้ส่วนที่เคลื่อนไหวเคลื่อนที่ตามแนวแกน Stem
  4. Spring เป็นส่วนที่ก่อให้เกิดแรงต้านทานแรงดันที่แผ่น Disc เมื่อมีการ Adjust Screw เพื่อให้สปริงยืดหดตัวแตกต่างกันส่งผลให้แรงกดที่ Disc มีค่าแตกต่างกัน จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะใช้เพื่อกำหนดค่าแรงดันที่จะทำให้ Valve เกิดการระบาย
  5. Adjust Screw ใช้ปรับระยะยืดหดของสปริง จุดนี้จะเป็นการปรับตั้งค่าความดัน

วาล์วนิรภัยมีการทำงานอย่างไร

            Safety Valve โดยทั่วไปการทำงานของ เครื่องมือวัด วาล์วนิรภัย เมื่อมีความดันภายในระบบท่อหรือถัง มีค่ามากกว่าค่าแรงของความดันที่มีการตั้งไว้ (Set Pressure) แรงจากความดันที่เกิดขึ้นภายในที่กระทำต่อแผ่น Disc จะมีค่ามากกว่าที่แรงดันที่กดสปริง ทำให้แผ่น Disc เกิดการยกตัวขึ้น และระบายความดันส่วนเกินออกมา เมื่อความดันในระบบลดลงแล้ว แผ่น Disc ก็จะเคลื่อนที่เข้าสู่ตำแหน่งและรับความดันภายในเช่นเดิม

 

บริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด หรือ CLC  สามารถ สอบเทียบเครื่องมือวัด ได้ที่ Range เท่าใดบ้าง

            วาล์วนิรภัย สามารถ สอบเทียบเครื่องมือวัด ให้บริการ โดยได้รับการรับรอง Scope ISO/IEC17025:2017 จาก  ANSI National Accreditation Board (ANAB) ดังนี้

รายการสอบเทียบ Range วิธีการสอบเทียบ
Safety Valve (0 to 34.5) kPa

(34.5 to 103.4) kPa

(103.4 to 206.8) kPa

(206.8 to 689.5) kPa

(689.5 to 2 068) kPa

(2 068 to 3 447) kPa

(3 447 to 10 342) kPa

In house method: CLCCPPP-14 based on DKD – R6-1 by Comparison technique with Pressure Module

 

***ทาง CLC สามารถให้ บริการ สอบเทียบเครื่องมือวัดวาล์วนิรภัย ได้ทั้งรูปแบบ In Lab  และ Onsite
ซึ่งได้Scope  จาก  ANSI National Accreditation Board (ANAB) ทั้งรูปแบบ In Lab  และ Onsite***

Pressure Safety Valve,วาล์วนิรภัย,สอบเทียบเครื่องมือ,สอบเทียบเครื่องมือวัด

หากต้องการส่งเครื่องมือวัดวาล์วนิรภัยมาสอบเทียบต้องทำอย่างไร

  1. ควรกำหนดจุดค่าแรงดัน (Set Pressure) ที่ต้องการตรวจเช็ค ให้ตรงกับ Point ที่ใช้งานเป็นประจำ โดยปกติลูกค้าจะตั้งค่าแรงดัน อยู่ที่ 1  pointใช้งาน
  2. กรณีสอบเทียบเครื่องมือวัดครั้งแรกกับ CLC แนะนำให้ลูกค้าส่งรายละเอียดเครื่องมือมา Check กับห้องปฏิบัติการก่อน เช่น แบรนด์, โมเดล, Spec เครื่องมือที่ลูกค้าใช้งาน

 

ผู้เขียน Leader ลูกคิด

 

 

บริการสอบเทียบความดันและสุญญากาศ

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา