Volumetric flask คืออะไร พร้อมวิธีเตรียมก่อนการใช้งาน

ขวดวัดปริมาตร, Volumetric Flask

Volumetric Flask (ขวดวัดปริมาตร) คือ เครื่องมือวัดที่มีลักษณะเป็นเครื่องแก้วที่ใช้วัดปริมาตรของของเหลว ส่วนมากมักใช้ในห้องปฎิบัติการ หรือห้องทดลอง ใช้เพื่อเตรียมสารละลาย โดยลักษณะของเครื่องมือจะเป็นขวดทรงกลมก้นแบน มีจุกปิดด้านบนโดยจะมีขีดวัดปริมาตรที่บริเวณคอขวดเพียงขีดเดียว เพื่อบ่งชี้ว่าปริมาตรดังกล่าวมีความจุเท่าไหร่ หน่วยที่เครื่องมือจะเป็นมิลลิลิตร (ml)

ประเภทของขวดวัดปริมาตร

จะมีเพียงลักษณะเดียว แต่จะแบ่งความปริมาตรการใช้งาน โดยส่วนมากจะเป็นขนาด 50, 100, 250, 500, 1000 ml และมีขวดวัดปริมาตรปริมาตรจุถึง 2 ลิตรก็มี และจะแบ่งตาม CLASS ของมาตรฐานต่างๆ เช่น มาตรฐาน ASTM ที่เขากำหนดไว้ ยิ่ง CLASS ดีๆ แบบ CLASS A ค่าความแม่นยำของเครื่องมือก็จะมีมาก

ขวดวัดปริมาตร, Volumetric Flask

การใช้งาน Volumetric Flask (ขวดวัดปริมาตร)

  1. เตรียมสารละลายในบีกเกอร์ (Beaker) ก่อน
    ขั้นตอนแรกคือการเตรียมสารละลายที่ต้องการใน บีกเกอร์ (Beaker) ซึ่งเป็นภาชนะที่มีลักษณะกว้างและมักใช้สำหรับการผสมสารเคมีต่างๆ โดยสามารถผสมสารละลาย เช่น ผงเกลือหรือสารเคมีอื่นๆ กับตัวทำละลาย (เช่น น้ำ) เพื่อให้ได้สารละลายที่ต้องการ โดยควรใช้บีกเกอร์ที่มีขนาดเหมาะสมกับปริมาตรที่ต้องการเตรียม
  2. เทสารละลายในบีกเกอร์ลงในขวดวัดปริมาตร หลังจากที่สารละลายผสมเสร็จแล้ว ให้เทสารละลายจากบีกเกอร์ลงใน Volumetric Flask โดยค่อยๆ เทเพื่อหลีกเลี่ยงการหกหรือการเกิดฟองอากาศ ซึ่งอาจทำให้เกิดการวัดปริมาตรที่ไม่แม่นยำ ควรใช้การเทในทิศทางที่เหมาะสมและถ้าเป็นไปได้ให้ใช้กรวยช่วยในการเทสารละลาย เพื่อให้การเทลงในขวดวัดปริมาตรมีความสะดวกและหลีกเลี่ยงการหกเลอะเทอะ
  3. เติมน้ำ (หรือสารละลาย) จนถึงขีดสเกล
    เมื่อสารละลายถูกเทลงในขวดวัดปริมาตรแล้ว ให้เติมน้ำ (หรือสารละลายเพิ่มเติม) จนถึงขีดสเกลที่กำหนดไว้บนขวดวัดปริมาตร โดยปกติแล้วจะมีเครื่องหมายขีดที่บ่งบอกปริมาตรที่ชัดเจนที่คอของขวด เมื่อเติมน้ำจนถึงขีดสเกลนี้จะต้องระมัดระวังอย่างมาก เพื่อให้ได้ปริมาตรที่แม่นยำ
  4. อ่านค่าที่ท้องน้ำให้ถึงขอบขีดสเกล
    หลังจากเติมสารละลายหรือสารตัวทำละลายจนถึงขีดสเกลแล้ว ให้มองระดับของสารละลายที่คอขวด โดยให้ท้องน้ำ (ระดับของสารละลาย) ถึงขอบขีดสเกลที่กำหนดไว้ ซึ่งการอ่านค่าควรทำในลักษณะของการอ่านที่มุมมองตรงกับระดับท้องน้ำ โดยไม่ให้มีการบิดเบือนมุมมองจากการก้มมองหรือการมองในมุมที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในการอ่านค่า

    วิธีที่ดีที่สุดในการอ่านค่าคือให้มองในแนวนอนกับขอบขีดสเกลและระดับของน้ำ (ท้องน้ำ) ที่พอดีกับขอบสเกลที่ตรงที่สุด หลีกเลี่ยงการอ่านในมุมที่อาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการคำนวณปริมาตร

ทำไมถึงต้อง สอบเทียบเครื่องมือวัดขวดวัดปริมาตร

เพราะการที่เราจะเตรียมสารละลาย หรือกำหนดสารละลายแต่ละตัว แต่ละส่วนผสม ไม่ว่าจะส่วนผสมของยา หรือสารเคมีใดๆ เราต้องใส่ส่วนผสมในสูตรที่เราต้องตวงมาเป๊ะๆ เพื่อให้ได้มาตรฐาน และคุณภาพที่คงที่ เราจึงจำเป็นที่จะต้องตวงให้ได้ปริมาณเป๊ะๆ ฉะนั้นอุปกรณ์การวัดตวงทุกอย่าง ต้องสอบเทียบ เพื่อการันตีและเพื่อยืนยันค่าว่า ความจุของเครื่องแก้วนั้นๆ ยังให้ค่าที่ตรงอยู่ เพราะการใช้งานนานๆไป การผสมสารละลายที่เป็นสารเคมี หรือ ของเหลวที่มีความร้อนสูง ย่อมส่งผลต่อการกัดกร่อนของเครื่องแก้ว ซึ่งจะทำให้เครื่องแก้วอ่านค่าผิดไป หรือแม้กระทั่งตะกอนตะกลันที่ติดอยู่ภายในภาชนะก็มีผลทำให้ค่าความจุที่วัดได้นั้นอ่านค่าผิดไป ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องส่งเครื่องมือดังกล่าวมาสอบเทียบเพื่อยืนยันค่า

วิธีการตรวจเช็คเครื่องมือขวดวัดปริมาตรก่อนการสอบเทียบ

  1. ตรวจสอบกายภาพของเครื่องมือก่อนว่ามีรอย แตก หัก เสียหาย หรือบิ่นมาหรือเปล่า
  2. ล้างทำความสะอาดเครื่องมือก่อนทำการสอบเทียบ
  3. ปล่อยให้เครื่องมือแห้งตามธรรมชาติเราจะไม่ใช้ความร้อนในการเร่งให้เครื่องมือแห้ง
  4. สอบเทียบโดยการใช้น้ำกลั่นตวงใส่เข้าไปในปริมาตรที่ขีดสเกลกำหนด
  5. ดูที่ท้องน้ำว่าท้องน้ำอยู่ที่ขีดสเกลหรือไม่
  6. อ่านค่าจากเครื่องชั่งที่มีความละเอียดสูง (Micro Balance) แปลงค่ากลับไปหน่วยปริมาตร
  7. บันทึกค่าที่วัดได้
  8. ทำความสะอาดเครื่องมือและรอให้เครื่องมือแห้งตามธรรมชาติ
  9. นำเข้าสโตร์เพื่อเตรียมจัดส่งคืนลูกค้า

เครื่องมือวัดดังกล่าวทาง CLC (Calibration Laboratory) ได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025:2017 ครอบคลุมตั้งแต่ขนาดเล็ก จนถึงใหญ่ ทั้ง Scope ในประเทศ (สมอ.)และต่างประเทศ (ANAB)

Scope การสอบเทียบ Volumetric Flask คลิก

ข้อควรระวังในการใช้งาน

  1. ควรมีชั้นเก็บที่เหมาะสม เพื่อป้องกันเครื่องมือแตก
  2. ไม่ควรเก็บไว้ที่สูง เพราะอาจทำให้ร่วงหล่นลงมาได้
  3. หมั่นทำความสะอาดเครื่องมือหลังใช้งานสม่ำเสมอ เพราะหากมีฝุ่นมากอาจทำให้สารละลายที่ผสมนั้นปนเปื้อนได้

MKS

 

 

 

 

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา

บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด  ซื้อเครื่องมือวัด