วิธีการใช้งาน Radius Gauge (เกจวัดรัศมี) และการสอบเทียบเครื่องมือวัด

Radius Gauge (เกจวัดรัศมี)

หรืออีกชื่อหนึ่งคือ เกจวัดรัศมี เป็น เครื่องมือวัด ที่ใช้วัดความโค้งของชิ้นงาน มี 2 แบบ คือ วัดโค้งด้านนอกกับวัดโค้งด้านใน ซึ่งสามารถวัดได้ละเอียดถึง 0.01 มิลลิเมตร (mm) 

ทำไมต้องสอบเทียบ Radius Gauge

การ สอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration) เป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้งาน เพราะเป็นกระบวนการที่ช่วยตรวจสอบว่าเครื่องมือวัดยังมีความเที่ยงตรงและแม่นยำอยู่หรือไม่ ตามมาตรฐานในระดับสากล

เมื่อเครื่องมือเกจวัดรัศมีถูกใช้งานไประยะหนึ่ง เครื่องมือวัดอาจมีการเสื่อมสภาพสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากการใช้งานและการเก็บรักษา สิ่งที่ตามมาคือ ค่าการวัดของเครื่องมือที่เคยมีความถูกต้อง เที่ยงตรง อาจบอกค่าที่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม ส่งผลให้เครื่องมือไม่มีความน่าเชื่อถือ หรือหากนำเครื่องมือดังกล่าวไปใช้ในกระบวนการผลิตก็ย่อมส่งผลกระทบต่อคุณภาพของการออกแบบและกระบวนการผลิต

หน่วยการวัดของเครื่องมือ Radius Gauge แบ่งเป็น

  1. หน่วย Metric
  2. หน่วย Inch

การใช้งานเครื่องมือวัด

การใช้งานเครื่องมือวัดที่ถูกวิธี

ในการใช้งานเกจวัดรัศมีเริ่มต้นจากการเลือกขนาดรัศมีของ Radius Gauge ที่ต้องการ จากนั้นทาบ เครื่องมือวัด ลงบนที่รัศมีที่ต้องวัดบนชิ้นงาน โดยรัศมีของ Radius Gauge และรัศมีของชิ้นงานจะเข้ากันพอดี สามารถสังเกตดูที่จุดที่ทาบกัน จะไม่ปรากฎเป็นช่องว่าหรือไม่มีแสงรอดผ่าน

การใช้งานเครื่องมือที่ผิดวิธี

ไม่ควรใช้แรงในการดันหรือถู เครื่องมือวัด บริเวณชิ้นงานมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้ เครื่องมือวัด และชิ้นงานเสียหายได้

ข้อควรระวังในการใช้งาน Radius Gauge

  1. ก่อนการใช้งาน ควรศึกษาวิธีการใช้งาน Radius Gauge ให้ถูกต้อง
  2. ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ไม่มีความผิดปกติใด ๆ เช่น บริเวณรัศมีลักษณะเบี้ยว งอ รอยบิ่น สนิม เป็นต้น
  3. ในการใช้งานแต่ละครั้ง ควรทำความสะอาดด้วยผ้าสะอาดก่อนการใช้งานเสมอ เพราะอาจจะมีคราบน้ำมันหรือเศษผงติดอยู่
  4. หลีกเลี่ยงการสัมผัส เครื่องมือวัด ด้วยมือเปล่า เพราะอาจจะทำให้ Radius Gauge เกิดสนิมขึ้นได้ เนื่องจากวัสดุของเครื่องมือส่วนใหญ่ทำจากเหล็ก

วิธีการที่ CLC สอบเทียบเครื่องมือวัด Radius Gauge

การให้บริการสอบเทียบขนาด Radius Gauge ของ  CLC จะใช้วิธีการเปรียบเทียบค่ากันระหว่างเส้น Profile  Radius Gauge ที่สร้างจากเครื่อง Standard Vision Auto Measuring Instrument กับเส้น Profile Radius ของ Radius Gauge ที่แสดงบนหน้าจอในโปรแกรมของ Standard Vision Auto Measuring Instrument และทำการอ่านค่ารัศมีที่แสดงบนหน้าจอ

ขั้นตอนการ สอบเทียบเครื่องมือวัด เกจวัดรัศมี

  1. ทำความสะอาด Radius Gauge ที่ต้องการสอบเทียบด้วยแอลกอฮอล์เพื่อขจัดคราบน้ำมันและสิ่งสกปรกและทิ้งไว้ในอุณหภูมิ 20+1 °C ประมาณ 1ชั่วโมงก่อนทำการสอบเทียบ
  2. ทำการสอบเทียบโดยการนำ Radius Gauge วางลงบนเครื่อง Standard Vision Auto Measuring Instrument และทำการวัดโดยการลากเส้น Radius Gauge ของ Program จากเครื่องมือ Standard ไปทาบบนเส้นรัศมีของ Radius Gauge และอ่านค่ารัศมีที่อ่านได้จากเครื่อง Standard Vision Auto Measuring Instrument 

Radius Gauge (เกจวัดรัศมี),สอบเทียบเครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือ,ขั้นตอนการสอบเทียบ

เครื่องมือ STD ของเรา

Standard Vision Auto Measuring Instrument ของ CLC มีค่าความละเอียดสูงที่สุดเท่ากับ 0.0001 mm มีอัตราการขยายของกล้องเลนส์สูงถึง 544X และมีค่าความคลาดเคลื่อนต่ำส่งผลให้มีความแม่นยำค่อนข้างสูงมีค่า Uncertainty เล็ก สามารถทำให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมั่นและสามารถใช้ค่าสอบเทียบได้อย่างมั่นใจว่างานมีคุณภาพ และวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัด Radius Gauge จาก Calibration Laboratory ยังได้รับการรับรองมาตรฐานการสอบเทียบ ISO17025:2017 จากสมอ. และ ANAB อีกด้วย

เครื่องมือ standard, สอบเทียบเครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือ,Radius Gauge (เกจวัดรัศมี)

วิธีการดูแลรักษาเครื่องมือ เกจวัดรัศมี ก่อนการใช้งานและหลังการใช้งาน

ก่อนการใช้งาน

  1. ทำความสะอาด เครื่องมือวัด ขนาดที่ต้องการใช้งานเพื่อขจัดคราบน้ำมันและสิ่งสกปรกออกก่อนนำมาใช้งาน
  2. ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพว่ารัศมีเบี้ยว บิด งอ เป็นสนิม หรือมีอะไรผิดปกติหรือไม่

หลังการใช้งาน

  1. ทำความสะอาดแผ่น Radius Gauge หลังการใช้งานให้เรียบร้อย
  2. ชโลมน้ำมันเคลือบเพื่อป้องกันสนิม
  3. เตรียมภาชนะหรือกล่องจัดเก็บเครื่องมือให้เหมาะสมเพื่อป้องกันการชำรุดเสียหายของตัวเครื่องมือ

ข้อแนะนำเมื่อต้องการส่งเครื่องมือมาสอบเทียบเครื่องมือวัด

เครื่องมือควรเคลือบสารป้องกันสนิมและมีกล่องใส่อย่างเรียบร้อย ถ้าไม่มีกล่องเครื่องมือควรห่อ Bubble มาเพื่อลดแรงกะแทกหรือสิ่งที่จะส่งผลต่อการที่จะทำให้เครื่องมือชำรุด กะแทกตกหล่น ทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวเครื่องมือและอาจส่งผลให้ค่าสอบเทียบอาจมีความคลาดเคลื่อนได้

ผู้เขียน L2 ULM

 

สอบเทียบเครื่องมือวัด Dimension

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา