คู่มือการสอบเทียบ Dry Block ที่คุณต้องรู้! วิเคราะห์ทุกมิติของความแม่นยำ

การสอบเทียบ Dry Block

Dry Block สอบเทียบอะไรบ้าง?

                การสอบเทียบ Dry Block โดยปกติแล้วจะแยกเป็น 2 ลักษณะคือเพื่อหาความถูกต้องของตัวแสดงผลของ Dry Block (Accuracy Test ) และเพื่อหาประสิทธิภาพของ Dry Block (Evaluation Test)

1.Accuracy Test

การสอบเทียบ Dry Block เพื่อหา Accuracy Test จะใช้ Standard Thermometer จุ่มลงไปยังก้นหลุมของ Dry Block เพื่อเปรียบเทียบผลกับตัวแสดงผลของ Dry Block

รูปที่  1 แสดงการสอบเทียบเพื่อหา Accuracy Test

 

2. Evaluation Test

การสอบเทียบ Dry Block เพื่อหา Evaluation Test ประกอบด้วย

2.1 การประเมินความเสถียรของอุณหภูมิตามเวลา (Stability with time)

2.2 การประเมินความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวรัศมี (Radial Inhomogeneity)

2.3 การประเมินค่าความเป็นหนึ่งเดียวกันของอุณหภูมิแนวแกน (Axial Inhomogeneity)

2.4 การประเมินผลกระทบของอุณหภูมิเนื่องจากภาวะโหลด (Loading Effect)

การประเมินความเสถียรของอุณหภูมิตามเวลา (Stability with time) และการประเมินความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวรัศมี (Radial Inhomogeneity)

สอบเทียบโดยใช้ Standard Probe 2 ตัว จุ่มลงยังก้นหลุมของ Insert ในหลุมที่ห่างกันมากที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนครอบคลุมอุณหภูมิของหลุมอื่นๆทั้งหมด เพื่อหาค่าความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวรัศมีและสามารถนำข้อมูลเดียวกันมาประเมินหาค่าความเสถียรของอุณหภูมิตามเวลา โดยที่การประเมินความเสถียรของอุณหภูมิตามเวลานั้นจะต้องมีช่วงเวลาที่เสถียรแล้วไม่น้อยกว่า 30 นาที

.

รูปที่ 2 แสดงการสอบเทียบเพื่อหา Stability with time และ Radial Inhomogeneity

การประเมินค่าความเป็นหนึ่งเดียวกันของอุณหภูมิแนวแกน (Axial Inhomogeneity)

หลังจากสอบเทียบความแตกต่างของอุณหภูมิในแนวรัศมี จะดึง Standard Probe ขึ้นตามแนวแกนตั้งหนึ่งตัว ที่ระยะ 1, 2, 3 cm ตามลำดับ เพื่อประเมินผลต่างของอุณหภูมิตามแนวแกนเปรียบเทียบกับตำแหน่งก้นหลุม

รูปที่ 3 แสดงการสอบเทียบเพื่อหาAxial Inhomogeneity ที่ระยะ 1, 2, 3 cm ตามลำดับ

การประเมินผลกระทบของอุณหภูมิเนื่องจากภาระโหลด (Loading Effect)

สอบเทียบโดยใช้ Standard Probe 2 ตัว จุ่มลงยังก้นหลุมของ Insert ในหลุมที่ห่างกันมากที่สุดและนำ Dummy Probe จุ่มลงไปยังหลุมที่เหลือที่ตำแหน่งก้นหลุม เพื่อประเมินผลต่างของอุณหภูมิระหว่างการใช้งาน Dry Block แบบมีโหลดเพียงหนึ่ง Probe และการใช้งาน Dry Block แบบมีโหลดเต็มทุกหลุม

รูปที่ 4 แสดงการสอบเทียบเพื่อหา Loading Effect

* เครื่องมือที่ทาง CLC สามารถสอบเทียบได้จะต้องมีขนาดของ Insert ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 mm อย่างน้อย 1 หลุม เนื่องจาก Standard Probe มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 mm ในการสอบเทียบเพื่อหาความถูกต้องของตัวแสดงผล (Accuracy Test) และหากต้องการ Accredit จะต้องมี Insert ที่มีหลุมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 6 mm มากกว่า 2 หลุมในการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ (Evaluation Test)

 

ผู้เขียน L3