สอบเทียบต้องรู้! Weight Class ของ ตุ้มน้ำหนัก แบบไหนเหมาะกับคุณ

เครื่องชั่ง ดิจิตอล Vibra, ตุ้มน้ำหนัก มาตรฐาน, สอบเทียบเครื่องมือวัด, สอบเทียบเครื่องมือ, เครื่องชั่ง, เครื่องชั่งละเอียด, vibra

เครื่องชั่ง ยี่ห้อ Vibra เป็นเครื่องชั่งคุณภาพสูงจากญี่ปุ่น ที่มีความแม่นยำและความเสถียรสูง โดยเฉพาะเทคโนโลยี “Tuning Fork” ที่เป็นเอกลักษณ์ ผู้ใช้งานควรเลือกใช้ ตุ้มน้ำหนัก Class อะไร ที่เหมาะสมตามระดับความละเอียดของแต่ละรุ่นและควรการ สอบเทียบเครื่องชั่ง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้การใช้งานมีความถูกต้องตามมาตรฐาน และเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำ

ทำความเข้าใจเรื่องของ Class ของ Standard Weight

ระดับของ ตุ้มน้ำหนัก มาตรฐานที่ใช้สอบเทียบ

เช่น

  • E1, E2  – สำหรับเครื่องชั่งความละเอียดสูงมาก เช่น 4–5 ตำแหน่งทศนิยม
  • F1, F2  – สำหรับเครื่องชั่งทั่วไปที่มีควมละเอียดระดับ 2–3 ตำแหน่ง
  • M1, M2 – ใช้กับเครื่องชั่งที่มีความละเอียดต่ำ เช่น 1 ตำแหน่ง

ตุ้มน้ำหนัก มาตรฐาน, สอบเทียบเครื่องมือวัด, สอบเทียบเครื่องมือ, เครื่องชั่ง

ตัวอย่างการเลือก Class สำหรับสอบเทียบ Standard Weight แต่ละรุ่นของ Vibra

Vibra AJ Series

ตุ้มน้ำหนัก มาตรฐาน, สอบเทียบเครื่องมือวัด, สอบเทียบเครื่องมือ, เครื่องชั่ง, เครื่องชั่งละเอียด, vibra, Vibra AJ Series

  • ความละเอียด: 0.001 g (1 mg)
  • การใช้งาน: ร้านทองหรืออัญมณี,  สถานศึกษา, อุตสาหกรรมผลิตยาและเวชภัณฑ์, ห้องปฏิบัติการ
  • แนะนำใช้ตุ้มน้ำหนัก Class F1 หรือ E2

ตัวอย่าง 

ถ้าเครื่อง AJ-620E มีพิกัด 620 g ใช้ตุ้มน้ำหนัก 500 g และ 100 g Class F1

Vibra SJ Series

ตุ้มน้ำหนัก มาตรฐาน, สอบเทียบเครื่องมือวัด, สอบเทียบเครื่องมือ, เครื่องชั่ง, เครื่องชั่งละเอียด, vibra,  Vibra SJ Series

  • ความละเอียด: 0.01 – 0.1 g
  • การใช้งาน: งานอุตสาหกรรมทั่วไป
  • แนะนำใช้ตุ้ม Class F2 หรือ F1

ตัวอย่าง

SJ – 12KCEN พิกัด 12 kg ใช้ตุ้ม 10 kg, 2 kg Class F2 ก็เพียงพอ

Vibra AB Series

ตุ้มน้ำหนัก มาตรฐาน, สอบเทียบเครื่องมือวัด, สอบเทียบเครื่องมือ, เครื่องชั่ง, เครื่องชั่งละเอียด, vibra, Vibra AB Series

  • ความละเอียด: 0.01 – 0.1 g
  • การใช้งาน: งานทั่วไป และไลน์การผลิต
  • แนะนำใช้ตุ้มน้ำหนัก Class F1 หรือ M1 (ถ้าใช้ไลน์การผลิตที่ไม่เน้นละเอียด)

ตัวอย่าง

AB – 620 ใช้ตุ้มน้ำหนัก 500g, 100g Class F1

Vibra HT Series

ตุ้มน้ำหนัก มาตรฐาน, สอบเทียบเครื่องมือวัด, สอบเทียบเครื่องมือ, เครื่องชั่ง, เครื่องชั่งละเอียด, vibra, Vibra HT Series

 

  • ความละเอียด: 0.0001 g (0.1 mg)
  • การใช้งาน: ห้องปฏิบัติการทั่วไปใช้ชั่งตัวอย่างสารเคมี, สารละลาย, สารตั้งต้น , อุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ , อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอาง , งานชั่งในอุตสาหกรรมอัญมณีและทองคำ
  • แนะนำใช้ตุ้มน้ำหนัก Class E2

ตัวอย่าง 

HT-224CEN มีพิกัด 220 g ใช้ตุ้มหนัก 20 g, 100 g, 100 g Class E2

สรุป

รุ่นเครื่องชั่ง ความละเอียด ตุ้มที่แนะนำใช้สอบเทียบ
Vibra AJ 0.001 g F1 หรือ E2
Vibra SJ 0.01–0.1 g F2 หรือ F1
Vibra AB 0.01–0.1 g F1 หรือ M1
Vibra HT 0.0001 g E2

ข้อควรจำ

  • การ สอบเทียบเครื่องมือวัด ควรทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ถ้าใช้ในงานที่มีผลต่อคุณภาพ (เช่น ผลิตยา หรือวิเคราะห์สารเคมี) ควรเลือกตุ้มน้ำหนัก Class สูงขึ้น
  • การเลือกซื้อตุ้มน้ำหนักควรพิจารณาจากบริษัทที่มีมาตรฐานรับรองคุณภาพ ดังนั้นคุณควรเลือกตุ้มน้ำหนักจากผู้จำหน่ายที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 17025:2017 จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าตุ้มน้ำหนักมีความแม่นยำและเชื่อถือได้ตามมาตรฐานสากล

การเก็บรักษาและดูแลตุ้มน้ำหนัก (Weights) ที่ถูกต้อง

เพื่อให้ตุ้มน้ำหนักที่ใช้สอบเทียบเครื่องชั่ง Vibra คงค่าความแม่นยำและสามารถใช้งานได้ยาวนาน ผู้ใช้งานควรให้ความสำคัญกับการดูแลและเก็บรักษาอย่างเหมาะสม ดังนี้:

1.เก็บในกล่องหรือภาชนะเฉพาะ

  • ตุ้มน้ำหนักควรเก็บไว้ในกล่องที่บุด้วยวัสดุกันกระแทก เช่น กล่องที่บุด้วยโฟม หรือกล่องไม้บุผ้า
  • ไม่ควรเก็บรวมกับอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อป้องกันการกระแทกหรือขูดขีดหลีกเลี่ยงการสัมผัสด้วยมือเปล่า
  • เหงื่อและคราบมันจากมืออาจทำให้ผิวตุ้มน้ำหนักเปลี่ยนแปลงน้ำหนักได้
  • ควรใช้ถุงมือ หรือแหนบจับตุ้มเมื่อยกหรือวางบนจานชั่ง

2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสด้วยมือเปล่า

  • เหงื่อและคราบมันจากมืออาจทำให้ผิวตุ้มน้ำหนักเปลี่ยนแปลงน้ำหนักได้
  • ควรใช้ถุงมือ หรือแหนบจับตุ้มเมื่อยกหรือวางบนจานชั่ง

  1. ทำความสะอาดอย่างระมัดระวัง

  • ใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์แห้ง หรือแปรงที่มีขนอ่อนปัดเบา ๆ หากมีฝุ่น
  • ห้ามใช้น้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์กัดกร่อน เช่น แอลกอฮอล์ หรือโซลเวนต์ (Solvent)
  1. หลีกเลี่ยงความชื้นและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงบ่อย

  • ความชื้นสูงอาจทำให้เกิดสนิม โดยเฉพาะกับตุ้มที่ไม่ใช่สแตนเลส
  • ควรเก็บในห้องที่มีอุณหภูมิคงที่และแห้ง หลีกเลี่ยงแสงแดดโดยตรง
  1. สอบเทียบซ้ำตามระยะเวลา

  • ควรส่ง ตุ้มน้ำหนัก ไปสอบเทียบเป็นประจำทุก 1 ปี (หรือมากกว่านั้นตามความถี่การใช้งาน) โดยห้องปฏิบัติการสอบเทียบที่ได้รับการรับรอง ISO/IEC17025 เช่น NIMT หรือ CLC Calibration

ผู้เขียน BDS TEAM

 

 

 

 

ขอใบเสนอราคา    ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา