ตู้ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นคืออะไร และ 10 ข้อควรระวังในการใช้และรักษาตู้

Temperature & Humidity Chamber (ตู้ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น) เป็นเครื่องมือวัดชนิดหนึ่งซึ่งมีค่าความละเอียดสูง ใช้ควบคุมและตรวจสอบเครื่องมือวัดหรือชิ้นงาน ซึ่งส่วนใหญ่มักนิยมใช้เป็น Standard ในการเช็ค ตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือวัดที่เกี่ยวข้องกับงานอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ ยกตัวอย่างเช่น Thermo-hygrometer, Thermo-hygrograph, Data Logger เป็นต้น

ตู้ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น (Temperature & Humidity Chamber) เป็น เครื่องมือวัด ที่สามารถตรวจสอบอุณหภูมิ (Temperature) และความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity หรือ RH) ได้ในเครื่องเดียว ตัวเครื่องมีหลากหลายขนาดความจุและช่วงอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของผู้ใช้งาน อุณหภูมิโดยทั่วไปที่ใช้งานเริ่มต้นตั้งแต่ -30 C° จนถึง 150 C° ส่วนความชื้นเริ่มต้นตั้งแต่ 10 จนถึง 90%RH โดยทั่วไปจะเห็นเครื่องมือวัดชนิดนี้ถูกใช้งานในห้องแลบของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารและยา หรือห้องปฏิบัติการ สอบเทียบเครื่องมือวัด ที่ได้รับการรับรอง Accredited 17025


Temperature Enclosure_Calibration Lab_01                Temperature Enclosure_Calibrate_Calibration Lab_02
ลักษณะเฉพาะหรือรูปแบบของ เครื่องมือวัด (Temperature & Humidity Chamber)

ตู้ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น (Temperature & Humidity Chamber)มีลักษณะเป็นตู้ทรงสี่เหลี่ยม มีช่องโหลดด้านในไว้สำหรับใส่วัตถุหรืองานที่ต้องการตรวจสอบ มีฝาปิด/เปิด วัสดุที่ใช้เป็นสแตนเลส มีน้ำหนักค่อนข้างมากและต้องใช้พื้นที่ในการวาง มีตะแกรงเหล็กชั้นวางด้านใน มีหน้าจอแสดงผลแบบดิจิตัล PLC Touch Screen (สามารถแสดงข้อมูลเป็นกราฟได้) ใช้ระบบ Microprocessor ควบคุมในการทำงานทำให้สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมให้คงที่อย่างสม่ำเสมอได้ในแต่ละช่วงที่แตกต่างกันออกไป ตู้ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นสามารถตั้งเวลาหรือตั้งโปรแกรมในการทำงานล่วงหน้าได้ มีพัดลมระบายอากาศภายในตัวเครื่อง มีระบบเติมน้ำเข้าเครื่องอัตโนมัติ

 

วิธีการใช้งานตู้ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น (Temperature & Humidity Chamber)

1. เช็คอุปกรณ์ก่อนใช้งานเครื่องทุกครั้งว่าสมบูรณ์ครบถ้วนดี

2. เปิดเครื่องที่ Switch On/Off

3. เปิดฝาตู้เพื่อโหลดเครื่องมือหรือวัตถุที่ต้องการตรวจสอบ

4. ปิดฝาตู้ให้สนิท ระวังอย่างปิดหรือกระแทกฝาตู้แรงจนเกินไป อาจทำให้ฝาเครื่องเสียหายได้

5. Set อุณหภูมิ/ความชื้นตามที่ต้องการ(สามารถตั้งเวลาและบันทึกค่าได้)

6. กดปุ่ม Start เพื่อเริ่มใช้งาน (สามารถตั้งการทำงานล่วงหน้าได้)

7. เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ควรทำความสะอาดเครื่องมือทุกครั้ง

8. กดปิดเครื่องที่ Switch On/Off

 

วิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดตู้ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น (Temperature & Humidity Chamber)

วิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดหรือแคลิเบรท (Calibrate) ของ Temperature & Humidity Chamber สำหรับขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์เมตรนั้น ทางบริษัท แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (Calibration Laboratory CO.,LTD หรือ CLC) จะใช้วิธีการ Compare ค่ากับ Standard ที่ใช้คือ Data Logger with sensor ซึ่งทางแคลิเบรชั่น แลบอราทอรี มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิอยู่ 2 ชนิดให้เลือกใช้งานคือ TC (Thermocouple) และ RTD ( Resistance Thermometer Detector) การเลือกใช้งานของเซ็นเซอร์ขึ้นอยู่กับเกณฑ์การยอมรับของลูกค้า (MPE) และความละเอียดของเครื่องมือวัดที่สอบเทียบ โดยติดตั้งวางเซ็นเซอร์ตามจุดต่างๆ กระจายไปทั่วภายในตู้ทั้ง 9 จุด (ตามรูป Pic.2) แล้ว Set อุณหภูมิและความชื้นตามจุดสอบเทียบที่ลูกค้าต้องการ ส่วนการรายงานผลนั้น แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี จะใช้ชุดที่ได้จากการเก็บบันทึกค่าจากตัวอ่าน Data logger โดยเอาช่วงเวลาที่อุณหภูมิและความชื้น มีค่าเสถียรที่สุด (Steady state) อย่างน้อย 5 Cycles หรือ 1 ชั่วโมงแล้วแต่อย่างไหนนานกว่ากัน คำนวณค่าต่างๆตามสูตร แล้วรายงานผล

Temperature Enclosure_Calibrate_Calibration Lab_04_Position
Pic.2 ตำแหน่งการติดตั้งเซ็นเซอร์ภายในตู้ Chamber

 

 

แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (CLC) Scope lab (Accredited 17025)

แคลิเบรชั่น แลบอราทอรี (Calibration Laboratory CO.,LTD หรือ CLC) สามารถ สอบเทียบเครื่องมือวัด (แคลิเบรท) และได้รับการรับรอง Accredited 17025 วิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัด Temperature & Humidity Chamber ทั้งในประเทศจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (TISI) และต่างประเทศ จากสถาบัน ANAB ของสหรัฐอเมริกา โดย Scope ที่ได้รับการรับรองจากทาง TISI (สมอ.) และ ANAB คือ Temperature 15-45°C / Humidity @25°C 30-90 %RH, @20°C 35-90%RH

 

ข้อควรระวังและคำแนะนำในการใช้งานและการดูแลรักษาตู้ควบคุมอุณหภูมิและความชื้น (Temperature & Humidity Chamber)

– ไม่ควรทดสอบใส่วัตถุที่ไม่เหมาะสมเข้าไปในตู้ chamber ซึ่งอาจจะทำให้เกิดเป็นสารพิษหรือแก๊สระเบิดได้

– ในกรณีที่อุปกรณ์มีความผิดปกติ ไม่ควรใช้งานต่อ ให้ถอดปลั๊กไฟและให้ติดต่อตัวแทนจำหน่ายเพื่อมาตรวจสอบทันที

– ตัวทำความชื้นใช้งานได้กับน้ำกลั่นหรือน้ำปราศจากแร่ธาตุเท่านั้น

– การระบายน้ำของระบบทำความชื้นและน้ำหล่อเย็นควรมีความเอียงต่ำสุด10 องศาจากท่อระบายน้ำในห้องจนถึงระบบบำบัดน้ำเสีย

– ควรสวมถุงมือและรองเท้า Safety ในขณะเคลื่อนย้ายเครื่องมือเพื่อป้องกันการหนีบทับหรือตกกระแทก อาจจะทำให้บาดเจ็บได้

– การโหลดชิ้นงาน วัตถุหรือเครื่องมือที่ใช้ทดสอบลงในชั้นวางในตู้ Chamber นั้นควรศึกษาในคู่มือด้วยว่า สามารถโหลดได้น้ำหนักสูงสุดได้เท่าใด ไม่ควรโหลดเข้าไปแน่นมากจนเกินไป อาจทำให้อากาศไหลเวียนในห้องโหลดไม่ดีและทำให้ใช้เวลาในการทำอุณหภูมิหรือความชื่นนานกว่าปกติได้ (ตามรูป Pic.3)

– ควรศึกษาคู่มือก่อนการใช้งาน

– ไม่ควรวางสิ่งของทับบนตัวเครื่อง Chamber

– ทำความสะอาดเครื่องมือทุกครั้งหลังใช้จากใช้งานเสร็จแล้ว

– หมั่นส่งเครื่องมือ สอบเทียบเครื่องมือวัด ประจำทุกปี เพื่อตรวจเช็คประสิทธิภาพการทำงานและค่าความเที่ยงตรง

 

Temperature Enclosure_Calibrate_Calibration Lab_05_Position
รูป Pic.3 ตำแหน่งที่ถูกต้องของการวางโหลด
Credit by Timnorton
———-