เจาะลึก!ชิ้นส่วนภายในที่สำคัญ Pressure Indicator, Pressure Gauge หรือ Pressure Sensor

Pressure Gauge,Pressure Indicator, เครื่องมือวัด, สอบเทียบเครื่องมือวัด, บริการสอบเทียบ, บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด, Calibration, Calibration laboratory,CLC,สอบเทียบเครื่องมือ

เจาะลึก!ชิ้นส่วนภายในที่สำคัญ Pressure Indicator, Pressure Gauge หรือ Pressure Sensor

Pressure Indicator (เกจวัดความดัน)     มีกี่แบบ ไปดูกัน…แต่ก่อนอื่นอย่างที่ทราบๆกันแล้วว่าเกจวัดความดัน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่ายและเป็นที่นิยมในการใช้วัดความดัน (Pressure) ภายในกระบวนการ อาจจะติดตั้งกับท่อในไลน์ผลิต หรือกับส่วนอื่นๆที่เราต้องการทราบค่าความดันภายใน เช่น ความดันของลม, ความดันของน้ำ, ความดันของน้ำมันไฮดรอลิกส์ เป็นต้น  ลักษณะของการวัดเช่นนี้ เป็นการวัดเพื่อแสดงผลการวัดได้ทันที อาจใช้ในการ Monitoring หรือ เพื่อจดบันทึกค่า แต่มันก็มีบางรุ่นที่จะเป็นสวิตช์ด้วยในตัว  ใช้สั่ง ตัด/ต่อ กระบวนการทำงานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ต่อไป จริงๆแล้วเรื่องราวเกี่ยวกับ Pressure ต่างๆทาง CLC ก็ได้ลงไปหลายบทความแล้วก่อนหน้านี้ (หาเสพย้อนหลังกันได้เลย) ดังนั้นวันนี้เราจะมาคุยเรื่อง Pressure เหมือนเดิมนี่แหละครับ!!!?  แต่ครับแต่…วันนี้เราจะมาลงรายละเอียดในตัว Pressure Gauge หรือ Pressure Sensor ก็สุดแล้วแต่จะเรียกนะครับ หลักการการทำงานเป็นอย่างไร , มีชิ้นส่วนภายในที่สำคัญอะไรบ้าง วันนี้เราจะเน้นเรื่องชิ้นส่วนภายในและระบบการทำงานของเกจเป็นหลัก เกจวัดความดันจำพวกนี้ คุ้นหน้าคุณตากันเป็นอย่างดี ใช้งานง่าย ราคาไม่แพงจนเกินไป ชิ้นส่วนและหลักการทำงานเป็นอย่างไร ไปดูกันครับ

เกจวัดความดันแบบบูร์ดอง (Bourdon Tube)

เกจวัดความดันชนิดนี้ด้านในตัวเครื่องจะมีลักษณะเป็นขดทองแดงกลวง มีพื้นที่หน้าตัดเป็นวงรี เมื่อมีความดันเข้าไปในท่อขดทองแดงจะพยามยามขยายตัวออกเป็นวงกลม และขดทองแดงที่ว่านี้ก็ติดตั้งให้ทำงานร่วมกับชุดเฟืองและเฟืองก็ติดตั้งให้ทำงานสัมพันธ์กับตัว Pointer(เข็มอ่าน) พอขดทองแดงยืด หด ตามความดันจากภายนอกที่อัดเข้ามา ก็ทำให้ Pointer เคลื่อนที่ไปตามวงรอบของหน้าปัด และเราสามารถอ่านค่าจากสเกลได้ทันที ลองดูจากรูปตัวอย่างรูปที่ 1 ประกอบ

Pressure Indicator

รูปที่ 1

ถ้าดูจากรูปตัวอย่างที่ 1 แล้วยังงงๆ ให้ลองดูรูปที่ 2 นี้ประกอบคำอธิบายด้านบนดูครับ น่าจะเข้าใจหลักการได้ง่ายขึ้น (สงสัยใช่มั้ยว่าผมเอารูปมาแนบผิดหรือปล่าว ลองอ่านด้านล่างให้จบ ท่านจะเข้าใจ)

รูปที่ 2

พอจะจำของเล่นในวัยเด็กชิ้นนี้กันได้บ้างมั้ยครับ ที่เราเป่าลม เข้า-ออก ตรงด้านที่เป็นคล้ายหลอด แล้วปลายอีกด้านจะม้วนเข้าออกตามแรงลมที่เราเป่าเข้าไป ทีนี้พอจะจินตนาการออกแล้วใช่มั้ยครับว่า เจ้าเกจวัดแรงดันแบบบูร์ดอง(Bourdon Tube) นั้น หลักการคร่าวๆก็จะคล้ายๆกับเจ้าของเล่นชนิดนี้เลย(จำชื่อของเล่นไม่ได้) ให้เปรียบเสมือนว่าแรงดันลมจากปากของเราที่เป่าเข้าไปในหลอด คือความดันที่อัดเข้าไปยังเกจวัดความดัน ส่วนตรงปลายของเล่นที่ม้วนเข้าออกนั้น ก็คือขดทองแดงที่อยู่ภายในเกจนั่นเอง

เกจวัดความดันแบบเบลโลว์ (Bellow)

เป็นเกจวัดความดันอีกชนิด ที่อาศัยหลักการของการเปลี่ยนแปลงเชิงกล ด้วยหลักการยืด,โก่งตัว ของวัสดุที่มีคุณสมบัติยืดหยุ่น เช่นเดียวกับบูร์ดอง (Bourdon Tube) แต่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้วัดในย่านแรงดันค่อนข้างต่ำ หรือในบางตัวต่ำกว่าบรรยากาศ มีค่า Max สุดไม่เกิน 1.5 bar โครงสร้างของเจ้าเบลโลว์ที่ว่านี้มีลักษณะคล้ายลูกฟูก ภายในกลวง ปลายด้านนึงยึดติดกับเข็มชี้ค่าความดัน (Pointer) ส่วนปลายอีกด้านเปิด เพื่อเป็นช่องสำหรับให้ความดันที่ต้องการวัดค่าเข้ามา เมื่อเบลโลว์ได้รับความดันจากภายนอกเข้ามา ทำให้ความดันภายในสูงขึ้น ส่งผลให้เบลโลว์ยืดตัวออกในทิศทางเดียวกับความดัน  และพาเข็มชี้วัด(Pointer) เคลื่อนที่  เกจวัดความดันแบบเบลโลว์จะมีค่าความถูกต้อง (Accuracy) และความแม่นยำ (Precision) สูงกว่าเกจวัดความดันแบบบูร์ดอง เนื่องจากปลายด้านนึงของเบลโลว์ติดกับเข็มชี้ค่าเลย โดยที่ไม่ผ่านระบบเฟืองเหมือนแบบบูร์ดอง

ตัวอย่างรูปที่ 3

Pressure Indicator

รูปที่ 3

   มาถึงตรงนี้พอจะเข้าใจหลักการทำงานรวมทั้งชิ้นส่วนภายในของ Pressure Indicator ทั้งสองชนิดกันบ้างแล้วนะครับ ศรัทธาชนิดไหนก็เลือกหามาใช้ได้ตามความเหมาะสมได้เลย หรือถ้าต้องการข้อมูล,ปรึกษาหารือเรื่องนี้ ทางบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จำกัด หรือ CLC ก็ยินดีครับ และไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือในรูปแบบไหน หรือหลักการทำงานแบบใด ทาง CLC ก็มีบริการรับสอบเทียบทั้งในและนอกสถานที่ ในรูปแบบ Accredit ISO/IEC 17025:2017 ทั้งจาก สมอ. และ ANAB อีกเช่นเคย แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้า สวัสดีครับ..

 

MKS

 

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา

บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด  ซื้อเครื่องมือวัด