เครื่อง CMM คืออะไร มีประเภทใดบ้าง

เครื่องมือวัด Dimension CMM สอบเทียบเครื่องมือวัด Calibration Lab_02

ในปัจจุบันนี้ภาคอุตสาหกรรมของผู้ผลิต ที่ผลิตชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ หรือแม่พิมพ์ต่างๆ นอกจากจะต้องแข่งขันกันในเรื่องการส่งมอบงานที่ตรงเวลาที่กำหนดแล้ว มาตราฐานการตรวจวัดคุณภาพงานเพื่อส่งต่อไปยังลูกค้าปลายทางนั้นก็เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ชิ้นงานในปัจจุบันนี้ ที่มีรูปทรงที่ซับซ่อน ขนาดเล็กลงมากและหลากหลายมิติมากขึ้น จึงทำให้ผู้ผลิตต้องปรับตัวและเข้มงวดในการควบคุมด้านคุณภาพการวัดขนาดของชิ้นงานให้ถูกต้องตามแบบที่ลูกค้ากำหนดอย่างเคร่งคัด ดังนั้นจึงต้องมีผู้ช่วยหรือเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพและความแม่นยำสูงไว้ค่อยเช็คงาน แล้วเครื่องมืออะไรล่ะที่จะช่วยในการวัดงานด้านมิติได้ง่ายขึ้นและประหยัดเวลาของผู้ใช้งานล่ะ ??? วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเครื่องมือไฮเทคอันทันสมัยชนิดนี้กัน นั้นคือ!!! เครื่อง CMM (Coordinate Measuring Machine) หรือเครื่องมือวัด 3 มิติ

เครื่อง CMM (Coordinate Measuring Machine) หรือเครื่องมือวัด 3 มิติ

เป็นเครื่องมือวัดชิ้นงานรูปทรงต่างๆ ที่ซับซ่อนกันได้หลากหลายมิติ สามารถวัดงานได้ทั้งแกน X axis, Y axis และ Z axis วัดค่าและแสดงผลได้แบบ 3D แบบ Manual (ปรับค่าเอง) แบบ CMC (อัตโนมัติ) และแบบเคลื่อนที่ ติดตั้งโปรแกรมเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลค่าการวัด การคำนวณและการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการเปลี่ยนใช้ฟังก์ชั่นต่างๆ โดยใช้ระบบสัมผัส Touch probe มีความละเอียดและแม่นยำสูง จึงทำให้เครื่อง CMM ได้ถูกนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมทุกประเภท โดยเฉพาะอุตสาหกรรมรถยนต์และอุตสาหกรรมแม่พิมพ์

ข้อดี – เครื่อง CMM ช่วยประหยัดเวลาในการวัดและวิเคราะห์ข้อมูลได้รวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำสูง ลดจำนวนเครื่องมือวัดที่ไม่จำเป็น ลดความยุ่งยากในการวัดและการวิเคราะห์ข้อมูลลง

ข้อเสีย – เป็นเครื่องมือวัดที่มีราคาค่อนข้างสูง เครื่องค่อนข้างมีขนาดใหญ่ เปลืองพื้นที่ในการวางเครื่อง

หน่วยในการวัด ของเครื่องมือวัด 3 มิตินี้ เป็นหน่วยวัดในด้าน Dimension เป็นหลักเช่น mm. (มิลลิเมตร), um. (ไมครอน)

ประเภทของเครื่องมือวัด 3 มิติ (CMM) นั้น

แบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักด้วยกัน คือ แบบไม่สัมผัส และแบบสัมผัส

ประเภทแรกเครื่อง CMM แบบไม่สัมผัส ในปัจจุบันนี้ภาคอุตสาหกรรมนั้น ชิ้นส่วนมีขนาดเล็กลงมาก และมีความละเอียดสูงขึ้น เครื่องมือวัดสามมิติแบบไม่สัมผัสจะใช้วิธียิงเลเซอร์สแกนวัดค่าชิ้นงาน ซึ่งมีความเม่นยำสูง จึงมีความต้องการจากตลาดมากขึ้นแต่ข้อเสียคือราคาค่อนข้างสูง

 

จีนที่ดีที่สุดเลเซอร์ Cmm ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายและโรงงาน - ขายส่งเลเซอร์ Cmm ราคาถูกเพื่อขาย - Bolaier
รูปที่ 1 เครื่อง CMM แบบไม่สัมผัส (Laser CMM)

 

 

Inspection equipment-CMM
รูปที่ 2 เครื่อง CMM แบบสัมผัส (CMM with Ball probe)

 

ในส่วนของประเภทที่สองเครื่อง CMM แบบสัมผัส นั้นเป็นที่นิยมใช้ในประเทศไทยกันอย่างแพร่หลาย โดยใช้หัววัดแบบ Ball Probe จำเป็นต้องสัมผัสกับชิ้นงานโดยตรง จึงมีความเสี่ยงอาจทำให้ชิ้นงานเป็นรอยอยู่บ้าง ซึ่งมีกันหลากหลายชนิดด้วยกัน โดย CMM แต่ละชนิดจะมีรูปร่างที่แตกต่างกัน เครื่อง CMM ที่มีความถูกต้องและดีที่สุดจะเป็นชนิด Fixed Bridge (รูปที่ 2.3 ) ซึ่งเป็นแบบที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากการออกแบบให้โต๊ะของเครื่อง CMM เคลื่อนที่ด้วยบอลสกรู (Ball Screw) ช่วยให้ค่าความคลาดเคลื่อนจากการเคลื่อนที่ได้ช้าลงและละเอียดกว่าแบบอื่นๆ ทั้งนี้เครื่อง CMM แต่ละแบบนั้น จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นผู้ใช้งานจะต้องรู้วิธีการหาค่าที่ถูกต้องของการวัดที่เหมาะสมกับลักษณะของชิ้นงานแต่ละชิ้น จากนั้นจึงค่อยเลือกชนิดของเครื่อง CMM อีกที

 
รูปชนิดของเครื่องมือ CMM สอบเทียบเครื่องมือวัด Calibration Lab_01

 

**ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูลภาพ http://eng.sut.ac.th/me/2014/document/LabManuIndAuto/A.pdf
 

หลักการทำงานและวิธีการใช้งานของเครื่องมือวัด 3 มิติ (CMM)

เครื่องวัดชนิดนี้ มีความละเอียดสูง มีความละเอียดประมาณ 0.0001 mm สามารถวัดได้ 3 แกน คือ แนวระนาบ 2 แกน และแนวดิ่ง 1 แกน ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยระบบแรงดันลมในการควบคุมการทรงตัวของโต๊ะ และช่วยลดแรงสั่นสะเทือนจากปัจจัยภายนอกได้ ซึ่งลมที่อัดเข้ามาจะมาพร้อมกับไอน้ำ ทำให้เกิดความชื้นขึ้น จึงมีความเสี่ยงทำให้ระบบภายในอาจเป็นสนิมได้ เครื่องวัดแบบ 3 มิติทุกรุ่นจึงมีตัวกรอง ซึ่งช่วยในการกรองระบบภายในให้เป็นอากาศแห้งได้ โดยในการเคลื่อนที่ทั้ง 3 แกนนั้น สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยระบบ อัตโนมัติ (Automatic) และจอยสติก (Joystick)

 

 

Laser Interferometer ของบริษัทฯ ที่ใช้เป็น Standard สอบเทียบให้กับลูกค้า

ส่วนวิธีการใช้งานจะอธิบายคร่าวๆ คือต้องสร้างจุดอ้างอิงหรือ datum ในชิ้นงานก่อน แล้วไปแตะจุดชิ้นงานจริงที่เราต้องการวัดตามแบบ drawing อ้างอิง วัดชิ้นงานไปในแนวแกน x แกน y และ แกน z ให้ครบทั้งสามแกน เครื่องก็จะสามารถคำนวณและวิเคราะห์สรุปค่าออกมาเป็น report

 

ข้อควรระวังในการใช้งาน 

  • ควรเคลื่อนย้ายโพรบไปตำแหน่งที่ปลอดภัยทุกครั้งก่อนและหลังการวางชิ้นงาน เพื่อหลีกเลี่ยงชิ้นงานไปกระแทกเข้ากับโพรบซึ่งมีความเปราะบาง อาจจะทำให้แตกหักเสียหายได้ง่าย
  • เมื่อเครื่องทำงานหรืออยู่ในโหมดสแตนด์บาย ไม่ควรนั่งบน worktable
  • ไม่นำอวัยวะเข้าไปอยู่บนโต๊ะในลักษณะกีดขว้างการทำงาน ขณะที่เครื่องกำลังทำงานอยู่
  • ทำความสะอาดเครื่องมือทุกครั้งที่เลิกใช้งานเครื่อง
  • หยุดใช้ทันทีเมื่อมีสิ่งผิดปกติกับเครื่องและให้ติดต่อตัวแทนจำหน่าย เพื่อเข้ามาแก้ไขปัญหาให้
  • ควรมีการต่อสายดินเพื่อป้องกันอุบัติเหตุไฟรั่ว ซึ่งอาจก่อให้เกิด อันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน
  • ควรเพิ่มชุดสำรองจ่ายไฟเพื่อป้องกันในกรณีไฟตก ซึ่งนำไปสู่การเสียหายหรือชำรุดของเครื่องมือวัดได้
  • ควรเพิ่มชุดกรองอากาศอีกจุด เพื่อป้องกันปัญหาความชื้นเข้าระบบ เป็นเหตุทำให้เครื่องวัดแบบ 3 มิติขัดข้องในการใช้งาน

สิ่งสำคัญที่สุดคือ ควรส่งสอบเทียบเครื่องมือวัด 3 มิติทุกๆปี โดยบริษัทแคริเบรชั่น แลบอราทอรี่ จำกัด
ได้รับการรับรอง Accredit 17025 ทั้ง สมอ.และ ANAB ในการสอบเทียบเครื่อง CMM ได้ทั้งแกน X,Y,Z ตั้งแต่ 0-1000 mm

 

เครื่อง CMMของบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด

 

 

Credit By Timnorton

 

GRANITE SURFACE PLATE (โต๊ะระดับหินแกรนิต) และการเลือกวิธีการสอบเทียบ

 บริการสอบเทียบด้านมิติ

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา