หลักเกณฑ์การตั้งช่วงระยะเวลาการสอบเทียบเครื่องมือ ( Calibration Interval )

หลักเกณฑ์การตั้งช่วงระยะเวลาการสอบเทียบเครื่องมือ ( Calibration Interval ),,สอบเทียบเครื่องมือวัด,สอบเทียบเครื่องมือ ,เครื่องมือวัด

ในระบบการจัดการเครื่องมือวัด สิ่งที่สำคัญนอกจากการตั้งค่าเกณฑ์การยอมรับของเครื่องมือในการ สอบเทียบเครื่องมือวัด แล้ว การตั้งช่วงระยะเวลาการสอบเทียบ ( Calibration Interval ) ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ การตั้งค่าเกณฑ์การยอมรับของเครื่องมืออาจอ้างอิงได้จากเอกสารมาตรฐานต่างๆ Specification จากคู่มือหรือ Website ผู้ผลิต แต่ในทางกลับกัน การตั้งระยะเวลาการสอบเทียบเครื่องมือเราจะมีเอกสารอ้างอิงอะไรได้บ้าง ถ้าคู่มือของเครื่องมือวัดไม่ได้กำหนดไว้ชัดเจน หรือในกรณีที่รับการตรวจจากหน่วยงานต่างๆ อาจมีคำถามที่ว่า เราเลือกใช้หลักเกณฑ์อะไร ในการตั้งช่วงระยะเวลาการสอบเทียบเครื่องมือ

หลักเกณฑ์ในการตั้งช่วงระยะเวลา การสอบเทียบเครื่องมือ

โดยบทความนี้จะแนะนำเอกสารต่างๆที่ผู้ปฏิบัติงานทางด้านเครื่องมือวัด อาจนำมาใช้อ้างอิงได้ แต่ทั้งนี้ ขอให้ตรวจสอบกับมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับระบบงานของเราด้วย ว่าสอดคล้องกันหรือไม่ ตัวอย่างเช่น เราอาจตั้งช่วงระยะเวลาการสอบเทียบ Pressure Gauge ตามมาตรฐานการสอบเทียบ Pressure Gauge จากประเทศเยอรมันนีหมายเลขเอกสาร DKD-R 6-1 Version 03/2014 หน้าที่ 51/51  กำหนดไว้ 1 ปี แต่มาตรฐานของลูกค้าเรากำหนดเครื่องมือวัดที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ต้องสอบเทียบทุกๆ 6 เดือน เป็นต้น  โดยเราจะเริ่มที่มาตรฐาน ISO 10012:2003 (E ) Measurement management systems-Requirements for measurement process and measuring equipment ข้อ 7.1.2 ก็ไม่ได้ระบุไว้ชัดเจน ได้แต่กล่าวถึงว่าต้องมีการกำหนดช่วงการยืนยันทางมาตรวิทยา โดยใช้ข้อมูลการตัดสินที่ได้จากประวัติการสอบเทียบ การยืนยันมาตรวิทยา ความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูง โดยใช้เทคนิคการควบคุมกระบวนการทางสถิติสำหรับการวัดในการพิจารณาความเหมาะสมของช่วงเวลาการสอบเทียบซึ่งมาตรฐาน ISO 10012:2003 (E ) ได้แนะนำให้ดูจากเอกสารมาตรฐาน OIML D 10 Guidelines for the determination  of calibration intervals of measuring instruments

กำหนดการตั้งตัวเลือกของการกำหนดช่วงระยะเวลา การสอบเทียบเครื่องมือ

ดังนั้นเรามาศึกษามาตรฐาน ILAC G-24 / OIML D 10  Guidelines for the determination  of calibration intervals of measuring instruments  ซึ่งได้กำหนดไว้ในข้อที่ 2 หน้าที่ 7 ซึ่งกำหนดการตั้งตัวเลือกเริ่มต้นของการกำหนด
ช่วงระยะเวลาการสอบเทียบไว้  8 ข้อดังนี้

1. คำแนะนำจากผู้ผลิต
2. ขอบเขตการใช้งานที่กำหนด
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อม
4. ค่าความไม่แน่นอนของการวัด
5. ค่าความผิดพลาดสูงสุดที่ยอมรับได้
6. การปรับแต่งเครื่องมือหรือการเปลี่ยนแปลงของเครื่องมือ
7. ผลกระทบจากการวัด ( เช่นการวัดอุณภูมิที่สูงมากๆโดยใช้เทอร์โมคับเปิล )
8. ชุดของข้อมูลการวัดที่จัดเก็บ

1. มาตรฐานจากสถาบันมาตรวิทยาประเทศเยอรมันนี DKD –R-6-1 Version 03/2014

2.มาตรฐานหน่วยงานที่ให้การรับรองระบบคุณภาพประเทศออสเตรเลีย NATA CALIBRATION REFERENCE EQUPMENT TABLE
                                                        Calibration reference equipment table

Item of equipment Calibration interval (years) Checking interval (months) General comments and example reference standards
Accelerometer
Reference 5
24 Intercomparison
Acoustic attenuator
5
12 Check 2 ratios
Acoustic calibrator – including pistonphone and sound source
1 IEC 60942
6 Intercompare
Alignment telescope
6
Analogue band pass filter – sound & vibration
Octave and fractional 2 IEC 61260
Anemometer
1 Anemometers with rotating parts should be checked regularly for wear, damage and free bearing operation.
Angle gauge
Reference 4 then 8 subsequent

3. มาตรฐานหน่วยงานที่ให้รับการรับรองระบบคุณภาพประเทศอังกฤษ UKAS LAB 24 MEASUREMENT TRACEABILITY AND
CALIBRATION IN MECHANICAL TESTING

Item Type Calibration or check Level Interval (transition period) Type of Certificate Uncertainty budget required?
Compression and Tensile
 

Force measuring devices

 

(a)

Compression testing machines

 

Calibrate against BS EN ISO 7500-1

 

1

 

Should not exceed 1 year

(2 years)

 

UKAS

 

Yes

Check rate of loading and that compression platens or cages meet the specifications given in the relevant test standard or method 3 Annual In-house No
(b) Tensile testing machines Calibrate in accordance with the relevant standard, e.g.

BS EN ISO 7500-1 or ASTM E4

1 Annual (2 years) UKAS Yes
 

c) Tensile & Compression testing machines

Check rate of loading and straining where rates are specified by test standard or method

 

Verify that the rate of crosshead speed being displayed by the load frame test program is correct

3

 

 

 

3

Annual

 

 

 

Annual

In-house

 

 

 

In-house

No

 

 

 

No

Extension measuring devices (a) Extensometer Calibrate in accordance with the relevant Standard, e.g.,

BS EN ISO 9513

ASTM E83, over entire extension range or working range.

Classification or grading must satisfy requirements of test standard or method for

the property being determined.

1 Should not exceed 1 year

(2 years)

UKAS Yes

มาตราฐานที่ทางบริษัท CLC นำมาแสดงเป็นตัวอย่างแค่เบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งอาจจะมีมากกว่านี้ เพราะมาตรฐานเฉพาะของแต่ละเครื่องมืออาจมีกำหนดไว้เพิ่มเติม แต่ทางบริษัท CLC เรามีเอกสารที่จัดทำเป็นมาตรฐานวิธีการกำหนดช่วงระยะเวลาการสอบเทียบซึ่งวิธีการกำหนดของ CLC จะพิจารณาจาก

1.โรงงานผู้ผลิตเป็นผู้กำหนด

2.เอกสารอ้างอิงที่เป็นที่ยอมรับ

3.ความถี่ในการใช้งานของเครื่องมือ

4. ประวัติการสอบเทียบเครื่องมือ

และในการกำหนดระยะเวลาในการสอบเทียบเครื่องมือครั้งแรกนั้น ถ้าไม่มีการกำหนดจากบริษัทผู้ผลิต จะกำหนดไว้ที่ประมาณ 1 – 2 ปี ขึ้นอยู่กับประเภทเครื่องมือว่ามีความเสถียรมากหรือน้อย และเมื่อมีประวัติการทำงานของเครื่องมือและประวัติการสอบเทียบ ก็จะทำการพิจารณาที่จะคงระยะเวลาที่กำหนดไว้ที่เดิม หรือจะขยายระยะเวลาออกไป หรือจะต้องลดระยะเวลาในการสอบเทียบ
ให้น้อยลง ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีประกอบอีกครั้งหนึ่ง

5. สถานที่ตั้งของเครื่องมือ

6. ค่าเกณฑ์การยอมรับของเครื่องมือ (MPE)

          บทสรุปในการตั้งช่วงระยะเวลา การสอบเทียบเครื่องมือ ควรพิจารณาการใช้งานของเครื่องมือและผลกระทบต่อคุณภาพของการวัดในการใช้เครื่องมือจะเหมาะสมที่สุด เพราะมาตรฐานต่างๆเป็นเพียงคำแนะนำ ผู้ปฏิบัติงานที่ควบคุมเครื่องมือวัด จะต้องศึกษาหลักเกณฑ์ต่างๆ และระบบการทำงานที่ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการ เพื่อให้สามารถกำหนดช่วงระยะเวลาการสอบเทียบได้เหมาะสมที่สุด ประวัติการสอบเทียบและการทวนสอบเครื่องมือจะเป็นสิ่งชี้วัดถึงหลักเกณฑ์การปรับเปลี่ยนช่วงระยะเวลาการสอบเทียบหรือการคงช่วงระยะเวลาการสอบเทียบไว้เหมือนเดิม
ซึ่งในมาตรฐาน  ILAC G-24 / OIML D 10  ก็ได้กล่าวไว้ ซึ่งในคราวหน้าเราจะมาแนะนำในครั้งต่อไป

เอกสารอ้างอิง

  1. ISO 10012 – 2013 Measurement management systems-Requirements for measurement process and measuring equipment
  2.  ILAC G-24 / OIML D 10 Edition 2007  Guidelines for the determination  of calibration intervals of measuring instruments 
  3.  DKD-R 6-1 Edition 03/2014 Calibration of  Pressure Gauges
  4. UKAS LAB 24 Edition 2 May 2021 Measurement Traceability and Calibration in the Mechanical Testing of Materials
  5. NATA Specific Accreditation Guidance Calibration reference equipment table September 2020

ผู้เขียน เด็กช่างวัด 90

 

 

วิธีอ่านค่าใบ Calibration Certificate

ขอใบเสนอราคา  ติดต่อเรา

พูดคุยกับเรา

บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด  ซื้อเครื่องมือวัด