การดูแลรักษาเครื่องมือวัดแรงบิด (Torque Gauge) และการสอบเทียบทำอย่างไร

Torque (แรงบิด) คืออะไร

Torque (แรงบิด) คือ แรงที่กระทำต่อวัตถุ ส่งผลให้วัตถุหมุนบิดไปตามทิศทางที่โดนกระทำ (แรง x ระยะทางที่วัดห่างจากจุดหมุนในแนวตั้งฉาก) แรง Torque มีหน่วยอังกฤษเป็น ปอนด์-นิ้ว หรือ ปอนด์-ฟุต แต่ในทางวิศวกรรมมักนิยมใช้ในหน่วย SI คือ Nm

Torque (แรงบิด) ที่นิยมวัดก็มี 3 แบบคือ

  • ฟุตปอนด์ (ft×lb): โดยตัวเลขที่บอกจะเป็นความยาวของรัศมีการหมุนที่มีแรงผลัก 1 ปอนด์
  • นิวตันเมตร (N×m):โดยตัวเลขที่บอกจะเป็นแรงผลักในหน่วยนิวตันที่รัศมีการหมุน 1 เมตร
  • กิโลกรัมเมตร (kgf×m): โดยตัวเลขที่บอกจะเป็นแรงผลักใบหน่วยกิโลกรัมที่รัศมีการหมุน 1 เมตร

Torque Gauge, Torque Tester, เครื่องวัดแรงบิด, เครื่องมือวัดแรงบิด, สอบเทียบเครื่องมือวัด

Torque Gauge

เครื่องมือวัดแรงบิด (Torque) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดและการบันทึกแรงบิดในระบบหมุนต่างๆ เช่น เครื่องยนต์, เพลาข้อเหวี่ยง, เกียร์, ใบพัด, จักรยาน เหวี่ยงหรือฝาครอบเครื่องทดสอบแรงบิด แรงบิดคงที่ค่อนข้างวัดได้ง่าย หรือใช้วัดแรงบิดแบบไดนามิกในมืออื่นๆ ตามค่าแรงบิดที่กำหนด เครื่องมือวัดแรงบิดนี้ ในปัจจุบันมีทั้งแบบ mechanical และแบบดิจิตอล เป็นเครื่องมือวัดที่ใช้ในงานควบคุมคุณภาพสินค้า (QC) หลายประเภท โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งมีการใช้ในการประกอบชิ้นส่วนของผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอุปกรณ์ยานยนต์ ดังนั้นจึงต้องมั่นใจในค่าของแรงบิดที่ประกอบชิ้นงานว่าถูกต้องเหมาะสม

Torque Gauge, Torque Tester, เครื่องวัดแรงบิด, เครื่องมือวัดแรงบิด, สอบเทียบเครื่องมือวัด

วิธีการวัดแรงบิด คือ การวัดมุมบิดหรือขั้นตอนการวัดการเปลี่ยนแปลงโดยมุมบิดที่เกิดจากแรงบิดที่ใช้เป็นวัดโดยใช้เซ็นเซอร์ตำแหน่งเชิงมุมสองและการวัดมุมเฟสระหว่างสิ่งนั้นออกมาเป็นค่าแรงบิดในรูปหน่วยวัด (นิวตันต่อเมตร, กิโลกรัม.ฟอดน์ต่อเซนติเมตร หรือ ปอนด์ต่อนิ้ว) และยังสามารถตรวจสอบแรงบิดได้ทั้งด้าน CW (ลักษณะการหมุนแบบตามเข็มนาฬิกา) CCW (การหมุนทวนเข็มนาฬิกา)

การดูแลรักษา เครื่องมือวัดแรงบิด

ส่วนประกอบหลักของ Torque Gauge คือสปริงและลูกปืนหรือบล็อกยึด ซึ่งสปริงจะมีอายุการใช้งานของแต่ละอันที่แตกต่างกัน โดยที่สปริงอาจสูญเสียความยืดหยุ่นได้ถ้าหากถูกยืดหรือบีบอัดมากไป ส่วนลูกปืนหรือบล็อกยึดนั้นหากมีการอยู่ผิดที่นานๆอาจเกิดการสึกหรอ หรืออาจเคลื่อนไปอยู่ผิดตำแหน่งทำให้ค่า Torque ไม่ตรงได้

  • ควรจัดเก็บให้แยกจากเครื่องมือช่างทั่วไปและห้ามขว้าง ห้ามโยนเครื่องมือวัด
  • ควรเก็บ Torque Gauge ไว้ในกล่องทุกครั้ง หลังจากการเลิกใช้งาน และวางห่างจากบริเวณที่มีความชื้น
  • ก่อนเก็บเครื่องมือวัดควรตั้งค่า Torque ให้กลับมาที่จุดต่ำสุดเพื่อเป็นการคลายสปริง (แต่ไม่ควรตั้งค่าไว้ต่ำกว่าค่าต่ำสุด)
  • ระมัดระวังไม่ให้ทำเครื่องมือวัดตก เพราะการตกอาจเกิดแรงกระแทกที่ทำให้ค่า Torque คลาดเคลื่อนได้ทันที
  • ไม่ควรแกะ หรือรื้อชิ้นส่วน Torque Gauge เพื่อทำการซ่อมแซมด้วยตนเอง ควรส่งให้ช่างผู้ชำนาญการเป็นผู้ซ่อม เนื่องจากหลังผ่านการซ่อมแซมเครื่องมือวัดควรมีการตรวจสอบค่าทอร์คใหม่ทุกครั้ง
  • การ สอบเทียบเครื่องมือวัด จำเป็นต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และเป็นความรับผิดชอบของเจ้าของเครื่องมือ แนะนำให้มีการสอบเทียบอย่างน้อยที่สุด 1 ปีหรือระยะเวลสั้นกว่านั้น ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ สภาพแวดล้อม และการดูแลรักษา
  • การสอบเทียบประแจปอนด์ ควรส่งสอบเทียบกับห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน ISO/IEC 17025 เท่านั้น

การ สอบเทียบเครื่องมือวัด ที่เกี่ยวข้องกับแรงบิด Torque Gauge ปัจจุบันเทคโนโลยีของ เครื่องวัดแรงบิด (Torque Tester) นั้นสามารถเลือกทิศทางในการวัดได้ทั้งด้าน CW (ลักษณะการหมุนแบบตามเข็มนาฬิกา) CCW (การหมุนทวนเข็มนาฬิกา) อีกทั้งยังสามารถแสดงหน่วยการวัดได้หลากหลาย (in: oz, in×lb, ft×lb, N×m, cN×m, kgf / cm, gf×cm) ตามการใช้งาน ซึ่งทาง CLC หรือ Calibration Laboratory มีให้บริการในส่วนนี้ โดยสามารถสอบเทียบได้ตั้งแต่ 0-2000 Nm เลยทีเดียว

โดย Standard ที่ใช้ในการสอบเทียบเป็น Torque Transducer, Torque Calibrator, Torque Indicator ตามแต่ละย่านการใช้งาน และยังได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.) และ ISO/IEC 17025:2017 จากหน่วยงาน ANSI National Accreditation Board (ANAB)

มาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(สมอ.)

มาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จากหน่วยงาน ANSI National Accreditation Board (ANAB)

ผู้เขียน Pamiie Little

 

 

ไขควงทอร์คแตกต่างจากไขควงธรรมดาทั่วไปอย่างไร

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา

ซื้อเครื่องมือด้านแรงบิดและแรง   บริการสอบเทียบด้านแรงบิดและแรง