Load Cell แต่ละแบบใช้งานยังไง แบบไหนเหมาะสมกับงานของเรา

 Load Cell เป็นอีกเครื่องมือวัด หรือ อุปกรณ์ ที่มีบทบาทสำคัญกับอุตสาหกรรมต่างๆ มีให้เลือกใช้มากมายหลายแบบ บางท่านอาจจะงงว่า เจ้าเครื่องมือวัด Load Cell ที่เห็นตามโรงงานต่างๆ หรือ ตามอินเตอร์เน็ตนั้นแต่ละแบบใช้งานยังไง แบบไหนเหมาะสมกับงานของเรา วันนี้เรามาดูกันครับว่า โหลดเซลล์ ชนิดต่างๆมีหน้าตาและคุณสมบัติอย่างไรบ้าง

ในการเลือกใช้ Load Cell แต่ละชนิดต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทิศทางของแรง Force (Tension , Compression), Range ของตัว Load Cell, รูปทรง และ Accuracy เป็นต้น เรามาดูกันครับว่า ถ้าแยกปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้ Load Cell แยกไปเป็นข้อๆ จะเป็นอย่างไรกันบ้าง เช่น

  • เรื่องทิศทางของแรง Force (Tension, Compression) ต้องดูหน้างานที่ต้องการใช้งานว่าต้องการ Load Cell ใช้งานในทิศทางไหน (Tension, Compression) แล้วค่อยเลือก Load Cell ที่มีคุณสมบัติที่ต้องการ เช่น หน้างานต้องการวัดค่าทิศทางของแรง(Force) ด้านกด (Compression) ก็ควรเลือก Load Cell ที่ตรงกับทิศทางของแรง(Force) ที่ต้องการ เพราะถ้าเลือก Load Cell มาผิด อาจทำให้ได้รับความเสียหายได้
  • Range ที่ต้องการใช้งาน ควรเลือกหา Load Cell มาใช้งานให้ครอบคลุมกับน้ำหนัก หรือ แรง ที่ต้องการวัด เพื่อการใช้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อ Load Cell แต่ก็ไม่ควรเผื่อ Range ของตัว Load Cell ให้มากกว่างานที่จะวัดมากจนเกินไป เพราะจะมีผลกับเรื่องค่าความถูกต้องและแม่นยำ (Accuracy)ในการใช้งานได้(เลือกให้ตรงกับย่านที่ใช้)
  • ลักษณะของสัญญาณ Output สัญญาณดังกล่าวมีให้เลือกอยู่สองชนิด คือ แบบ Digital และ Analog สัญญาณ Digital ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายจะเป็น Modbus Protocol  และส่วนสัญญาณแบบ  Analog ที่พบเห็นได้บ่อย จะเป็น 2mV/V และ 3mV/V เป็นต้น
  • วัสดุของ Load Cell มาว่ากันเรื่องของวัสดุของตัว Load Cell กันบ้าง โหลดเซลล์ จะทำมาจากวัสดุเช่น Aluminum, Stainless Steel, Steel เป็นต้น ซึ่งวัสดุแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่
    กับความเหมาะสมของแต่ละหน้างาน แต่ที่พบเจอกันบ่อยจะเป็น Steel มากกว่า แต่ก็มีอุตสาหกรรมหรือหน้างานบางที่นิยมใช้ Load Cell ที่ทำมาจากวัสดุ Stainless Steel เพราะหน้างานอาจจะเจอความชื้นค่อนข้างสูง เสี่ยงต่อการเกิดสนิม ส่วนวัสดุประเภท Aluminum มีน้ำหนักที่เบากว่าทั้ง Steel และ Stainless Steel พอสมควร จึงเหมาะกับงานที่ต้องการลดน้ำหนักรวมของเครื่องจักรหรือในจุดที่ติดตั้งได้

รูปทรงของ Load Cell ชนิดต่างๆ

  1. Bending Beam Load Cell: รองรับน้ำหนักได้สูงสุดไม่เกิน 500 Kg. ส่วนใหญ่นิยมใช้ติดตั้งกับเครื่องชั่ง (ทิศทางของแรงด้านกด)

Load Cell สอบเทียบเครื่องมือวัด Calibrate

  1. Canister Load Cell: รองรับน้ำหนักได้ค่อนข้างสูง บางตัวได้สูงถึง 20 Ton ส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งเข้ากับเครื่องชั่งขนาดใหญ่เช่น ชั่งรถบรรทุก (ทิศทางของแรงด้านกด)

Load Cell สอบเทียบเครื่องมือวัด Calibrate

  1. Pancake Load Cell: รองรับน้ำหนักได้สูงมาก ได้สูงสุดถึง 500 Ton (ทิศทางของแรงด้านกดและดึง)

Load Cell สอบเทียบเครื่องมือวัด Calibrate

  1. S-beam load cell: รองรับน้ำหนักได้สูงสุดประมาณ 5000 Kg. (ทิศทางของแรงด้านกดและดึง)

Load Cell สอบเทียบเครื่องมือวัด Calibrate

  1. Shear beam load cell: รองรับน้ำหนักได้สูงสุดประมาณ 10 Ton พบได้บ่อยกับอุตสาหกรรมที่มีถังผสมวัถุดิบ เช่น Silo, Hopper Scale (ทิศทางของแรงด้านกด)

Load Cell สอบเทียบเครื่องมือวัด Calibrate

Accuracy ค่าความถูกต้อง ค่าความถูกต้องของ Load Cell ต้องหาข้อมูลจากผู้ผลิตรายนั้นๆ จะมาในรูปแบบ เช่นค่า Linearity, Hysteresis โดยจะแสดงเป็น % F.S. (% of full scale) หรือบางผู้ผลิตใช้เป็น % R.O.(% Rate Output) เป็นต้น

การดูแลรักษาและยืดอายุการใช้งาน Load Cell

  • ควรหมั่นตรวจเช็ค Load Cell ให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  • ไม่ควรใช้งาน Load Cell ที่สภาพไม่สมบูรณ์ เพราะจะทำให้เกิดอันตรายทั้งต่อผู้ปฎิบัติงานและตัว Load Cell
  • ไม่ควรใช้งาน Load Cell จน Over Range เพราะจะทำให้ Load Cell ได้รับความเสียหาย
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน Load Cell วัสดุที่ทำมาจาก Steel บริเวณหน้างานที่มีความชื้นสูงหรือมีละอองน้ำ เพราะจะทำให้ Load Cell เกิดสนิม
  • ต้องแน่ใจว่าติดตั้ง Load Cell ตรงกับทิศทางของแรง (Force) ที่ต้องการวัดจริงๆ (Tension หรือ Compression) ไม่อย่างนั้นอาจเกิดความเสียหายได้
  • ไม่ควรแก้ไขดัดแปลง Load Cell และอุปการณ์ที่เกี่ยวข้องด้วยตนเอง ควรดำเนินการโดยผู้ชำนาญการโดยตรง จะถูกต้องและปลอดภัยกว่า
  • และที่สำคัญควรหมั่นส่ง Load Cell มาสอบเทียบกับห้องปฎิบัติการที่ได้รับมาตรฐาน หรือให้ทางห้องปฎิบัติการเข้าไปสอบเทียบ Onsite ก็ทำได้ตามความเหมาะสม

 

Load Cell สอบเทียบเครื่องมือวัด Calibrate

รูปตัวอย่าง : หัว Load Cell Standard ของบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด

     ทางบริษัท Calibration Laboratory จำกัด (CLC) ของเรา มีบริการ สอบเทียบ Load Cell  Range ที่ได้รับรอง Accredit 17025(สมอ. และ ANAB) ตั้งแต่ 0.05 to 220 kN (Tension) และ 0.05 to 500 kN (Compression) ในรูปแบบ In Lab และ On site   ทางห้องปฎิบัติการยินดีให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่อง Load Cell โดยเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์และความชำนาญเรื่องนี้โดยเฉพาะ ลองติดต่อสอบถามเข้ามากันได้ตามช่องทางติดต่อต่างๆของเรา หรือ จะติดต่อเซลล์ประจำพื้นที่ก็ได้เช่นกัน ทางเรายินดีบริการทุกท่านครับ

หวังว่าบทความเกี่ยวกับ Load Cell(พอสังเขป) ในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้ที่สนใจไม่มากก็น้อย ผิดพลาดประการใดก็ต้องกราบขออภัยกันไว้ด้วย แล้วพบกันใหม่ในบทความครั้งต่อไป ส่วนจะเป็นเรื่องอะไรนั้น..ต้องคอยติดตามครับ ขอบคุณครับ

ผู้เขียน CHOK_AM

 

 

ขอใบเสนอราคา     ติดต่อเรา

ซื้อเครื่องมือด้านแรงบิดและแรง   บริการสอบเทียบด้านแรงบิดและแรง