ทำความรู้จักกับ เครื่องมือวัดละเอียด 3 แกน (Layout Machine) วัดรถยนต์ได้ทั้งคัน!

สอบเทียบเครื่องมือวัด,layout machine,เครื่องมือวัดละเอียด 3 แกน,สอบเทียบเครื่องมือ

ทำความรู้จักกับ เครื่องมือวัดละเอียด 3 แกน (Layout Machine) วัดรถยนต์ได้ทั้งคัน!

เครื่องมือวัด Layout Machine เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ต้องมีการ สอบเทียบเครื่องมือวัด เป็นประจำ เพื่อมั่นใจได้ว่าเครื่องยังให้ค่าที่เที่ยงตรง  ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้งานในการวัดได้อย่างหลากหลายรูปแบบ มีให้เลือกใช้งานตามลักษณะงาน สามารถวัดได้ทั้งแนวแกน X, แนวแกน Y และแนวแกน Z ลักษณะการทำงานของตัวเครื่องมือนั้น เป็นแบบ Manual โดยเคลื่อนตัวผ่านแท่นหิน (Granite) หรือแท่นเหล็ก (Iron) โดยในแต่ละแนวแกนจะมีแถบ Scale เป็นตัวอ่านค่า เครื่องมือชนิดนี้เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งสามารถทำการวัดรถยนต์ได้ทั้งคัน

โดย เครื่องมือวัดละเอียด 3 แกน จะมีหน่วยวัดดังนี้

  1. มิลลิเมตร (mm)
  2. นิ้ว (inch)

การเลือกใช้หน่วยวัดขึ้นอยู่กับการใช้งาน

ประเภทของ เครื่องมือวัดละเอียด 3 แกน  (Layout Machine)

  1. แบบดิจิตอล (Digital) ชนิดนี้จะนิยมใช้อย่างแพร่หลายเนื่องจากง่ายต่อการใช้งานและการอ่านค่า
  2. แบบ Scale ชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเป็นเครื่องมือรุ่นเก่าโดยจะมีแถบ Scale ติดอยู่ทั้ง 3 แนวแกน ค่อนข้างยากต่อการใช้งานจึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก

การใช้ เครื่องมือวัด ที่ถูกวิธี

ในการใช้งานวัดชิ้นงานในแต่ละครั้งต้องแน่ใจว่าได้ทำการ Alignment  ชิ้นงานได้ถูกต้องตามจุดอ้างอิงที่ Drawing ได้กำหนดไว้เพื่อให้ได้ผลการวัดนั้นออกมาถูกต้องและแม่นยำที่สุด รวมไปถึงแนวแรงที่หัว Probe กระทำกับตัวชิ้นงานนั้นต้องทำมุม 90 องศากับตัวชิ้นงานเสมอ

การตรวจสอบสภาพเครื่องวัดละเอียด 3 แกน

  1. ตรวจสอบการทำงานการเคลื่อนตัวของแนวแกนทั้ง 3 แนวแกนว่าต้องสามารถอ่านค่าได้ครบจนสุดตลอดทั้งแนวแกน
  2. ตรวจสอบสภาพของพื้นผิวโต๊ะระดับว่ามีคราบสนิมหรือคราบน้ำมันติดอยู่หรือไม่
  3. ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์เสริมอื่นๆของเครื่องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน

ข้อควรระวังในการใช้งาน

  1. ระมัดระวังอย่าให้วัสดุที่มีความเป็นแม่เหล็กโดนบริเวณที่เป็นแถบ Linear Scale เพราะจะทำให้แถบ
    Linear Scale เกิดความเสียหาย
  2. อย่าให้เกิดคราบสนิมบนชิ้นส่วนต่างๆของตัว เครื่องมือวัด เพราะจะส่งผลต่อการวัดงานและจะทำให้ชิ้นส่วนเกิดความเสียหาย
  3. ระมัดระวังการชนหรือกระแทกกับตัวชิ้นงาน
  4. ระมัดระวังการกระแทกที่ทำให้เกิดรอยบิ่นบนโต๊ะระดับ เพราะจะส่งผลต่อผลการวัด หากทำการ Alignment โดยใช้โต๊ะระดับเป็นจุดอ้างอิงในการวัดชิ้นงาน

วิธีการที่ใช้ในการ สอบเทียบเครื่องมือวัด

โดยในการ สอบเทียบ เครื่องวัดละเอียด 3 แกน จะสอบเทียบเป็นสองส่วนดังนี้

  1. แกนวัดงานจะทำการ สอบเทียบเครื่องมือวัด โดยใช้ Laser Interferometer (Linear Measurement) โดยจะ สอบเทียบเครื่องมือ แบบ Non-Contact ทำการติดตั้งตัว Laser Interferometer เข้ากับแกนของเครื่องวัดละเอียด 3 แกน
    และทำการ Move เพื่อทำการเก็บค่า โดยทำจนครบทุกแนวแกน
  2. โต๊ะระดับสอบเทียบโดยใช้เครื่องมือ STD เป็น Electronic Level ในการวัดหาค่าความเรียบของโต๊ะระดับ

ผู้เขียน Tom

 

 

สอบเทียบเครื่องมือวัด Dimension

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา